Lifestyle

ทำไมเด็กไม่ได้ "ฉีดวัคซีน" โควิด-19 สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยปลอดภัยอย่างไร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ดูแลลูกน้อยอย่างไรให้ปลอดภัยในวันที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน โควิด-19 วิธีการสร้างภูมิคุ้มกันลดเสี่ยงการติดเชื้อโรค พ่อแม่ผู้ปกครองอย่าละเลย

นับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 "COVID-19" ช่วงปลายปี 2019 ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน ข้อมูลหรือผลการศึกษาการฉีดวัคซีน โควิด-19 ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ยังมีไม่มาก และยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา หากในอนาคตผลการศึกษาและงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพดี และมีความปลอดภัยที่จะใช้ในเด็ก ถึงวันนั้นก็จะมีการนำมาใช้ในกลุ่มเด็กต่อไป ดังนั้น เมื่อยังไม่สามารถฉีดวัคซีนให้กับเด็ก ๆ ได้ในตอนนี้ เราจึงควรรู้วิธีการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก ๆ กันก่อน

วิธีการสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูก เมื่อยังไม่มีวัคซีน เด็ก ๆ ควรปฏิบัติ ดังนี้ เพื่อให้ห่างไกลและปลอดภัย ลดเสี่ยงการติดเชื้อโรค

  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงสถานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือมีผู้คนแออัด
  • ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อ เช่น การสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ

 

 

นอกจากนี้ การฉีดวัคซีน โควิด-19 ในกลุ่มผู้ใหญ่ หรือผู้ปกครอง ยังเป็นการลดการแพร่เชื้อสู่เด็ก และหากมีการฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรได้มากพอในชุมชนและในประเทศ จะทำให้คนอื่น ๆ รวมถึงเด็ก ๆ ที่มีข้อจำกัดในการฉีดวัคซีน ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือที่เรียกว่า "มีภูมิคุ้มกันหมู่" นั่นเอง

มีวัคซีนชนิดอื่นที่ฉีดทดแทนให้แก่เด็ก เพื่อป้องกัน โควิด-19 หรือไม่?

สำหรับวัคซีนที่ป้องกันแทนได้โดยตรงยังไม่มี แต่ในเด็กทุกคนต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคตั้งแต่แรกเกิดมาเรื่อย ๆ ตามช่วงวัยอยู่แล้ว นอกจากนั้น ยังมีวัคซีนเสริมที่สามารถป้องกัน และลดการติดเชื้อแทรกซ้อนรุนแรงของระบบทางเดินหายใจได้ เช่น

  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
  • การฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ (IPD)

 

 

 

วิธีการตรวจสอบอาการเบื้องต้นของโรคโควิด-19

อาการของโรคโควิด-19 และการติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจอื่น ๆ มักมีลักษณะทางอาการคล้ายกัน แยกกันยากด้วยอาการเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งสำคัญ คือ ประวัติการสัมผัสที่มีความเสี่ยงสูง เช่น คนในครอบครัว คนใกล้ชิดติดเชื้อ โควิด-19 หรือไปในพื้นที่เสี่ยง สำหรับอาการที่แสดงออก ส่วนมากอาการของโรคติดเชื้อ โควิด-19 มักไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย โดยอาการเบื้องต้นที่ควรนำมาพิจารณาว่าเด็กมีอาการติดเชื้อ โควิด-19 คือ

  • มีไข้
  • ไอ
  • คัดจมูก
  • หอบเหนื่อย
  • ท้องเสีย
  • มีผื่น
  • เหนื่อยเพลีย
  • ตาแดง

โอกาสในการติดโรคโควิด-19 ของเด็กเท่ากับผู้ใหญ่หรือไม่?

ทุกกลุ่มอายุมีโอกาสเสี่ยงติด โควิด-19 ได้ทั้งหมด แต่ในกลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดอาการรุนแรง คือ กลุ่มที่อายุน้อยกว่า 1 ปี โดยรวมแล้วเด็กจะมีอาการน้อยกว่าผู้ใหญ่ ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วย โควิด-19 ในเด็กอยู่ที่ ประมาณ 8% แต่หากไวรัสมีการกลายพันธุ์ อาจจะมีการแพร่เชื้อมากขึ้น เปอร์เซ็นต์การติดเชื้อในเด็กก็อาจจะมากขึ้นได้เช่นกัน

ข้อมูล : โรงพยาบาลพญาไท

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ