Lifestyle

ไตที่เปราะบาง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ไตที่เปราะบาง คอลัมน์...  ไขปัญหาสุขภาพแผนจีน  โดย... หมอไพร 

 

 

 


          เมื่อต้นเดือนสิงหาคม มีนายแพทย์ฝีมือดีมีชื่อเสียงมากท่านหนึ่งอายุ 82 แล้ว หลังเกษียณท่านไปทำไร่ทำสวนที่ต่างจังหวัด ดูเผินๆ ท่านกระฉับกระเฉง เดินเหินคล่องแคล่วแข็งแรงดี เป็นคนอารมณ์ดี เป็นกันเอง ไม่ถือตัว อ่อนน้อมถ่อมตัวมากๆ เลย ในใบประวัติเกี่ยวกับอาชีพยังบอกเพียงเป็นข้าราชการบำนาญเท่านั้น วางตัวได้น่านับถือมาก

 


          ท่านเล่าให้ฟังว่า เดิมทีเป็นคนแข็งแรง เมื่อต้นปี 2562 เดินทางไปท่องเที่ยวที่ต่างประเทศแถบยุโรป ระหว่างท่องเที่ยวเกิดอาการเหนื่อยหอบ เจ็บหน้าอก นอนราบไม่ได้ต้องนั่ง คิดกังวลเหมือนกันว่าจะรอดชีวิตกลับถึงบ้านหรือเปล่า เนื่องจากไปกับทัวร์จำเป็นต้องท่องเที่ยวจนจบทริป พอกลับถึงประเทศไทยรีบไปตรวจที่โรงพยาบาล พบว่าเส้นเลือดหัวใจตีบไป 2 เส้น


          ก่อนผ่าตัดต้องมีการตรวจเช็กอย่างละเอียด หมอต้องสั่งฉีดสีเพื่อตรวจหลอดเลือดหัวใจทั้งหมด 3 ครั้ง เพื่อนหมอด้วยกันก็พยายามใช้สีให้เจือจางที่สุด เพราะต่างก็รู้กันดีว่าว่าไตต้องรับภาระหนักแค่ไหน


          หลังจากผ่าตัดทำบอลลูนหัวใจแล้ว แทนที่จะหายเหนื่อย ร่างกายจะแข็งแรงขึ้นกลับยิ่งเหนื่อยกว่าเดิม ไม่นานเกิดอาการบวมที่ตาทั้งเปลือกตาบนและล่าง ใบหน้า แขนขา โดยเฉพาะหลังเท้าบวมเป่งจนอูมนูนอย่างเห็นได้ชัด พร้อมกับมีอาการไอ กระแอม มีเสมหะมาก หมอต้องให้ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต ยาลดไขมัน ยาแอสไพรินเด็ก ยาสูดขยายหลอดลม


          ผลการตรวจเลือดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2562
          BUN 26 CREATININ 2.07 eGFR 41.11
          โปรแทสเซียม5.5 (ปรกติ 3.4-4.5) คลอไรด์ 109 (95-105) ทั้ง 2 สูงเล็กน้อย


          เห็นได้ชัดว่า ไตได้รับผลกระทบอย่างหนัก กล่าวได้ว่าอาจารย์หมอไม่เพียงแต่เป็นโรคหัวใจหลอดเลือดเท่านั้น ยังได้โรคไตวายเรื้อรังเพิ่มขึ้นอีกโรคแล้ว เท่าที่เจอผู้ป่วยที่ผ่านการทำบอลลูนหัวใจมา ส่วนมากจะใช้ชีวิตได้ตามปรกติ บางคนยังกล้าข้ามน้ำข้ามทะเลไปเที่ยวต่างประเทศไกลๆ ได้ ยังกลับมาใช้ชีวิตทำงาน ท่องเที่ยว ทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปรกติ แต่อาจารย์หมอกลับไม่เป็นเช่นนั้น

 

 

          ความจริงการทำงานของไตที่เรียกว่า อีจีเอฟอาร์ จะลดลงตามอายุที่สูงขึ้นอยู่แล้ว อาจารย์หมอก็คงไม่มีข้อยกเว้น พอเจอยาที่ทำร้ายไตติดๆ กันเช่นนั้น ไตย่อมถูกทำร้ายอย่างหนัก ภาวะไตวายเรื้อรังจึงเกิดขึ้นตามมา


          อาการบวม เกิดได้ทั้งกับโรคไตและโรคหัวใจ โรคไตจะเริ่มจากเปลือกตา แต่โรคหัวใจจะบวมชัดที่เท้า แต่อาจารย์หมอบวมทั้งตัว ทั้งเสมหะมาก ความชื้นขังในตัวมากมาย หัวใจ ม้าม ปอด ไต ล้วนลามถึงกัน หากไม่หยุดยั้งการเสื่อมของหน่วยกรองไต ไม่ฟื้นฟูค่าอีจีเอฟอาร์ให้เพิ่มมากขึ้น อาจารย์หมอคงหนีไม่พ้นการฟอกไตอย่างแน่นอน ด้วยความที่ญาติได้ผลดีจากการรักษาโรคไตที่คลินิก จึงพามากินยาจีนฟื้นฟูไตและบำรุงหัวใจให้แข็งแรง


          

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ