Lifestyle

คาแรกเตอร์มีดีกว่าที่คิดในสังคมดิจิทัล

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แชร์ความรู้เปิดโลกคาแรคเตอร์มาต่อยอดในสังคมดิจิทัล

          กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายดิจิทัลคอนเทนต์ ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่ายเอสเอ็มอี ปี 2562 โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมหาวิทยาลัยศิลปากร นำคาแรกเตอร์ไทยระดับแถวหน้ามาจัดแสดงผลงานภายใต้แนวคิด “คาแรกเตอร์ ไลเซนซิ่ง คลัสเตอร์" (Character Licensing Cluster) โดยได้รับเกียรติจาก สันติ เลาหบูรณะกิจ ขึ้นเวทีทอล์กในหัวข้อ “โกรวิ่ง บิซิเนส วิธ คาแรกเตอร์ มาร์เก็ตติ้ง" แชร์ความรู้เปิดโลกคาแรคเตอร์มาต่อยอดในสังคมดิจิทัล และ นพ ธรรมวานิช ร่วมในงาน ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อวันก่อน

คาแรกเตอร์มีดีกว่าที่คิดในสังคมดิจิทัล

สันติ เลาหบูรณะกิจ

          สันติ เลาหบูรณะกิจ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิธิตา แอนิเมชั่น จำกัด แชร์ความรู้บนเวทีว่า ทำไมคาแรกเตอร์ถึงมีความสำคัญในโลกปัจจุบัน คือคำถามแรกของกูรูด้านดิจิทัลคอนเทนต์ คำตอบคือ...เพราะทุกวันนี้ มีการลงทุนในการทำธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มคนก็มีพัฒนาการในด้านการสื่อสารที่กว้างขึ้นเช่นกัน ใครที่เคยไปเที่ยวญี่ปุ่นเคยสังเกตไหมว่าทุกเมืองใช้ตัวการ์ตูนเป็นตัวแทนในงานสื่อสารต่างๆ เช่น ที่กั้นถนนเป็นตัวการ์ตูนไดคัท หรือป้ายหน้าบริเวณไซต์งานก่อสร้างที่มีรูปแมวมายกมือขอโทษในความไม่สะดวก รวมถึงสินค้าต่างๆ ที่มีตัวการ์ตูนในด้านธุรกิจด้วย นั่นเพราะญี่ปุ่นมองคาแรกเตอร์เสมือนทูตหรือพนักงานขาย 

คาแรกเตอร์มีดีกว่าที่คิดในสังคมดิจิทัล

ผู้ประกอบการสนใจคาแรคเตอร์ 

          "คาแรกเตอร์ คือ อาวุธหลักในการเชื่อมองค์กรเข้ากับกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายและแนบเนียนที่สุด ทำให้คนที่สนใจกล้าเข้าหาแบรนด์เอง เราต้องทำยังไงให้ธุรกิจเติบโตจากคาแรกเตอร์ตัวการ์ตูน เพราะการแข่งขันในยุคปัจจุบันนี้เราไม่ได้แข่งกันที่ฟังก์ชั่นหรือหน้าที่การใช้งานของสินค้าบริการเท่านั้น แต่เราจะแข่งกันตรงที่แบรนด์ของสินค้าและบริการใดที่ให้ความรู้สึกดีมากที่สุดและนี่คือโอกาสที่เรานำคาแรกเตอร์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพราะสมัยนี้เป็นยุคของ สตอรี่ เทลลิ่ง ไม่ใช่แค่มีคาแรกเตอร์ตัวการ์ตูนน่ารักๆ แล้วคนจะซื้อคุณ แต่ต้องเป็นคาแรกเตอร์ที่มีเรื่องราวน่าสนใจถึงจะทำให้สินค้าหรือบริการดูแตกต่าง มีเสน่ห์และสร้างความรู้สึกที่ดี เช่น โดราเอมอน, ก๊อตจิ, ปังปอนด์ ฯลฯ ที่กลายเป็นดารา หรือตัวแทนองค์กรนั้นๆ ผู้คนจำได้ และอาจจะมีความผูกพันกับคาแรกเตอร์นั้นๆ ด้วย ในวันนี้วิธิตารวมถึงผู้ประกอบการด้านดิจิทัลคอนเทนต์ ก็ได้นำคาแรกเตอร์มาตอบโจทย์ทางด้านการตลาดที่หลากหลายไม่ได้จำกัดเฉพาะองค์กรยักษ์ใหญ่ แต่ธุรกิจเอสเอ็มอี ขนาดกลางหรือเล็กก็สามารถนำคาแรกเตอร์มาสร้างประโยชน์ สังคมทุกวันนี้เป็นดิจิทัลหมดแล้ว ถ้าเรายังใช้สโลแกนหรือใช้ตัวอักษรในการเรียกร้องความสนใจก็อาจจะเสียโอกาส วิธีการนำคาแรกเตอร์มาใช้จะเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งในการต่อยอดได้ เห็นได้จากการสื่อสารในโลกโซเชียลทุกอย่างจะใช้แทนค่าด้วยตัวการ์ตูนที่มีเรื่องราว” สันติ กล่าว

คาแรกเตอร์มีดีกว่าที่คิดในสังคมดิจิทัล

คาแรกเตอร์ BLOODY BUNNY

คาแรกเตอร์มีดีกว่าที่คิดในสังคมดิจิทัล

นพ ธรรมวานิช

          ด้าน นพ ธรรมวานิช ซีอีโอ บริษัท โตโมแกรม สตูดิโอ จำกัด เจ้าของลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์ NUT SO MOND’STER และ WOOFYBOO กล่าวเสริมว่า จริงๆ คาแรกเตอร์ไทยดังมากในตลาดต่างประเทศ แต่กลับกลายว่าคนไทยอาจจะยังไม่ค่อยรู้จักหรือการนำมาใช้ในด้านการตลาด แต่ในต่างประเทศ เช่น กระต่ายโหด BLOODY BUNNY ก็เป็นหนึ่งในคาแรกเตอร์ที่ถูกออกแบบดีไซน์โดยฝีมือคนไทย และได้รับความนิยมไปไกลสู่ระดับสากล ส่วนไต้หวันก็นำคาแรกเตอร์ WARBIE YAMA ไปเป็นลายในบัตร 7&11 กิจกรรมครั้งนี้จึงถือเป็นโอกาสที่ทางผู้ประกอบการเครือข่ายดิจิทัลคอนเทนต์ได้รวมตัวกันจัดแสดงผลงานขึ้น ให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจ หรือนักธุรกิจได้มาทำความรู้จักกับเหล่าคาแรกเตอร์มากขึ้นครับโดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี กว่าจะสร้างแบรนด์ให้คนรู้จักอาจจะใช้เวลานานและเหนื่อย แต่ถ้ามาพูดคุยปรึกษากับคนทำคาแรกเตอร์ก็จะเป็นทางลัดหนึ่งได้ ซึ่งมีทั้งรูปแบบให้ออกแบบคาแรกเตอร์ สร้างขึ้นใหม่ให้เป็นลิขสิทธิ์ของแบรนด์ตัวเองที่ตอบโจทย์ของแบรนด์ เป็นผู้แทนของสินค้าเพื่อสร้างการจดจำและเข้าถึงได้ง่าย หรือการซื้อนำคาแรกเตอร์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอยู่แล้วมาเพิ่มมูลค่า สร้างอิมแพคให้สินค้า บริการ เหมือนมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้เฉพาะกิจ

คาแรกเตอร์มีดีกว่าที่คิดในสังคมดิจิทัล

คาแรกเตอร์มีดีกว่าที่คิดในสังคมดิจิทัล

          ผู้สนใจสามารถติดตามอัพเดตกิจกรรมดีๆ เพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊ก DC Cluster

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ