Lifestyle

"สงขลา"หลากสีสันผ่านกาลเวลา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

อาคารสถาปัตยกรรมของสงขลารวมวัฒนธรรมในตึกเดียวกัน

        หากสามารถย้อนเวลากลับไปในอดีตเมื่อ 300 ปีได้ เราจะเห็นได้ว่า “สงขลา” เมืองอันเงียบสงบในวันนี้ คือเมืองต้นๆ แห่งหนึ่งของสยามประเทศซึ่งมีความครึกครื้นไปด้วยการค้าการขาย ด้วยว่าเป็นเมืองที่อยู่ชายฝั่งทะเล ทำให้สะดวกสบายต่อการคมนาคมและการขนส่งซึ่งเป็นปัจจัยหลัก

"สงขลา"หลากสีสันผ่านกาลเวลา

        แต่ถึงแม้เราจะย้อนกลับไปในวันคืนเก่าๆ ไม่ได้ ทว่าภายใน “ย่านเมืองเก่า” ยังคงมีหลักฐานหลงเหลือให้ลูกหลานภาคภูมิใจ และนักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ อย่าง “ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา” เป็นตัวแทนบอกเล่าถึงความเจริญรุ่ง รวมถึงสถาปัตยกรรมต่างๆ บนถนนชื่อดัง 3 สาย ได้แก่ ถนนนครนอก ถนนนครใน และ ถนนนางงาม

"สงขลา"หลากสีสันผ่านกาลเวลา

บรรยากาศชิลในย่านเมืองเก่า

"สงขลา"หลากสีสันผ่านกาลเวลา

หนึ่งในจุดเช็กอินที่นักท่องเที่ยวไม่ยอมพลาด

"สงขลา"หลากสีสันผ่านกาลเวลา

สีสันเมืองเก่าสงขลา

"สงขลา"หลากสีสันผ่านกาลเวลา

ศูนย์การเรียนรู้ย่านเมืองเก่าคิด บวก ดี

        ใครมาย่านเมืองเก่าสงขลาแล้วรู้สึกงงไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นที่จุดไหนดี แนะนำให้แวะเข้าไปที่ "ศูนย์การเรียนรู้ย่านเมืองเก่าคิด บวก ดี" (Kid+Dee@Historic Center) ซึ่งเป็นความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคสถาบันการศึกษา อาทิ เทศบาลนครสงขลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เพื่อฟื้นฟูบริเวณถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนนางงาม ซึ่งเป็นถนนสายหลักของย่านเมืองเก่าสงขลา ผ่านการบูรณะอาคารโบราณ และการจัดทำป้ายสื่อความหมายให้แก่ร้านดั้งเดิมบนถนนนางงาม เพื่อช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดสงขลา รวมถึงการจัดกิจกรรมเพื่อให้คนท้องถิ่นเห็นคุณค่าและความสำคัญของมรดกศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น พลิกฟื้นย่านเมืองเก่าให้กลายเป็นจุดแวะที่ห้ามพลาดเมื่อมาเยือนเมืองสงขลา

"สงขลา"หลากสีสันผ่านกาลเวลา

        คมสัน โอ๊ยนาสวน ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายกิจการสัมพันธ์ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า เชฟรอนสนับสนุนโครงการที่เกิดประโยชน์และสร้างความเข้มแข็งให้ท้องถิ่น โดยร่วมฟื้นฟูบริเวณถนนสำคัญของย่านนี้ ผ่านการบูรณะอาคารโบราณ โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร รวมถึงจัดทำป้ายสื่อความหมายที่ชำรุดให้เหมาะสมกับร้านดั้งเดิมบนถนนนางงาม เพิ่มข้อมูลภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาพเจ้าของร้านและผลิตภัณฑ์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว ทั้งสร้างความภาคภูมิใจให้แก่เจ้าของร้านค้าในชุมชนที่มีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่มีคุณค่า รวมทั้งได้ร่วมปลุกอาคารเก่าให้มีชีวิตชีวา สร้างศูนย์การเรียนรู้ย่านเมืองเก่า คิด บวก ดี ระยะเวลาตั้งแต่ปี 2561-2565 จะช่วยผลักดันย่านเมืองเก่าสงขลาสู่การเป็นมรดกโลก

"สงขลา"หลากสีสันผ่านกาลเวลา

ร้านค้าดั้งเดิมแรกตั้งเมืองมีให้เห็นในปัจจุบัน

"สงขลา"หลากสีสันผ่านกาลเวลา

 ดร.จเร สุวรรณชาต

         ดร.จเร สุวรรณชาต รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ศรีวิชัย กล่าวว่า ในการฟื้นฟูและพัฒนาย่านเมืองเก่าสงขลา ทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังชุมชนเจ้าของพื้นที่ หลังจากฟื้นฟูดูแลสถาปัตยกรรม นำสตรีทอาร์ตมาแทรกและทำป้ายสื่อความหมายคุณค่าเมือง รวมถึงจัดถนนศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์เมืองเก่าสงขลา ภายใต้ชื่อ “หลาดแสงดาว” เน้นกิจกรรมสร้างสรรค์งานศิลปะที่คนท้องถิ่นเข้าถึงได้ง่าย เปิดพื้นที่สำหรับเด็ก ทำให้วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์มีชีวิต คนเข้ามาสัมผัสได้ จากเมืองเก่าที่ซบเซาเงียบเหงา กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวมีคนมาเยือน มีร้านกาแฟ ร้านอาหารดีๆ ตามมา โดยที่ร้านดั้งเดิมยังอยู่ สามารถปักหมุดเมืองเก่าสงขลาบนแผนที่ได้สำเร็จ ที่น่าภูมิใจ มีคนรุ่นใหม่จัดกิจกรรมศิลปะร่วมสมัยเพิ่มสีสันให้เมือง มาตั้งโฮสเทลมีดีไซน์ในย่านเก่า เรามีแผนจะทำโครงการ “เมืองแสงดาว” เดือนตุลาคมนี้ ยังคงเน้นกิจกรรมวัฒนธรรม สินค้าทางวัฒนธรรม และนิทรรศการสงขลาสู่การเป็นมรดกโลกสื่อสารกับคนในชุมชนด้วย

"สงขลา"หลากสีสันผ่านกาลเวลา

ศิลปะบนกำแพงมีให้เห็นทั่วไปในเขตเมืองเก่า

"สงขลา"หลากสีสันผ่านกาลเวลา

 ชนินทร์ สาครินทร์

         ชนินทร์ สาครินทร์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสงขลา และ รองนายกภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม บอกว่า สงขลามีชาวจีน ไทยและมุสลิมอยู่ร่วมกัน ทุกวัฒนธรรมได้รับการยกย่องเท่าเทียมกันและมีความสามัคคีในเมือง มีประจักษ์พยานเหลืออยู่จำนวนมาก ที่นี่คือ “สีสันผ่านกาลเวลา” เหมือนได้ย้อนชีวิตกลับไปเมื่อ 50 ปีก่อน สงขลาเทียบเคียงกับมรดกโลกฮอยอัน ปีนัง มะละกา ในฐานะเมืองท่า มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม อาคารสถาปัตยกรรมของสงขลารวมวัฒนธรรมในตึกเดียวกัน ซึ่งหาได้ยาก

"สงขลา"หลากสีสันผ่านกาลเวลา

         นอกจากนี้ “สงขลา” ก็ไม่ได้มีแค่ “ย่านเมืองเก่า” แต่ยังมี “หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา สงขลา” ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลเขารูปช้าง ให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไปรวมถึงนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจในเรื่องดาราศาสตร์ได้เข้าชมและศึกษา

"สงขลา"หลากสีสันผ่านกาลเวลา

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบฯ

"สงขลา"หลากสีสันผ่านกาลเวลา

เรียนรู้เรื่องกลุ่มดาวผ่านราศีต่างๆ

         ซึ่งบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ให้การสนับสนุนในกิจกรรมต่างๆ ในรูปแบบของ นิทรรศการดาราศาสตร์ภายในอาคาร เน้นการสร้างฐานการเรียนรู้เรื่องดาราศาสตร์ จำนวน 14 โซน, นิทรรศการดาราศาสตร์ภายนอกอาคาร เน้นนิทรรศการที่สามารถรองรับผู้เข้าชมจำนวนมากและสามารถเข้าถึงข้อมูลในพร้อมกัน, กิจกรรมดาราศาสตร์ เน้นการจัดคาราวานเผยแพร่ความรู้ทางดาราศาสตร์ให้กับโรงเรียนและสถานที่ที่สำคัญๆ ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ คือ สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และชุมพร เพื่อกระจายโอกาสการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ให้เกิดความตระหนักและตื่นตัวทางดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น

"สงขลา"หลากสีสันผ่านกาลเวลา

นิทรรศการดาราศาสตร์ภายในอาคาร

"สงขลา"หลากสีสันผ่านกาลเวลา

กิจกรรมดูดาวกำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก

        และ “กิจกรรมค่ายเยาวชนคนดูดาวเท้าติดทะเล” เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ดาราศาสตร์ให้แก่เยาวชนอายุตั้งแต่ 15-19 ปี จากทั่วประเทศ ได้เรียนรู้เรื่องการดูดาว การสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า และฝึกติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ด้วยตัวเอง อันเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้เรื่องดาราศาสตร์ให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่บริเวณโดยรอบของหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา สงขลา ยังมีวิวทิวทัศน์โดยรอบที่สวยงาม มองเห็นทั้งทะเลสาบสงขลาและอ่าวไทย ทำให้หอดูดาวแห่งนี้มีความสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของชาวสงขลาและคนไทยทุกคน

"สงขลา"หลากสีสันผ่านกาลเวลา

วิวเมืองสงขลาเมื่อมองจากหอดูดาวฯ

เรือง....กอบแก้ว แผนสท้าน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ