Lifestyle

แบ่งปัน แบ่งเบา เพื่อเราทุกคน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"แต้มต่อชีวิต" ชวนร่วมสมทบทุน 11 โรงพยาบาลรัฐ ช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาส และซื้อเครื่องมือแพทย์

       ยังมีผู้คนจำนวนมากที่เข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาลอย่างที่ควรจะเป็น หรือแม้จะมีโอกาสหากว่าตามสถานพยาบาลต่างๆ ก็ยังขาดแคลนเครื่องไม้เครื่องมืออันมีประสิทธิภาพในการรักษา เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระดังกล่าว กรุงศรี คอนซูเมอร์ นำโดย “นก” ณญาณี เผือกขำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด จับมือกับโรงพยาบาลรัฐชั้นนำจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ สร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “แต้มต่อชีวิต” ชวนร่วมสมทบทุนบริจาคให้กับ 11 โรงพยาบาลรัฐที่ร่วมโครงการ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาสและซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ พร้อมนำเสนอทางเลือกในการแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลให้กับผู้ป่วย ที่ห้องประชุมชิลแลกซ์ ชั้น 22 อาคารกรุงศรี เพลินจิต ออฟฟิศ กรุงเทพฯ เมื่อวันก่อน 

    แบ่งปัน แบ่งเบา เพื่อเราทุกคน

อธิศ รุจิรวัฒน์-ณญาณี เผือกขำ- สมหวัง โตรักตระกูล-นิค สมาร์ท

    นายหญิงแห่งอยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส “นก” ณญาณี กล่าวถึงที่มาของโครงการแต้มต่อชีวิตว่า คนจำนวนไม่น้อยต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงินจากภาระที่ไม่คาดฝัน เช่น อุบัติเหตุ หรือโรคภัย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง กรุงศรี คอนซูมเมอร์ จึงได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลรัฐชั้นนำของไทย ริเริ่มโครงการ “แต้มต่อชีวิต” ขึ้นเพื่อมอบแต้มต่อทางการเงินที่จะช่วยแบ่งเบาภาระจากค่ารักษาพยาบาล และเปิดโอกาสให้ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงบริการทางการแพทย์อย่างทั่วถึงยิ่งขึ้น

    "เราสานต่อจากโครงการแรกที่ทำร่วมกับ รพ.ศิริราช เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว ทุกวันนี้มีคนถือบัตรเครดิตของกรุงศรี 9 ล้านใบ มีการใช้จ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลไม่น้อย ทำอย่างไรให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี ครั้งนี้เราจึงได้ร่วมมือกับบริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (ไทย) จำกัด ริเริ่มโครงการแต้มต่อชีวิต เฟสที่ 2 โดยขยายขอบเขตความร่วมมือในลักษณะเดียวกันกับโรงพยาบาลรัฐชั้นนำอีก 10 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, โรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่, โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก, สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, โรงพยาบาลศรีธัญญา, โรงพยาบาลสงขลานครินทร์, โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช, โรงพยาบาลศรีนครินทร์, โรงพยาบาลขอนแก่น และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพาห้สามารถใช้สิทธิผ่อนชำระค่ารักษาพยาบาล 0 เปอร์เซ็นต์ นาน 3 เดือน สำหรับยอดใช้จ่ายผ่านบัตรในเครือกรุงศรีฯ 3,000 บาทขึ้นไปตามเงื่อนไขโรงพยาบาลดังกล่าว และร่วมบริจาคสมทบทุนให้กับทั้ง 10 โรงพยาบาลรัฐ ด้วยการบริจาคแต้มสะสมบัตรเครดิต หรือบริจาคเงินผ่านบัตรเครดิตในเครือฯ ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 พฤศจิกายน 2562 โดยกรุงศรีฯ จะสมทบทุนเพิ่มให้อีก 10 บาท สำหรับทุกๆ 1,000 คะแนนที่สมาชิกบัตรบริจาค เป็น 1,000 คะแนน เท่ากับเงินบริจาค 110 บาท  เพื่อช่วยจุดประกายให้คนในสังคมหันมาร่วมแบ่งปันและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วยที่ด้อยโอกาส” ณญาณี เผย

  แบ่งปัน แบ่งเบา เพื่อเราทุกคน

แบ่งปัน แบ่งเบา เพื่อเราทุกคน

ผศ.(พิเศษ)นพ.สุรินทร์ อัศววิทูรย์ทิพย์ 

    ภายในงานได้เชิญตัวแทนจากโรงพยาบาลรัฐที่ร่วมโครงการมาพูดคุยถึงความต้องการในด้านต่างๆ  โดย ผศ.(พิเศษ)นพ.สุรินทร์ อัศววิทูรย์ทิพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ ด้านภาพลักษณ์องค์กร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า เราเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ขนาด 1,300 เตียง มีผู้ป่วยนอกละวันประมาณ 6,000 คน เกือบทุกเตียงเป็นผู้ป่วยหนัก ค่าใช้จ่ายในการรักษาจึงค่อนข้างสูง บางรายรักษาเป็นเดือน มีการใช้ยาพิเศษนอกเหนือจากบัญชียา การสามารถผ่อนชำระได้จึงเป็นผลดีต่อคนไข้ รวมถึงการนำแต้มบริจาคให้โรงพยาบาลอีกด้วย ตอนนี่้เรากำลังสร้างอาคารหลายอาคาร และยังขาดเครื่องมือทางการแพทย์อีกจำนวนมาก

แบ่งปัน แบ่งเบา เพื่อเราทุกคน

รศ.นพ.เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์

   ด้าน รศ.นพ.เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ กล่าวว่า รพ.สงขลาฯ เป็นโรงพยาบาลตติยภูมิ รักษาคนไข้ใน 14 จังหวัดภาคใต้ โดยรับผู้ป่วยวันละ 4,000 คน มีผู้ป่วยในราว 50,000 คนต่อปี ขณะนี้มีโครงการ “ศูนย์ผ่าตัดหัวใจ 99 ปีรัฐบุรุษ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์” งบประมาณ 200 ล้านบาท เพื่อต่อชีวิตให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ เดิมมีห้องผ่าตัดหัวใจ 30 ห้องช่วยคนไข้ได้ 300 คนต่อปี จะขยายเป็น 40 ห้องเพื่อให้ช่วยคนไข้ได้ 1,000 คนต่อปี และตั้งเป้าจะเป็นห้องผ่าตัดหัวใจที่ดีที่สุดในภาคใต้

แบ่งปัน แบ่งเบา เพื่อเราทุกคน

   ขณะที่ รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ (โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น) บอกว่า ประชากรภาคอีสานมี 20 ล้านคนแต่มีเตียงผู้ป่วยเทียบกับประชากรน้อยที่สุดคือ 600 คนต่อ 1 เตียง ประเทศที่พัฒนาแล้วควรเป็น 200 คนต่อ 1 เตียง จึงมีเป้าเพิ่มอีก 500 เตียงรวมเป็น 3,000 เตียงภายในปี 2567 มีความหวังว่าโครงการแต้มต่อชีวิตจะมาเติมฝันให้คนอีสาน อยากให้ภาคเอกชนช่วยกันคิดโครงการเพื่อสังคมเรื่อยๆ ส่วนภาคประชาชนก็อยากให้ดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีจะได้ไม่เจ็บป่วย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ