Lifestyle

"บำรุงราษฎร์"ย้ำความเป็นผู้นำชูแผนกผู้ป่วยหนักระดับสากล

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

บำรุงราษฎร์ ย้ำความเป็นผู้นำชูแผนกผู้ป่วยหนัก (Intensive Care Units หรือ ICU) ให้บริบาลทางการแพทย์มาตรฐานระดับสากล

เผยกุญแจสำคัญในแผนกผู้ป่วย ICU บุคลากรชำนาญการ-เทคโนโลยีทันสมัย-การทำงานเป็นทีมแบบสหสาขาวิชาชีพ ช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยได้  

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านบริบาลทางการแพทย์มาตรฐานระดับสากล ชูแผนก ICU ให้บริการครอบคลุมแบบ One Stop Service ปัจจุบันรองรับผู้ป่วยหนักได้ 63 เตียง ดูแลรักษาผู้ป่วยหนักเฉลี่ย 12,000-14,000 รายต่อปี รับผู้ป่วยใหม่วันละ 5-10 ราย เป็นคนไทย 52 % และต่างชาติ 48% ในจำนวนนี้บินตรงจากต่างประเทศมาเพื่อเข้ารับการรักษาถึง 32 % โดยมีความพร้อมทั้งบุคลากรที่มีความชำนาญและประสบการณ์สูง เทคโนโลยีที่ทันสมัย และการทำงานเป็นทีม เพราะการดูแลรักษาผู้ป่วยนั้นเวลาทุกวินาทีมีค่า ทีมแพทย์และสหสาขาวิชาชีพพร้อมดูแลผู้ป่วยทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรับมือกับสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยยึดความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

"บำรุงราษฎร์"ย้ำความเป็นผู้นำชูแผนกผู้ป่วยหนักระดับสากล

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เผยกุญแจสำคัญในแผนกผู้ป่วย ICU หลักๆ ประกอบด้วยบุคลากรชำนาญการ เทคโนโลยีที่ทันสมัย และการทำงานเป็นทีมแบบสหสาขาวิชาชีพ มีโอกาสช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยได้ ภญ.อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ตลอด 40 ปีโรงพยาบาลตระหนักและคำนึงถึง “ความปลอดภัยของผู้ป่วย” เป็นอันดับแรก ซึ่งหัวใจของประสิทธิภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย มาจากการบริหารจัดการแบบไร้รอยต่อระหว่างบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะทาง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และระบบการบริบาลที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ซึ่งจะช่วยเสริมให้เกิดประสิทธิผลในการดำเนินงานปลอดภัย และสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาและเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วยหนักนับเป็นความโดดเด่นของบำรุงราษฎร์ที่พัฒนามาโดยตลอด
 
ปัจจุบันบำรุงราษฎร์มีผู้ป่วยหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 12,000- 14,000 รายต่อปี และรับผู้ป่วยใหม่วันละ 5-10 ราย รพ.จึงมีแผนที่จะขยายพื้นที่และจำนวนเตียงผู้ป่วยหนักในแผนกไอซียูเพิ่มขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งเฟสแรกจะเปิดเพิ่ม 12 เตียง และเฟสถัดไปอีก 12 เตียง จากปัจจุบันมีอยู่ที่ 63 เตียง เพื่อรองรับการดูแลผู้ป่วยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

"บำรุงราษฎร์"ย้ำความเป็นผู้นำชูแผนกผู้ป่วยหนักระดับสากล

น.ส.สุกัญญาดา รัตนกุลชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์แผนกผู้ป่วยหนักและแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า แผนกไอซียูสามารถรองรับผู้ป่วยหนักได้ถึง 63 เตียง จากจำนวนเตียงทั้งหมดในโรงพยาบาล 580 เตียงคิดเป็นสัดส่วน 12% ถือว่ามีสัดส่วนสูงกว่าโรงพยาบาลทั่วไปที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 8- 10% ในปี 2561 มีสัดส่วนผู้ป่วยหนักคนไทย 52% และต่างชาติ 48% โดยแบ่งเป็นต่างชาติที่มีภูมิลำเนาในประเทศไทย 16% และต่างชาติที่เดินทางเข้ามารักษา 32% ซึ่งแนวโน้มของผู้ป่วยหนักที่เข้ารับบริการมีสูงขึ้น เกิดจากการที่ทีมมองผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางทำงานประสานงานร่วมมือกันเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย จนเกิดการบอกต่อของผู้ป่วย ญาติมิตรหรือจากการส่งต่อมาจากโรงพยาบาลพันธมิตรที่มีกว่า 50 แห่งทั่วประเทศ และจากโรงพยาบาลในต่างประเทศโดยภาวะที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ 2. โรคหัวใจ และ 3. โรคที่เกี่ยวกับระบบสมอง ซึ่งล้วนเป็นโรคที่ส่งผลต่อการสูญเสียชีวิตมากที่สุด

ปัจจุบันแผนกไอซียู รพ.บํารุงราษฎร์ มีทั้งหมด 5 แผนก ประกอบด้วย แผนกผู้ป่วยหนัก 1 ดูแลรักษาผู้ป่วยหนักทางระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายตับและผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บจากไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผนกผู้ป่วยหนัก 2 ดูแลรักษาผู้ป่วยหนักทางระบบประสาทและสมอง โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก ผู้ป่วยโคม่าและผู้ป่วยหลังผ่าตัดอวัยวะสำคัญต่างๆ แผนกผู้ป่วยหนัก 3 ดูแลรักษาผู้ป่วยหนักเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 เดือนถึง 15 ปีและผู้ป่วยหนักทางสูตินรีเวช แผนกผู้ป่วยหนัก 4 ดูแลรักษาผู้ป่วยหนักที่มีปัญหาทางระบบทางเดินหายใจ และแผนกผู้ป่วยวิกฤตหัวใจดูแลรักษาผู้ป่วยหนักโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน

"บำรุงราษฎร์"ย้ำความเป็นผู้นำชูแผนกผู้ป่วยหนักระดับสากล
 
ด้านนพ.วรกิจ เฉลิมสกุลรัตน์ อายุรแพทย์ด้านเวชบําบัดวิกฤตและโรคปอด หัวหน้าหน่วยเวชบําบัดวิกฤต โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า แผนกไอซียูมีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านผู้ป่วยวิกฤตที่ผ่านหลักสูตรมาตรฐานผู้ป่วยวิกฤตและสำเร็จเป็นผู้ชำนาญการพิเศษเวชบำบัดวิกฤตจาก American Board of Critical Care Medicine สหรัฐอเมริกา จำนวน 6 ท่าน ทำงานร่วมกับแพทย์เฉพาะทางในสาขาต่างๆ และทีมสหสาขาวิชาชีพที่จะต้องประสานความร่วมมือในการดูแลรักษา โดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ทีมพร้อมปฏิบัติงานและดูแลผู้ป่วยทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งผู้ที่เข้ารับการรักษาเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ผู้ป่วยที่มีความเจ็บป่วยขั้นวิกฤตอาจถึงชีวิต เช่น หัวใจวาย การหายใจล้มเหลว ความดันโลหิตตก ไตวาย อวัยวะต่างๆล้มเหลว หรือผู้ป่วยที่คาดการณ์ได้ว่ามีความเสี่ยงที่อาการจะทรุดลงอย่างรวดเร็ว เช่น ผู้ป่วยหลังผ่าตัดใหญ่หรือผู้ที่มีเลือดออกจากทางเดิน

และแบบหน้ากากในกรณีที่ผู้ป่วยสามารถหายใจเองได้บ้าง โดยเครื่องจะดันส่งออกซิเจนเข้าไปสู่ปอดของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องลำบากในการใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งต้องอาศัยพยาบาลที่มีความชำนาญในการที่จะใส่หน้ากากช่วยหายใจ เพื่อให้ออกซิเจนส่งถึงปอดของผู้ป่วยได้ในปริมาณที่กำหนดไม่รั่วไหลออกด้านข้างจากการที่ใส่หน้ากากไม่แนบสนิท นอกจากนี้ มีเครื่องสำหรับให้ไนตริกออกไซด์ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนแล้วแต่ไม่เพียงพอ เช่น ภาวะหายใจล้มเหลวรุนแรง ซึ่งเครื่องนี้จะช่วยให้การทำงานของปอดดีขึ้น รวมถึงเครื่องเอคโม่ หรือเครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด สำหรับใช้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาปอดและหัวใจ เลือดไหลเวียนไม่ดี ความดันต่ำ เพราะบางครั้งการรักษาต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์กว่าที่ปอดหรือหัวใจจะกลับมาทำงาน และเครื่องฟอกไตอย่างต่อเนื่องที่แตกต่างจากเครื่องฟอกไตแบบเดิมที่ใช้เวลา 3-4 ชั่วโมงต่อครั้ง แต่เครื่องฟอกไตที่แผนกไอซียูจะเป็นเครื่องที่ค่อยๆ ทำการฟอกเลือดที่ละน้อยๆ ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้สัญญาณชีพของผู้ป่วยไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก

 

 

ด้าน นพ. เขมชาติ พงศานนท์ กุมารแพทย์เวชบำบัดวิกฤตและโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า สำหรับห้องไอซียูเด็กในแผนกผู้ป่วยหนัก 4 จะมีทั้งหมด 9 ห้อง จะแตกต่างจากห้องไอซียูผู้ใหญ่ แต่ละห้องมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เป็นเทคโนโลยีทันสมัยเพื่อดูแลเด็กโดยเฉพาะ เช่น เครื่องตรวจประเมินการทำงานของหัวใจ ที่จำเป็นเครื่องมือขนาดเล็กและใช้สายแปะเข้ากับร่างกายของเด็ก ทำให้สามารถติดตามการทำงานของหัวใจได้ตลอด เพราะเด็กไม่สามารถใช้เครื่องเอคโม่ หรือการใส่สายสวนหัวใจได้เหมือนผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กจะไม่มีความนิ่ง เครื่องช่วยหายใจความถี่สูงจะใช้กับเด็กโดยเฉพาะเนื่องจากปอดเด็กจะต่างจากปอดผู้ใหญ่ที่ค่อนข้างจะสกปรกกว่าปอดเด็ก รวมถึงเครื่องช่วยหายใจแบบหน้ากากก็จะใช้สำหรับไอซียูเด็ก จะเป็นเครื่องช่วยหายใจแบบที่ไม่ต้องเจาะคอ แต่จะใส่แบบหน้ากากก็จะมีแค่สายออกซิเจนแล้วก็จะใส่สวมเข้าทางจมูก ตัวสายมีความนุ่มไม่ทำให้เด็กรำคาญ ซึ่งตัวเครื่องนี้จะช่วยดันออกซิเจนเข้าไปถึงปอดได้เช่นกัน ส่วนเครื่องอัลตราซาวด์ห้องไอซียูเด็กก็จะเป็นเครื่องสำหรับเด็กโดยเฉพาะเช่นกัน เพราะบางอุปกรณ์ค่อนข้างใหญ่จะใช้กับเด็กไม่ได้ ที่สำคัญภายในห้องไอซียูเด็กจะมีโซนให้ผู้ปกครองสามารถอยู่กับเด็กได้ตลอดเวลา ทำให้ผู้ปกครองไม่ต้องวิตกกังวล ขณะที่เด็กก็จะให้ความร่วมมือในการรักษา เพราะไม่รู้สึกกลัวเพราะมีกำลังใจจากผู้ปกครองอยู่ข้างๆ ซึ่งผู้ป่วยในไอซียูเด็กส่วนใหญ่จะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ อาทิ โรคปอดบวม หรือ RSV ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็ก เป็นต้น

"บำรุงราษฎร์"ย้ำความเป็นผู้นำชูแผนกผู้ป่วยหนักระดับสากล
 
“เทคโนโลยีที่ได้มาตรฐานและนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ทันสมัยในไอซียู จึงมีความสำคัญเป็นพิเศษ แต่กุญแจสำคัญยิ่งกว่า คือบุคลากรที่มีองค์ความรู้เฉพาะทางความชำนาญ รวมถึงประสบการณ์ในการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีได้เต็มประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย โดยให้เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด ด้วยการทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพ มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้ บำรุงราษฎร์มีความพร้อมทั้งบุคลากรที่มีความชำนาญและเทคโนโลยีต่างๆ ในการที่จะดูแลผู้ป่วยให้ผ่านพ้นภาวะเจ็บป่วยวิกฤต” นพ.วรกิจ กล่าว

"บำรุงราษฎร์"ย้ำความเป็นผู้นำชูแผนกผู้ป่วยหนักระดับสากล

"บำรุงราษฎร์"ย้ำความเป็นผู้นำชูแผนกผู้ป่วยหนักระดับสากล

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ