Lifestyle

เครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียแห่งประเทศไทยร่วมกับพม.จัดอบรม "มองเศรษฐกิจไทยภายหลังโควิด19 : ผลกระทบต่อสตรีในหลากหลายมิติ" 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียนแห่งประเทศไทย (AWEN Thailand)  ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสตรีชุมชนในยุควิถีชีวิตใหม่ (โควิด-19)


เพื่อส่งเสริมความรู้ เพิ่มทักษะและโอกาสในการประกอบอาชีพ พร้อมทั้งสนับสนุนช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดเล็กและวิสาหกิจชุมชนสตรีที่ประสบปัญหาทางธุรกิจจากสถานการณ์โควิด-19 ให้มีรายได้ ในยุควิถีชีวิตใหม่  (New Normal)   คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล   ประธานเครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียนแห่งประเทศไทย (AWEN Thailand) ร่วมกับ ดร.ปรเมธี วิมลศิริ ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกันเปิด “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสตรีชุมชนในยุควิถีชีวิตใหม่ (โควิด-19)” โดยมีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ อาทิ การปรับแนวทางและกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจให้เข้ากับสถานการณ์ยุคโควิด 19   การปรับโมเดลธุรกิจสู่การขายและการตลาดออนไลน์ และการรณรงค์สร้างวินัยทางการออมเงิน   การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และพบพี่เลี้ยงทางธุรกิจร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ที่ห้องประชุม เอ็มเอสซี ฮอลล์ (MSC Hall) โรงแรมรามาดา พลาซ่าแม่น้ำริเวอร์ไซด์ เมื่อวันก่อน

 

 

เครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียแห่งประเทศไทยร่วมกับพม.จัดอบรม "มองเศรษฐกิจไทยภายหลังโควิด19 : ผลกระทบต่อสตรีในหลากหลายมิติ" 


 

คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล   ประธานเครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียนแห่งประเทศไทย (AWEN Thailand) และประธานสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์  กล่าวขอบคุณ ดร.ปรเมธี  วิมลศิริ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  ที่ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการอบรมและแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “มองเศรษฐกิจไทยภายหลังโควิด19 : ผลกระทบต่อสตรีในหลากหลายมิติ”  รวมถึง ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ผศ.ดร.มานา  ปัจฉิมนันท์  คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย, ดร.อารดา มหามิตร  ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, นางจรรย์สมร วัธนเวคิน ที่ปรึกษาสมาพันธ์ฯ, นางสาวฐิตินันท์ วัธนเวคิน ประธานดำเนินงานโครงการรณรงค์สร้างวินัยทางการเงิน 6 ภาคี และรองประธานสหพันธ์ฯ, ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ที่ให้เกียรติมาร่วมถ่ายทอดความรู้ที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาสตรีและครอบครัว  รวมทั้งผู้ประกอบการสตรีในชุมชนทั่วประเทศ ที่เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้
              

จากนั้น คุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ว่า “สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562  เป็นปรากฏการณ์ที่ส่งผลให้มนุษย์ทั่วโลกเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำรงชีวิตครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน   มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทำให้เกิดรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ ที่แตกต่างจากอดีต หรือที่เรียกว่า  New Normal ซึ่งได้มีผู้ที่เสนอแนะแนวทางปฏิบัติสำหรับชีวิตวิถีใหม่ให้แก่คนไทย  ไว้หลายประการ  เช่น การนำเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น ตลอดจนแพลตฟอร์มแผนธุรกิจขององค์กรต่างๆ ที่เน้นรูปแบบออนไลน์ สามารถโอนและชำระเงินผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ และพัฒนาโลจิสติกส์แบบเดลิเวอรี่ เพื่อให้บริการด้านความสะดวกแก่ผู้บริโภค เป็นต้น
    

 

เครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียแห่งประเทศไทยร่วมกับพม.จัดอบรม "มองเศรษฐกิจไทยภายหลังโควิด19 : ผลกระทบต่อสตรีในหลากหลายมิติ" 

 

สำหรับการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสตรีชุมชนในยุควิถีชีวิตใหม่ครั้งนี้ ได้แบ่งเป็น 5 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้แทนจากสมาชิกในศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว สังกัดกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทั่วประเทศ ผู้แทนจากชุมชนกลุ่มผู้ประกอบการสตรี ชุมชนกลุ่มวิชาชีพสตรี ทั่วประเทศ สมาชิกในศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว สังกัดกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว   กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง  ของมนุษย์ทั่วประเทศ ชุมชนกลุ่มผู้ประกอบการสตรี ชุมชนกลุ่มวิชาชีพสตรี ทั่วประเทศ และประชาชนทั่วไป     การจัดอบรมครั้งนี้ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้ประกอบการสตรีอาเซียนใน 3 ประเด็นหลัก คือ  การสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ (Sustainability),  การส่งเสริมธุรกิจเข้าสู่ตลาดดิจิทัล (Digitalization) และ  การส่งเสริมวินัยการเงิน (Financial Inclusion) ที่ผู้แทนเครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียนในภูมิภาคอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันเพื่อค้นหาแนวทางพัฒนาความก้าวหน้าของผู้ประกอบการสตรี โดย เครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียนประเทศไทย (AWEN Thailand) ได้เสนอแนวทางการพัฒนาโครงการรณรงค์สร้างวินัยการเงินพร้อมทั้งมอบคู่มือแนวปฏิบัติการพัฒนาโครงการ (Financial Discipline Project Development Guideline) ให้กับประธานเครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอีก 9 ประเทศ เพื่อถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการผลักดันให้เกิดการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมของสตรี ยกระดับสุขภาวะ คุณภาพชีวิต และเสริมสร้างความมั่นคงในชีวิต รวมทั้งหารือร่วมกันในการพัฒนายุทธศาสตร์ในด้านต่างๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ เพื่อสร้างแนวคิดและหนทางปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจให้อยู่รอดในภาวะวิกฤตการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 เพื่อช่วยเหลือสนับสนุน ผู้ประกอบการขนาดเล็กและวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศ และสร้างเกราะป้องกันและแนะแนววิธีการแก้ไขปัญหา ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ให้แก่เศรษฐกิจชุมชน รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศนำองค์กรก้าวผ่านพ้นวิกฤตที่รุนแรงครั้งนี้ไปด้วยกัน"
  

 

เครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียแห่งประเทศไทยร่วมกับพม.จัดอบรม "มองเศรษฐกิจไทยภายหลังโควิด19 : ผลกระทบต่อสตรีในหลากหลายมิติ" 

 

ต่อมา ดร.ปรเมธี วิมลศิริ แสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง มองเศรษฐกิจไทยภายหลังโควิด19 : ผลกระทบต่อสตรีในหลากหลายมิติ  ว่า  “จากการที่ภาครัฐประกาศใช้มาตรการล็อคดาวน์ ให้ทุกคนอยู่บ้าน และการเว้นระยะห่างทางสังคม มองได้ว่าเป็นการให้ภาระแก่สตรีมากขึ้น สตรีมีภาระในบ้านมากมายอยู่แล้ว เมื่อต้องอยู่บ้านก็ต้องรับภาระงานในบ้าน ดูแลคนในครอบครัวมากขึ้นกว่าปกติ กล่าวได้ว่า สตรีเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มากกว่ากลุ่มอื่น ยังไม่ต้องกล่าวถึงความเครียดที่ต้องอยู่บ้านนานๆ ไปทำงานไม่ได้ ครอบครัวขาดรายได้ อยู่ในครอบครัวที่มีผู้พึ่งพิง (เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และดูแลเด็กๆ) และต้องรับภาระค่าใช้จ่าย รวมไปถึงความรุนแรงในครอบครัว  ยังไม่นับครอบครัวที่ต้องประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจหรือ  ขาดรายได้จากการถูกให้ออกจากงาน  ทว่าในทางกลับกัน จากมาตรการล็อคดาวน์ ก็มีข้อดีอยู่ด้วย เพราะจากการสำรวจก็พบว่า ในบางครอบครัวกลับพลิกวิกฤตเป็นโอกาสในการเพิ่มพูนรายได้ให้ครอบครัว โดยใช้ทักษะความสามารถที่มีอยู่แล้ว เช่น ทำอาหาร ขนม ทำสินค้าผลิตภัณฑ์ด้วยมือ สินค้าประดิษฐ์ต่างๆ ขายสินค้าทางออนไลน์ โดยสตรีและลูกช่วยกันผู้ผลิตสินค้า และคู่หรือสามีรับผิดชอบการขนส่งไปถึงมือลูกค้า เป็นการเพิ่มรายได้ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้ครอบครัว จนกลายเป็นว่าอาชีพเสริมที่ทำช่วงโควิด กลายเป็นอาชีพหลักที่มีรายได้มากกว่างานประจำ และค้าขายออนไลน์จนสถานการณ์โควิดคลี่คลาย เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ครอบครัวอื่นๆและชุมชน และก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ใหม่ๆ มากมายด้วยฝีมือคนไทย
    

ที่ผ่านมาหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ต่างก็มีความตั้งใจช่วยเหลือ เยียวยาทุกกลุ่มเป้าหมายตามภารกิจของแต่ละภาคส่วน โดยมีจุดร่วมคือเรื่องการฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก หรือเศรษฐกิจในชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ชุมชนมีกำลังใจต่อสู้กับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากภาวะวิกฤตโควิด-19 และประชาชน โดยเฉพาะสตรีในชุมชน มีกำลังใจ มีความมุ่งมั่น พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตนเองในทางที่ดีขึ้น เพื่อเป็นกำลังสำคัญของครอบครัวที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว สำหรับการจัดโครงการอบรมในครั้งนี้หวังว่า ผู้เข้าร่วม จะได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ทักษะต่างๆ ในยุคของวิถีชีวิตใหม่ ทั้งการวางแผนธุรกิจ การตลาด การเงิน ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีพื้นฐาน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในทางที่ดีขึ้น สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับครอบครัว และกลุ่มอาชีพตนเอง และสามารถนำความรู้ไปขยายผลต่อให้สมาชิกกลุ่มอาชีพและในชุมชนได้" ดร.ปรเมธี วิมลศิริ  กล่าว
 

 

 

เครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียแห่งประเทศไทยร่วมกับพม.จัดอบรม "มองเศรษฐกิจไทยภายหลังโควิด19 : ผลกระทบต่อสตรีในหลากหลายมิติ" 

 

ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กล่าวถึงความร่วมมือ 6 ภาคี เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาของการตกลงความร่วมมือ และบรรยายพิเศษ เรื่อง “รู้เรื่องเงินเปลี่ยนชีวิต ฝ่าวิกฤติอย่างยั่งยืน” เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ครอบครัว เสริมศักยภาพสตรีให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ จากระดับบุคคลสู่ครัวเรือนและชุมชน ที่สำคัญเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงปลอดจากภาระหนี้สิน


“โครงการรณรงค์สร้างวินัยทางการเงิน จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ด้านการวางแผนการเงินการลงทุน แก่บุคลากรและสมาชิกของภาคีเครือข่าย ให้สามารถบริหารจัดการ วางแผน และเก็บออมเงิน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินในวัยเกษียณ และเพื่อให้เป็นโครงการนำร่อง ในการรณรงค์ให้เกิดกระแสการสร้างวินัยทางการเงินแก่องค์กรสมาชิกตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน จากความสำเร็จของโครงการฯ ทำให้มีภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ 144 บริษัท สร้าง “วิทยากรพี่เลี้ยงทางการเงิน” 1,071 คน ที่สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับ ไปเผยแพร่อีกกว่า 3,492 คน ทำให้มีผู้ได้รับสื่อความรู้ด้านการวางแผนการเงินและการลงทุนออนไลน์ 238,192 คน ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่มีผลกระทบในวงกว้างต่อธุรกิจและบุคคล ยังทำให้เราเห็นว่า ทักษะด้านวางแผนการเงินมีความสำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยให้แต่ละคนสามารถบริหารจัดการชีวิต ให้ผ่านพ้นวิกฤติไปได้ และพร้อมรับมือกับความผันผวน ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ซึ่งจากการดำเนินโครงการในครั้งนี้ จึงเชื่อมั่นได้ว่าทุกท่านจะได้นาองค์ความรู้ ไปต่อยอดขยายผลได้ เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางการเงินในทุกระดับ จากบุคคล สู่ครัวเรือนและชุมชน อันนาไปสู่การเป็นรากฐานที่มั่นคง ให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคมของไทยต่อไป” ดร.ภากร กล่าว
 

ในฐานะที่ปรึกษาสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจ และวิชาชีพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ นางจรรย์สมร วัธนเวคิน  กล่าวถึงการ "สร้างพลังและกระตุ้นแรงจูงใจแห่งความสำเร็จ หรือทำสิ่งที่ต้องการให้สำเร็จ" ซึ่งให้สอดคล้องกับโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสตรีชุมชนในยุควิถีชีวิตใหม่ว่า เพื่อจุดประกายแรงบันดาลใจในการมุ่งมั่นดำเนินการให้เกิดเป็นผลสำเร็จได้นั้น ต้องประกอบด้วยหลัก 3 ประการ คือ คุณสมบัติของสตรี, การทำงานร่วมกันของคนต่างวัย และ ใจที่พร้อมสู้ 
 

 

เครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียแห่งประเทศไทยร่วมกับพม.จัดอบรม "มองเศรษฐกิจไทยภายหลังโควิด19 : ผลกระทบต่อสตรีในหลากหลายมิติ" 

 

 

"เมื่อกล่าวถึง คุณสมบัติของสตรี ประกอบด้วย ความเข้มแข็ง, เคารพตัวเอง, พึ่งตัวเองได้, ตระหนักในความเป็นแม่, มีบทบาทต่อสังคมและประเทศ และสนในกิจกรรมของสตรีระหว่างประเทศ สำหรับหลักประการที่สอง นั่นคือ การทำงานร่วมกันของคนต่างวัย โดยส่วนตัวเชื่อมั่นว่า คนต่างวัยสามารถทำงานร่วมกันได้ด้วยความรู้ความสามารถเฉพาะตัว ยกตัวอย่าง คน 3 วัย ได้แก่ วัยวัฒนา คือผู้สูงอายุ ทำหน้าที่เป็นคลังสมอง, วัยพัฒนา คือผู้ที่กำลังทำงาน เป็นคลังปัญญา และ วัยก้าวหน้า คือผู้เริ่มทำงาน ซึ่งมีความสันทัดด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์การสื่อสาร ถือเป็นคลังอนาคต เป็นกลุ่มคนยุคใหม่ที่จะเป็นผู้สืบทอดที่มีคุณภาพและเป็นความหวังของสังคม ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้อาวุโสต้องมีเมตตาและให้อภัย ในขณะเดียวกันผู้เยาว์ก็ต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตน ความเคารพและความกตัญญู มาถึงหลักการที่สาม ใจพร้อมสู้ นับเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะใจที่คิดสู้จะทำให้มีความกระตือรือร้น, มีความมุ่งมั่น, มีความยืนหยัด, มีความรับผิดชอบ, มีวินัย พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา รวมถึงรับฟังความคิดเห็นของผู้คนรอบตัว" นางจรรย์สมร กล่าวพร้มอกับย้ำข้อคิดว่า ในวิกฤตจะมีโอกาสแฝงอยู่เสมอ เมื่ออยากก้าวหน้าต้องหาโอกาส อยากประสบความสำเร็จ

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ