Lifestyle

จับกระแส "สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง" : อนาคตเกษตรกร

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คอลัมน์ "อินโนสเปซ" โดย "บัซซี่บล็อก" หนังสือพิมพิมพ์คมชัดลึก

 

"เกษตรอัจฉริยะ” หรือสมาร์ท ฟาร์มมิ่ง (Smart Farming) เป็นคำที่คุ้นหูสำหรับเกษตรกรไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งต้องขอยกเครดิตให้กับภาคราชการหลายส่วน ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี)

 

ซึ่งขับเคลื่อนผ่านหน่วยงานในสังกัด เดินหน้าทุ่มเท ผลักดัน สร้างความเข้าใจและสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีด้านการเกษตรมากขึ้น เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิผลทางการผลิต และปริมาณผลผลิตต่อไร่ให้ได้สูงสุด และในทางอ้อมยังเป็นการปฏิวัติวงการเกษตรของไทยสู่รูปแบบ “เกษตรรักษ์โลก”

 

 

จับกระแส "สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง" : อนาคตเกษตรกร

 

 

เป็นที่คาดการณ์ว่า สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง จะมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ภาคเกษตร สามารถผลิตอาหารป้อนประชากรโลกได้พอเพียงกับความต้องการของปริมาณชาวโลกที่เพิ่มจำนวนขึ้นในแต่ละปี

 

โดยมีตัวเลขประมาณการณ์ว่า ในช่วงปี 2010-2050 ผลผลิตทางการเกษตรจะเพิ่มสูงขึ้นในอัตรา 69% เพื่อให้พอเพียงกับการเลี้ยงดูจำนวนประชากรไม่ต่ำกว่า 9 พันล้านคนทั่วโลก ขณะที่ การนำเทคโนโลยีด้านการเกษตร (Agri-Tech) เข้ามาใช้ในการทำกษตรอัจฉริยะ จะช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตรกรได้ 10-30%

 

 

เกษตรยุคใหม่ต้อง “แม่นยำ”

 

ต้องยอมรับว่า ปัญหาสากลที่คุกคามและเป็นความท้าทายสำหรับเกษตรกรทั่วทุกมุมโลก ก็คือ ความไม่แน่นอนของสภาพดินฟ้าอากาศ คุณภาพและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่เพาะปลูก การโจมตีจากแมลงศัตรูพืช และความผันผวนด้านราคาผลผลิต

 

ซึ่งทุกข้อเหล่านี้เป็นปัญหาที่ ‘เอาชนะ’ ได้ด้วยเทคโนโลยีการพยากรณ์ ที่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลบิ๊กดาต้า และการมีเครื่องมือรวบรวมฐานข้อมูลมหาศาลเหล่านั้น มาวิเคราะห์ คาดการณ์ และช่วยวางแผนการผลิต(ทางการเกษตร) เปิดมิติใหม่สู่การเกษตรแม่นยำ

 

 

จับกระแส "สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง" : อนาคตเกษตรกร

 

 

ข้อมูลที่จัดทำโดย Reports And Data ประเมินไว้ว่า ตลาดเกษตรแม่นยำ (Precision Farming) จะเติบโตในอัตรา 12.7% ต่อปี จาก 5.3 พันล้านดอลลาร​สหรัฐเมื่อปีผ่านมา เป็น 14.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2026

 

โดยปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญมาจากการนำ ‘ไอโอที’ เข้ามาใช้งานในภาคเกษตรมากขึ้น เกษตรกรใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ที่มีความสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เช่น เซ็นเซอร์ระบบนำทางด้วยดาวเทียมและระบุพิกัด (GPS & GNSS systems) และ automated steering systems เป็นต้น เพื่อเก็บรวบรวมตัวอย่างดินในพื้นที่เพาะปลูก ตรวจสอบอุณหภูมิ การจัดทำแผนที่สนาม การบริหารจัดการน้ำ เป็นต้น

 

 

จับกระแส "สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง" : อนาคตเกษตรกร

 

 

เทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในการใช้บริหารจัดการตามแนวทางเกษตรอัจฉริยะ ก็คือ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง หรือไอโอที (IoT) และโดรน (Drone) จากแนวโน้มราคาต้นทุนอุปกรณ์ที่ลดลงตามจำนวนความนิยมใช้งาน ขณะที่ ในส่วนของโดรน ก็เริ่มมีการให้บริการผ่าน Service Provider ซึ่งคิดค่าบริการต่อไร่ ทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น จากอดีตที่ต้อง ‘ติดกับดัก’ อยู่กับข้อจำกัดด้านเงินทุน อีกทั้งลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร

 

 

 

“ไอโอที” ด้านการเกษตรโตฝ่าศก.โลก

 

ในส่วนของเทคโนโลยีด้านไอโอที ได้มีการเผยแพร่รายงาน “IoT in Smart Farming Market in Global Industry: Market Development, Analysis and Overview 2019 “ ผ่านเว็บไซต์ Qurateresearch ศึกษาโอกาสตลาดในอนาคตของเทคโนโลยีด้านไอโอที ในภาคเกษตรอัจฉริยะไว้ว่า ตลาดนี้จะยังรักษาระดับการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน

 

ทั้งนี้ช่วงระหว่างปี 2014-2017 ตลาดไอโอทีสำหรับเกษตรอัจฉริยะ เติบโตเฉลี่ย 20-39% ต่อปี จาก 980 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 1,710 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ นักวิเคราะห์เชื่อว่าในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ตลาดนี้ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง และจะแตะหลัก 3,620 ล้านดอลลาร​สหรัฐ ในปี 2020

 

 

จับกระแส "สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง" : อนาคตเกษตรกร

 

 

ขณะที่ คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) คาดการณ์ไว้ว่าแนวคิดเรื่อง อินเทอร์เน็ตในอาหารและการเกษตร 2020 (IoF2020 )

 

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรมของสหภาพยุโรปเพื่อความเป็นผู้นำทางอุตสาหกรรม “Horizon 2020 Industrial Leadership” คือ โอกาสของเทคโนโลยีด้านไอโอที สำหรับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของยุโรป

 

 

.ฉะเชิงเทรา ใช้บริการโดรนช่วยทำนา 3 พันไร่

 

ปัจจุบัน เกษตรกรในบ้านเราจำนวนมาก เริ่มสนใจนำเทคโนโลยีเกษตรอัจริยะเข้ามาใช้ในพื้นที่ทำเกษตรมากขึ้น จากแรงกดดันทั้งปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร ปัญหาผลผลิต/ราคาตกต่ำ และความต้องการลดการสารเคมีในภาคเกษตร เป็นต้น

 

ล่าสุด นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ได้นำทีมผู้บริหารในสังกัด ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมความสำเร็จการใช้ประโยชน์จุดติดตั้งเน็ตประชารัฐ บ้านวังสะแก จ.ฉะเชิงเทรา

 

ซึ่งประชาชนทั้งที่หมู่บ้านนี้ และพื้นที่ใกล้เคียง ได้ต่อยอดการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) และไวไฟความเร็วสูงของเน็ตประชารัฐ ไปสู่การทำเกษตรอัจฉริยะ (สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง)

 

 

จับกระแส "สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง" : อนาคตเกษตรกร

 

 

ทั้งนี้ ในพื้นที่ได้มีการสาธิตเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) สำหรับฉีดพ่นสารเหลวในพื้นที่เกษตร ซึ่งกำลังเป็นเครื่องมือใหม่ ที่ช่วยให้กษตรกรปลูกข้าวใน จ.ฉะเชิงเทรา เข้าถึงการใช้ดิจิทัลลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต่อแปลง

 

นายธีรพงษ์ กาญจนกันติกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทวดา คอร์ป สตาร์ทอัพสายยูเอวี (UAV) หรือ อากาศยานไร้คนขับผู้ให้บริการโดรนด้านการเกษตร และชีวภัณฑ์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ (เซอร์วิส โพรไวเดอร์) โดรนสำหรับการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกข้าวภายใน จ.ฉะเชิงทรา ประมาณ 100 ราย เริ่มเข้ามาใช้บริการโดรนเพื่อช่วยพ่นยาในแปลงข้าว โดยมีพื้นที่แปลงข้าวรวมกันไม่ต่ำกว่า 3,000 ไร่ คิดค่าบริการอยู่ที่ 80-100 บาทต่อไร่

 

 

จับกระแส "สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง" : อนาคตเกษตรกร

 

 

ทั้งนี้ การให้บริการจะครอบคลุมทั้ง การใช้โดรนในการฉีดพ่น สำรวจแปลงข้าว วัดปริมาณปุ๋ยในแปลง เพื่อจะให้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้องตามความต้องการของพืช จากเดิมเกษตรกร ไม่มีเครื่องมือวัด มักซื้อปุ๋ยตามร้าน

 

เราเข้ามาปรับเปลี่ยนกระบวนการ ด้วยการวัดความต้องการก่อนให้ปุ๋ย ซึ่งสูตรของสารชีวภัณฑ์จะถูกปรับเปลี่ยนไปตามสภาพที่ดินว่า ขาดสารอะไร เพื่อเกิดความเหมาะสม ดังนั้น ประโยชน์สำหรับเกษตรกร ก็คือ การลดต้นทุนการผลิตต่อไร่

 

 

จับกระแส "สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง" : อนาคตเกษตรกร

 

 

และในทางกลับกันก็เพิ่มผลผลิตต่อไร่ อีกทั้งประเด็นสำคัญที่สุด คือ การลดความเสี่ยงของแรงงานหรือเกษตรกรจากการที่ต้องสัมผัสกับสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นในพื้นที่เกษตร

 

“จากประสบการณ์ที่เคยทำในพื้นที่แปลงนาข้าวอินทรีย์ใน ต.ท่าไข่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงทรา จากเดิมมีผลผลิต 200 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มเป็น 600 กิโลกรัมต่อไร่ ที่จังหวัดนี้เราให้บริการมาได้ 1 ปีแล้ว

 

นอกจากนี้ ยังมีเกษตรกรในจังหวัดอื่นๆ สมัครใช้บริการของเรา เช่น ปทุมธานี อยุธยา อุบลราชธานี เป็นต้น อีกทั้งขยายการให้บริการโดรนกับแปลงพืชผักสวนครัวด้วย ช่วยเพิ่มผลผลิตได้”

 

 

จับกระแส "สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง" : อนาคตเกษตรกร

 

 

นอกจากนี้ ในพื้นที่ฉะเชิงทรา ยังได้เริ่มปรับเปลี่ยนการให้สารเคมีของเกษตรกรด้วย โดยเปลี่ยนเป็นใช้สารชีวภัณฑ์ที่ไม่อันตราย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเกษตรกร ซึ่งตอนนี้ มากกว่า 50% ได้ปรับเปลี่ยนตามคำแนะนำ และได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากเกษตรกรว่า ได้ผลดีกว่าสารเคมีแบบเก่า

 

 

ไทยต้องไปให้ถึง “เกษตรอัจฉริยะ”

 

กรรมการผู้จัดการของ เทวดา คอร์ป พูดถึงบทบาทความสำคัญและประโยชน์ของเทคโนโลยี ที่จะช่วยเกษตรกรไทย และโอกาสในการก้าวไปสู่การทำเกษตรอัจฉริยะว่า

 

ปัจจุบัน สภาพอากาศทั้งโลกเริ่มมีแนวโน้มแย่ลง อากาศร้อนมากขึ้น การทำเกษตรจะได้รับผลผกระทบมาก ทั่วโลกในตอนนี้เริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีในการทำการเกษตรมากขึ้นเรื่อยๆ และประเทศไทย ซึ่งเป็น 1 ในสถานที่ ที่เหมาะสมกับการเกษตรมากที่สุดในโลก หรือ สุวรรณภูมิ ซึ่งเราทำการเกษตรเป็นเศรษฐกิจหลักของประเทศ

 

 

 

จับกระแส "สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง" : อนาคตเกษตรกร

 

จากแนวโน้มดังกล่าว การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาช่วยแก้ปัญหาด้านแรงงาน ช่วยลดต้นทุน ช่วยเพิ่มผลผลิต ยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์การเกษตร นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน จากที่ได้ทำงานร่วมกับเกษตรกรมาในหลากหลายพืช เช่น ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย พืชผักสวนครัวต่างๆ ประสบกับปัญหาเหมือนๆ กัน

 

คือ ขาดแคลนแรงงาน แรงงานมีความแม่นยำต่ำ การสูญเสียสูง ใช้สารเคมีสิ้นเปลือง/ไม่เต็มประสิทธิภาพ/ไม่ถูกต้อง ทำให้สินค้าเกษตรไม่มีคุณภาพ ทั้งที่ตลาดในประเทศและในต่างประเทศมีความต้องการสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามอัตราการเจริญเติบโตของประชากรโลก นวัตกรรมการเกษตร ระบบ Smart Farming จะช่วยให้เกษตรกรเอาชนะปัญหาและความท้าทายเหล่านี้ได้”

 

อีกข้อเสนอแนะสำคัญ คือ ประเทศไทย ต้องรีบเร่งในการสร้างความรู้ความเข้าใน และพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ให้เห็นถึง นวัตกรรมการเกษตร ซึ่งจะช่วยให้ครอบครัวหรือชุมชนของเกษตรกรเดิม ได้มีรายได้มากขึ้น เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง สังคมเข้มแข็ง นำไปสู่ความยั่งยืนของประเทศชาติอย่างแท้จริง

 

******************************

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ