Lifestyle

เด็กเก่งอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบ เร่งสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สิ่งสำคัญคือเร่งพัฒนา "อาร์คิว" ช่วยให้เด็กสามารถปรับตัวในสภาวะที่ยากลำบาก

          เพราะการเลี้ยงเด็กในปัจจุบันไม่ง่าย ไม่เพียงเด็กดื้อ เด็กเกเร สมาธิสั้น ยังมีทั้งเด็กขี้กลัว อ่อนแอ ขาดความมั่นใจ ฯลฯ ล้วนเป็นปัญหาที่พ่อแม่ต้องพบเจอและตีโจทย์ให้แตกเพื่อให้เข้าใจในบุตรหลานของตัวเอง และช่วยปรับพฤติกรรมให้ลูกมีพัฒนาการทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม สามารถรับมือกับสิ่งเร้าหรือภาวะที่ยากลำบากเมื่อต้องเจอะเจอในวันข้างหน้าได้เป็นอย่างดี

เด็กเก่งอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบ เร่งสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ

พญ.สุรางคณา เตชะไพฑูรย์

          พญ.สุรางคณา เตชะไพฑูรย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม รพ.สมิติเวช และรพ.บีเอ็นเอช และผู้อำนวยการ รพ.เด็กสมิติเวช บอกว่า ยุคนี้เด็กเกิดมาไม่เคยต้องรอ อยากกินอะไรสามารถสั่งซื้อมาได้เลย ถูกปลูกฝังมาตลอด เคยชินกับการไม่ต้องคอย ไม่อดทน ไม่ต้องรอ แต่ชีวิตไม่ได้มีแต่สีชมพู ข้างนอกมีสีอื่นด้วย มีการแข่งขัน ถ้าเจอเพื่อนล้อจะยืนหยัดได้ไหม เมื่อก่อนจะมีแต่ ไอคิว อีคิว แต่ปัจจุบันมี อาร์คิว จะทำอย่างไรให้เขายืนหยัดและยืดหยุ่นได้

          “เด็กในกรุงเทพฯ มีความอดทนน้อยกว่าเด็กชนบทถึง 2 เท่า เพราะสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมเมือง การเลี้ยงดูที่สุขสบาย พ่อแม่ปกป้องลูกมากเกินไป มีเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทำให้ใช้ชีวิตง่ายขึ้น เร็วขึ้น ทำให้เด็กไม่ต้องทนรออะไร อยากพูดอยากแสดงออกก็สามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องคิดถึงผลกระทบต่อคนอื่น การแก้ปัญหานี้แต่ต้นมือจึงเป็นเรื่องจำเป็น โดยต้องเร่งพัฒนา “อาร์คิว” (Resilience Quotient) หรือความฉลาดทางอารมณ์ที่จะช่วยให้เด็กสามารถปรับตัวในสภาวะที่ยากลำบาก เป็นเรื่องสำคัญสำหรับยุคนี้” ผู้เชี่ยวชาญแนะ    

เด็กเก่งอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบ เร่งสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ

 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์

           ด้าน นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้อำนวยการ สมิติเวช พาเรนติ้ง เซ็นเตอร์ บอกว่า พ่อแม่ปัจจุบันไม่ได้รับการศึกษาให้ดูแลลูก เราเลี้ยงลูกตามที่เคยเลี้ยง เลี้ยงลูกตามตำราตามโซเชียลบอก ซึ่งตัวเองมองว่า เด็กมีความเก่งอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบในยุคนี้แล้ว แต่เด็กต้องเติบโตมาด้วยคุณภาพทางอารมณ์ด้วย

เด็กเก่งอย่างเดียวไม่ใช่คำตอบ เร่งสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ

“นิหน่า” สุฐิตา

          จากคุณหมอมาฟังประสบการณ์ของดาราสาวคุณแม่ลูกสอง “นิหน่า” สุฐิตา ปัญญายงค์ เล่าว่า เมื่อครั้งที่ลูกยังเล็กทุกครั้งที่ลูกร้องไห้จะกังวลใจเพราะไม่ทราบว่าสาเหตุมาจากอะไร ต้องเปิดแอพพลิเคชั่นเทียบเสียงร้องแปลความต้องการของลูก ตอนนั้นรู้สึกสิ้นหวังมาก สุดท้ายก็ค่อยๆ เรียนรู้ไปกับลูก ภายหลังเมื่อได้รู้จักพูดคุยกับหมอ เมื่อกังวลใจกับพฤติกรรมของลูกจะปรึกษาคุณหมอตลอดกระทั่งเพื่อนๆ มองว่าเป็นคนติดหมอ การที่มี สมิติเวช พาเรนติ้ง เซ็นเตอร์ น่าจะเป็นสิ่งดีกับพ่อแม่ เมื่อสงสัยสิ่งใดสามารถขอความเห็นจากคุณหมอได้

          ทั้งนี้ สมิติเวช พาเรนติ้ง เซ็นเตอร์ จะเปิดโปรแกรมสำหรับพ่อแม่และผู้ปกครองเพื่อการรักษาเด็กสมาธิสั้น และเด็กดื้อ อายุระหว่าง 2-12 ปี พ่อแม่และผู้ปกครองจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เรื่องโรคสมาธิสั้น และพฤติกรรมดื้อต่อต้าน อย่างครบวงจร อาทิ ฝึกสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกกับลูก ฝึกการออกคำสั่งแบบมีประสิทธิภาพ ฝึกทักษะการปรับพฤติกรรม การเลือกโรงเรียน การรักษาโรคสมาธิสั้น ผู้สนใจสอบถามข้อมูลได้ที่ 0-2378-9125

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ