ข่าว

"วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล" สุดทน ถูกหั่นงบสิ่งแวดล้อมปี 65 เหี้ยน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กแสดงความรู้สึก ถึงการจัดสรรงบประมาณล่าสุด โดย "วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล" ชี้ชัดวิกฤติสิ่งแวดล้อมต้องแก้ไขเร่งด่วน ซัดทำไมถูกหั่นงบ ย้ำ "โลกเขาอยู่ต่อได้ แค่ไม่มีเราอยู่ด้วย เพราะงั้นมันไม่ใช่เรื่องรักษ์โลกหรอก รักตัว-ูนี่แหละ"

ลุกขึ้นมาฟาดแรงๆอีกครั้ง สำหรับ "วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล" นักเขียน ผู้ผลิตสารคดี พิธีกร ทายาทของนักคิด-นักเขียนคนดัง “เสกสรรค์ ประเสริฐกุล” และ “จิระนันท์ พิตรปรีชา” และกำลังคบหาดูใจกับอดีตนางงาม "มารีญา พูนเลิศลาภ"  คราวนี้เจ้าตัวขอแสดงจุดยืนพร้อมตั้งคำถามผ่านเฟซบุ๊ก Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล) กับพาดหัวตัวไม้ "เขียนไปโกรธไป งบสิ่งแวดล้อมปี 65 ครับ"  พร้อมภาพประกอบที่ระบุข้อความว่า

"ชำแหละงบสิ่งแวดล้อม 65 โดนตัด 47% หั่นงบขยะ/มลพิษ+งบวิจัยเหลือ 0%"  

 

"วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล" สุดทน ถูกหั่นงบสิ่งแวดล้อมปี 65 เหี้ยน

 

ซึ่งเนื้อหาที่เขียนเป็นการแจงแจกงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมปีล่าสุด เทียบเคียงกับปีที่ผ่านๆมา อย่างละเอียดยิบ พร้อมชี้ถึงส่วนที่ควรจะได้จัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นเร่งด่วน ดังนี้ 

งบลดลงเท่าไหร่ - งบประมาณรัฐบาลด้านสิ่งแวดล้อม ลดลง 47.14% จาก 1.6 หมื่นล้าน มาเป็น 8.5 พันล้าน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ลดจาก 0.49% ของงบประมาณทั้งหมด มาเป็น 0.275 % [ถ้าเทียบกับ EU งบประมาณสิ่งแวดล้อมจะอยู่ที่ประมาณ 0.70%] ใน5 ปีที่ผ่านมา งบประมาณสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาตลอด ปีนี้ลดลงอย่างน่าตกใจ

งบกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ลดลงจาก 3หมื่นล้าน เป็น 2.93 หมื่นล้าน ลดลงประมาณ 3.44% ไม่ได้ลดลงเยอะมาก  [แต่ก็สะท้อนว่างบในกระทรวงทรัพย์ มีเยอะกว่างบสิ่งแวดล้อมเกือบสามเท่า ถูกนำไปใช้ทำอะไรบ้าง ? เป็นงบบุคลากรเยอะขนาดไหน เอาไปใช้โครงการที่ได้ผลเยอะขนาดไหน ?]
 

วิกฤติสิ่งแวดล้อมที่รอการแก้ไข ได้แก่ ขยะพลาสติกลงทะเล (ประเทศไทยติด top 10 โลก) ไฟป่า มลพิษทางอากาศ + PM2.5 การกัดเซาะชายฝั่ง วิกฤติน้ำโขง เราติด top 10 ประเทศที่มีความเสี่ยงจาก Climate change มากที่สุดในโลก [อิงจาก Global Climate Risk Index 2021 โดย germanwatch.org]

 

"วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล" สุดทน ถูกหั่นงบสิ่งแวดล้อมปี 65 เหี้ยน


งบที่ตัดไป มีอะไรบ้าง (ขอบคุณข้อมูลจาก รศ. ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ / เพจ นักสิ่งแวดล้อม Environmentalist ที่ช่วยสรุปมาให้นะครับ) การกำจัดของเสีย: 1.6 พันล้าน (2562) --> 787 ล้าน (2565) : ปัญหาขยะเรา ตอนนี้วิกฤติมาก มีแต่บ่อขยะที่จัดการไม่ถูกต้องเต็มประเทศ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะที่ได้มาตรฐานก็มีอยู่นิดเดียว ระบบแยกขยะโดยภาครัฐก็ไม่มี [ณ ตอนนี้กระทรวงทรัพฯไม่ได้ดูเรื่องขยะ แต่เป็นมหาดไทย ที่ให้งบผ่านองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งตอนนี้แต่ละพื้นที่ต้องยื่นงบไปเสนอเอง ไม่มีแผนระดับชาติในการจัดการเรื่องนี้) 

การควบคุมและกำจัดมลภาวะ: 3.0 พันล้าน (2562) --> 2.3 พันล้าน (2565) : คงไม่ต้องบอกว่าปัญหาฝุ่นเราเยอะและแย่ขนาดไหน โดยเฉพาะในภาคเหนือช่วงไฟป่า [เชียงใหม่ขึ้นอันดับ 1 โลกในบางวัน] รวมถึงการบริหารงานที่ยังกระจัดกระจายตามกระทรวงต่างๆนาๆมากมาย (มหาดไทยดูจราจร / อุตสาหกรรมดูโรงงาน / กระทรวงทรัพฯดูป่าสงวนและอุทยาน / สาธารณสุขดูการก่อมลพิษเป็นกรณีๆไป) Clean air Act เมื่อไหร่เราจะมี / และกรมควบคุมมลพิษเมื่อไหร่จะมีอำนาจมากกว่าแค่ "ให้ข้อเสนอแนะกับออกความเห็น" เสียที อยากได้แบบ EPA [environmental protection agency] ของอเมริกา 

 

"วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล" สุดทน ถูกหั่นงบสิ่งแวดล้อมปี 65 เหี้ยน

 

การรักษระบบนิเวศวิทยาและภูมิทัศน์ 3 พันล้าน (2564)  ---> 2.6 พันล้าน (2565) การวิจัย: 907 ล้าน (2562) --> 0 บาท : ไม่เหลือเลยครับ T T…. (ของปี 64 ก็เป็น 0 เช่นกัน) การสิ่งแวดล้อมอื่น: 8.4 พันล้าน (2564) --> 1.7 พันล้าน (2565) : ลดลง 5 เท่า รายจ่ายลงทุน: 12.0 พันล้าน (2564) --> 4.9 พันล้าน (2565)  


การจัดอันดับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อมไทยในภาพรวม อันดับ 78 จาก 180 ประเทศ [ส่วน GDP เราอยู่อันดับ 26 ในปี 2020],คุณภาพอากาศโดยรวม อันดับ 85 จาก 180 ประเทศ,ฝุ่นพิษ PM2.5 อันดับ 88 จาก 180 ประเทศ, มลพิษโอโซนภาคพื้นดิน อันดับ 102 จาก 180 ประเทศ, การจัดการขยะ อันดับ 84 จาก 180 ประเทศ, ความไม่ปลอดภัยจากน้ำที่ดื่มกิน อันดับ 99 จาก 180 ประเทศ

การบำบัดน้ำเสีย อันดับ 97 จาก 180 ประเทศ,ทรัพยากรน้ำ อันดับ 97 จาก 180 ประเทศ,ระบบนิเวศ อันดับ 101 จาก 180 ประเทศ,ความหลากหลายทางชีวภาพ อันดับ 114 จาก 180 ประเทศ
 

 

แล้วงบที่ได้ เอาแผนจะเอาไปทำอะไรบ้าง [สรุปจากการอภิปรายของคุณนิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.] ปัญหาภาพรวม ตัวชี้วัดของรัฐตอนนี้ ไม่ได้ผลในการชี้วัด ไปทำ survey ถามชาวบ้านในพื้นที่ว่าพึงพอใจไหม มากกว่ามีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและเป็นวิชาการ,งบประมาณที่ได้น้อยมาก ไม่พอจะตอบโจทย์ที่รัฐบาลเป็นคน set เองด้วยซ้ำ

ตัวอย่างการใช้งบ งบประมาณตั้งรับเรื่องโลกร้อน 1.1 พันล้านบาท [900 ล้าน [80.6%] ให้กรมอุตุ ไปซื้อเครื่องมือวัดอากาศอัตโนมัติ, เครื่องวัดลมเฉือน เพื่อการแจ้งเตือน ไม่ใช่เพื่อการแก้ปัญหา /เหลือ 15.4% ให้กระทรวงทรัพย์ฯ ]
 

 

"วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล" สุดทน ถูกหั่นงบสิ่งแวดล้อมปี 65 เหี้ยน

 

Comment: จริงๆเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับน้ำท่วม ฝนผิดฤดูกาล ปลาหมดทะเล แหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม ความเสียหายมันเยอะมาก ได้งบแค่นี้ เรื่องแก้ปัญหากัดเซาะทะเลชายฝั่ง + จัดการบริหารทรัพยากรทางทะเล,โครงสร้างป้องกันชายฝั่ง 1,378.7428 ล้านบาท เป็น 57 โครงการ [ผ่านสามกรม กรมโยธาฯ/กรมเจ้าท่า/กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง] ส่วนใหญ่เป็นของกรมโยธาฯ 53 โครงการทั้งที่ต่อเนื่องและทำใหม่ เป็นกำแพงกันคลื่นทั้งสิ้น ! งบจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมอีก 175 ล้านบาท 

Comment: ตอนนี้กำแพงกันคลื่นไม่ต้องทำ EIA เลยกลายเป็นเอะอะอะไรก็ทำกำแพง เพราะทำง่าย โดยไม่ดูความเหมาะสมของพื้นที่ บางพื้นที่ก็นำไปสู่การกัดเซาะของชายหาด เช่นที่หาดม่วงงาม

 

"วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล" สุดทน ถูกหั่นงบสิ่งแวดล้อมปี 65 เหี้ยน

 

งบให้กระทรวงพลังงาน 1.5 พันล้านให้พัฒนาพลังงานสะอาด แต่ 500 ล้านถูกใช้เป็นเงินอุดหนุนการผลิตพลังงานจากน้ำมันปาล์มดิบ ของ กฟผ. ซึ่งน้ำมันปาล์มนั้นขึ้นชื่อเรื่องทำลายป่าและสร้างมลพืษ ซึ่งสุดท้ายก็ปล่อย Carbondioxide เหมือนกัน Comment: พลังลม Solar EV เมื่อไหร่จะมาเต็มเสียที ประเทศอื่นเขาไปถึงไหนกันแล้วในเรื่องนี้ 

สรุป ช่วงหลายปีมานี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้กลายมาเป็นปัญหาเศรษฐกิจและสุขภาพอย่างชัดเจน รวมถึง COVID-19 ซึ่งในแง่หนึ่งก็เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน และไม่ว่าโควิดจะหนักหนาขนาดไหน บอกได้เลยว่าโควิดนี้เผาหลอก แต่ตอนโลกร้อนมาเต็มนี้ เผาจริงแน่นอน ลองคิดภาพโลกที่ฤดูกาลรวนจนปลูกอะไรไม่ได้เลย พายุหนักมาปีละหลายครั้งจนโครงสร้างพื้นฐานเสียภายทั้งระบบ โลกที่อากาศสกปรกจนไม่สามารถหายใจได้ด้วยปอดเปล่าๆอีกต่อไป

 

"วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล" สุดทน ถูกหั่นงบสิ่งแวดล้อมปี 65 เหี้ยน


แทนที่จะปฏิบัติต่อเรื่องสิ่งแวดล้อมเหมือนเป็นเรื่องไม่จำเป็น ที่สามารถลดงบครึ่งหนึ่งเมื่อไหร่ก็ได้ จริงๆมันควรจะเข้าไปอยู่ในทุกๆมิติของการบริหารประเทศได้แล้ว ตั้งแต่ความมั่นคง เศรษฐกิจ พลังงาน สาธารณสุข จนถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นพื้นฐานของทุกๆมิติของสังคม และเราเองถึง แม้ไม่ได้เป็นประเทศที่ปล่อยคาร์บอนสูงสุด แต่เราเองเป็นหนึ่งในประทศที่จะได้รับผลกระทบสูงสุด และผู้นำเองก็มองการณ์ไกลเห็นเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ใช่เอาเงินไปซื้อรถถังเรือดำน้ำ 

และอย่างที่เราเห็นจากโควิด พอภัยพิบัติธรรมชาติมา คนจนคือคนที่เสียหายสุด ไม่มีระบบ support ใดๆ ทางรัฐเองก็แทบไม่มีความสามารถดูแลกลุ่มคนที่เดือดร้อนที่สุดอย่างทั่วถึงเลย ถ้าจะมียุทธศาสตร์ชาติระยะยาวจริงๆ เรื่องพวกนี้มันหายไปไหนหมด 

ถ้าถึงคราวระบบนิเวศของโลกไม่ไหวขึ้นมาจริงๆ เรื่องอื่นๆมันจะดูไม่สำคัญไปเลย นี่คือวิกฤติที่มนุษย์เพิ่งเคยต้องเจอเป็น Generation แรกตั้งแต่เราอยู่บนโลกนี้มา  แล้วเดิมพันสูงมาก คือถ้าทำไม่ได้คือตายกันหมด

โลกเขาอยู่ต่อได้ แค่ไม่มีเราอยู่ด้วย เพราะงั้นมันไม่ใช่เรื่องรักษ์โลกหรอก รักตัวกูนี่แหละ 

 

"วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล" สุดทน ถูกหั่นงบสิ่งแวดล้อมปี 65 เหี้ยน
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ