Lifestyle

จากสายน้ำแห่งชีวิตสู่ "เขื่อนพลังน้ำไซยะบุรี"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

(ว่าที่) เมืองเศรษฐกิจแห่งใหม่ของลาวกับการมาของอภิโปรเจกท์ "โรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี" ที่ลงทุนโดยคนไทย

     ความยาวกว่า 4,900 กิโลเมตรของเเม่น้ำโขง ไหลผ่านจีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ก่อนจะลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ถือเป็นมหานทีที่ยาวที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนสองฟากฝั่งและก่อเกิดความหลากหลายทางระบบนิเวศ ในจำนวนนี้เป็นการไหลผ่านประเทศลาว หรือ สปป.ลาว ราว 1,800 กิโลเมตร และแน่นอนว่าผ่านแขวง "ไซยะบุรี“ ทางตะวันตกสุดของประเทศ ดินแดนที่วันนี้จะพลิกบทบาทครั้งสำคัญกลายเป็น (ว่าที่) เมืองเศรษฐกิจแห่งใหม่กับการมาของอภิโปรเจกท์อย่าง “โรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี” ที่ลงทุนโดยคนไทยภายใต้ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) ในเครือยักษ์ใหญ่วงการก่อสร้าง “ช.การช่าง”

      จากสายน้ำแห่งชีวิตสู่ "เขื่อนพลังน้ำไซยะบุรี"

ภาพมุมสูงโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี 

      ต้องบอกว่า “เล็กๆ ไม่ ใหญ่ๆ ซีเค เพาเวอร์ถนัด!” เพราะหลังจากประสบความสำเร็จอย่างมากจากโครงการเขื่อนน้ำงึม 2 ที่นครหลวงเวียงจันทน์ หนึ่งในแบตเตอรี่หลายๆ ลูกที่ สปป.ลาว ใช้ผลิตไฟฟ้าเพื่อส่งขายให้ประเทศเพื่อนบ้านตามวิสัยทัศน์ดันตัวเองให้เป็น “แบตเตอรี่แห่งเอเชีย” การเจรจาต่อยอดธุรกิจด้านพลังงานกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำใหม่กิ๊กนี้จึงไม่ใช่เรื่องยากลำบากเกินไป

     แต่ก็ดูเหมือนระยะเวลา 12 ปี ตั้งแต่เริ่มตั้งไข่จนเดินเครื่องผลิตและขายไฟฟ้าหน่วยแรกได้ในวันนี้จะท้าทายไม่น้อย !  

จากสายน้ำแห่งชีวิตสู่ "เขื่อนพลังน้ำไซยะบุรี"

ธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ 

      เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ทีมผู้บริหาร บมจ.ซีเค พาวเวอร์ นำโดยคีย์แมนคนสำคัญ “ปอง” ธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ เจน 3 แห่ง ช.การช่าง, มัณฑนา เอื้อกิจขจร บอสหญิงสายงานวางแผนธุรกิจ ซีเค พาวเวอร์ และ อานุภาพ วงศ์ละคร วิศวกรใหญ่ฝ่ายงานเดินเครื่องและบำรุงรักษา บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด จึงหอบคณะสื่อมวลชนกว่า 20 ชีวิตจากกรุงเทพฯ ไปทัศนศึกษาถึงโรงไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี สปป.ลาว ให้เห็นกับตาว่าของจริงนั้นยิ่งใหญ่แค่ไหน พร้อมกับเต็มใจให้ซักถามข้อมูลที่อยากรู้

จากสายน้ำแห่งชีวิตสู่ "เขื่อนพลังน้ำไซยะบุรี"

เขื่อนกว้าง 850 เมตรกั้นแม่น้ำโขง

    เบื้องต้น “ปอง” ธนวัฒน์ นายใหญ่ซีเคพี เล่าให้ฟังว่า  ที่เลือกไซยะบุรีปักหมุดโครงการเพราะชื่อเป็นมงคลคือเมืองแห่งชัยชนะ สภาพพื้นที่ถ้าไม่ใช่ฤดูน้ำหลากจะเห็นสันดอน เมื่อปี 2009 ได้ส่งข้อมูลโครงการไปให้คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) เพื่อขอความเห็นชอบจากประเทศสมาชิก ใช้เวลา 6 เดือนจึงเสร็จสิ้นกระบวนการ ทางลาวและกัมพูชาแสดงความกังวลเรื่องปลาที่ต้องว่ายทวนน้ำในฤดูวางไข่ รวมถึงตะกอนอาหารปลาจะผ่านเขื่อนลงไปได้อย่างไร จึงต้องมีการปรับแบบและลงทุนเพิ่ม ตรงนี้รัฐบาลลาวให้ความช่วยเหลือโดยชดเชยเงินส่วนที่เกิน ลดภาษี รวมถึงยืดสัมปทานออกไปให้ 

จากสายน้ำแห่งชีวิตสู่ "เขื่อนพลังน้ำไซยะบุรี"

จากสายน้ำแห่งชีวิตสู่ "เขื่อนพลังน้ำไซยะบุรี"

พร้อมผลิตไฟฟ้าส่งขาย

     “ปี 2010 เราเซ็นสัญญาก่อสร้าง แต่ก่อนจะเริ่มดำเนินการ ต้องโยกย้ายชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ โดยบริษัทได้สร้างหมู่บ้านให้เพื่อชดเชย พร้อมเยียวยา สร้างระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ให้ ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า ประปา โรงเรียน โรงพยาบาล รวมถึงอาชีพ ต่อมาปี 2011 ก็เซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ.  พร้อมกับการพัฒนาแบบก่อสร้างและลงรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อให้ใช้งานได้จริง มาปี 2012 จึงวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างมีการตัดถนนเข้ามา เปิดใช้ไฟฟ้าและประปา ชาวบ้านเริ่มย้ายเข้ามาอยู่สองข้างทางมากขึ้น ถือเป็นการค่อยๆ พัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจโดยรอบไปในตัว” ธนวัฒน์ กล่าว

จากสายน้ำแห่งชีวิตสู่ "เขื่อนพลังน้ำไซยะบุรี"

ท้ายเขื่อนในหน้าแล้ง

     พร้อมกับเผยต่อไปว่า เขื่อนเริ่มมีการผันน้ำในปี 2015 ด้วยความที่เป็นโครงการฝายยกน้ำ จึงต้องยกน้ำเพื่อให้น้ำไหลผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แต่จะยกระดับเพียง 1 ครั้งเท่านั้นในความสูง 275 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ส่วนเกินจะปล่อยน้ำผ่าน ไม่เคยกักเก็บไว้ตามที่เป็นข่าวว่าแม่น้ำโขงแล้งจัดเพราะส่วนหนึ่งเกิดจากการกักน้ำไว้เหนือเขื่อน จริงๆ แล้วเกิดจากภัยแล้งตามฤดูกาลมากกว่า อย่างไรก็ตามเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เครื่องกำเนิดไฟฟ้าตัวที่ 7 ได้ทดสอบผ่านตามมาตรฐานของ กฟผ. และจะเริ่มขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคมนี้

    จากสายน้ำแห่งชีวิตสู่ "เขื่อนพลังน้ำไซยะบุรี"

ธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์-อานุภาพ วงศ์ละคร ภายในโรงไฟฟ้า

     นายใหญ่ซีเคพี เผยถึงเม็ดเงินลงทุนโรงไฟฟ้าพลังน้ำแห่งล่าสุดว่าสูงถึง 135,000 ล้านบาท ตัวเลขนี้รวมงบลงทุนเพิ่มในการปรับแบบอีกเกือบ 2 หมื่นล้านบาท ถือว่าคุ้มค่าเพราะกำลังการผลิตรวมอยู่ที่ 1,285 เมกะวัตต์ ตอนนี้พร้อม 100 เปอร์เซ็นต์ที่จะต่อเข้าระบบของ กฟผ. เพื่อขายไฟเชิงพาณิชย์ คาดว่าจะผลิตไฟฟ้าได้ 1,000 ล้านหน่วยภายในปี 2019 โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. 95 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเสาส่งกว่า 400 ต้นส่งไฟฟ้ากลับเมืองไทยทางฝั่งจังหวัดเลย และขายให้รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาวอีก 5 เปอร์เซ็นต์ ราคาเฉลี่ย 2 บาท/กิโลวัตต์ สัญญาสัมปทาน 31 ปี คาดว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด 7,600 ล้านหน่วย/ปี โดยจะดำเนินการเต็มรูปแบบในปี 2020 รายได้เฉลี่ยที่ประมาณการไว้คือ 13,000-14,000 ล้านบาทต่อปี พร้อมขึ้นทำเนียบโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน 

จากสายน้ำแห่งชีวิตสู่ "เขื่อนพลังน้ำไซยะบุรี"

ทางต้อนปลา “Fish Leader”

     นั่นคือความหวังด้านพลังงานไฟฟ้าในอนาคต แต่ข้อกังวลใจของคนทั่วไปและเป็นความท้าทายของคนสร้างเขื่อนคือระบบนิเวศ โดยเฉพาะ “ปลา” ที่อาจมีปัญหาเรื่องการอพยพและว่ายทวนน้ำไปวางไข่ เรื่องนี้วิศวกรใหญ่ อานุภาพ วงศ์ละคร บอกว่า ในการปรับปรุงแบบโดยภาพรวมโครงสร้างไม่ได้เปลี่ยนมาก แต่ปรับในรายละเอียดต่างๆ โดยเฉพาะบานประตูเปิดปิดน้ำล่อปลา 30 บาน น้ำเข้ามาเท่าไรจะถูกปล่อยออกไปเท่านั้นเพื่อรักษาระดับน้ำ 275 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งสำรวจแล้วต่อให้มีเขื่อนหรือไม่อัตราการไหลของน้ำก็เท่าเดิม อยู่ที่ปัจจัยต้นน้ำจากแม่น้ำหลานชาง (แม่น้ำโขง) ที่จีน 60 เปอร์เซ็นต์ และแม่น้ำอื่นๆ อีก 40  เปอร์เซ็นต์ พูดได้ว่าท้ายเขื่อนไม่เกิดผลกระทบอะไร ส่วนน้ำเหนือเขื่อนจะทรงตัวทั้งปี 

จากสายน้ำแห่งชีวิตสู่ "เขื่อนพลังน้ำไซยะบุรี"

ระดับน้ำเหนือเขื่อนช่วงเดือนตุลาคม

     “เรามีทางเดินเรือตามข้อกำหนด MRC ใช้เวลา 40 นาที ส่วนเรือเล็กหาปลาของชาวบ้านมีการสร้างทางผ่าน มีการบริหารจัดการตะกอน มีการศึกษาพฤติกรรมของปลาแต่ละชนิด สิ่งที่เพิ่มเติมคือระหว่างที่มีการผันน้ำจะมีการเปิดให้น้ำไหลเพื่อให้ปลาอพยพผ่านได้ มีช่องปรับความเร็วน้ำล่อปลาโดยต้อนให้ปลาว่ายทวนน้ำขึ้นไปที่เรียกว่า Fish Leader มีการกำหนดเขตห้ามจับปลาในรัศมี 1-2 กม.เหนือและท้ายเขื่อนเพื่อไม่ให้เสียระบบนิเวศธรรมชาติ โดยสรุปแล้วเรามีการบริหารจัดการปล่อยน้ำเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนผลิตไฟฟ้า 5,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที, Fish Leader 40 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และทางน้ำล้น (Spillway) อีก 5,040 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที” อานุภาพ กล่าว

จากสายน้ำแห่งชีวิตสู่ "เขื่อนพลังน้ำไซยะบุรี"

คณะสื่อมวลชนและผู้บริหารถ่ายภาพเป็นที่ระลึก

จากสายน้ำแห่งชีวิตสู่ "เขื่อนพลังน้ำไซยะบุรี"

หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์

    หลังจากรับทราบข้อมูลและทัวร์เกือบทุกซอกมุมโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรีเป็นที่เรียบร้อย ก่อนถอนกำลังผู้บริหารได้แนะนำอีกสถานที่สำคัญภายในบริเวณเขื่อนที่ไม่ควรพลาดนั่นคือการแวะสักการะ “หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์” พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นตามความเชื่อของคนทำโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ช่วยดลบันดาลให้ประสบความสำเร็จงอกงาม

จากสายน้ำแห่งชีวิตสู่ "เขื่อนพลังน้ำไซยะบุรี"

เช้าตรู่ตักบาตรข้าวเหนียว

จากสายน้ำแห่งชีวิตสู่ "เขื่อนพลังน้ำไซยะบุรี"

วัดเชียงทอง

จากสายน้ำแห่งชีวิตสู่ "เขื่อนพลังน้ำไซยะบุรี"

วัดวิชุนนะราช

     จากนั้นจึงเดินทางโดยรถตู้ผ่านเส้นทางคดเคี้ยวมุงหน้าสู่ “นครหลวงพระบาง” ซึ่งนอกจากจะได้ดื่มด่ำกับศิลปวัฒนธรรมล้านช้างไม่ว่าจะเป็นวัดเชียงทอง วัดวิชุนนะราช ร่วมตักบาตรข้าวเหนียวตามวิถีชาวหลวงพระบาง ช็อปปิ้งตลาดกลางคืนถนนคนเดิน

จากสายน้ำแห่งชีวิตสู่ "เขื่อนพลังน้ำไซยะบุรี"

แวะชิมตำหลวงพระบางถนนคนเดิน

จากสายน้ำแห่งชีวิตสู่ "เขื่อนพลังน้ำไซยะบุรี"

คุ้มเซียงแก้ว ในบริเวณโรงแรมเดอะแกรนด์หลวงพระบาง

     ยังอุ่นกายสบายใจไปกับที่พักสวยริมโขง “โรงแรมเดอะแกรนด์หลวงพระบาง” ภายในวังเก่า “เซียงแก้ว” ของเจ้าชีวิตลาวผู้ล่วงลับอีกด้วย...

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ