Lifestyle

"มาเรียม" ความสดใสใหม่บนเกาะลิบง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"อ่าวดุหยง" แหล่งอนุบาล "มาเรียม" ที่ทุกคนสามารถชมความน่ารักพะยูนได้ตลอดเวลา

         ความน่ารักของเจ้าพะยูนน้อยเพศเมีย “มาเรียม” วัย 7 เดือน ยังคงอยู่ในกระแสของสังคมโซเชียลอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา หลังจากที่พลัดหลงจากฝูงมาเกยตื้นอยู่ที่ชายทะเลเกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง ด้วยวัยที่ยังเล็กนักของพะยูนน้อย “มาเรียม” ที่แทบไม่สามารถหากินเองได้เองตามธรรมชาติ การผลักให้กลับลงสู่ทะเลจึงไม่สามารถทำได้ ทำให้เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งกลุ่มจิตอาสาพิทักษ์ดุหยง ได้ช่วยกันอนุบาลไว้ที่อ่าวดุหยงเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดต่อไป

"มาเรียม" ความสดใสใหม่บนเกาะลิบง

"มาเรียม" ความสดใสใหม่บนเกาะลิบง

        เนื่องจากรู้ดีว่าตามหลักธรรมชาติลูกพะยูนต้องได้ดื่มนมจากแม่เป็นเวลาถึง 1-2 ปี หรือจนกว่าจะเติบโตแข็งแรงเต็มที่ ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้เลย ภารกิจการหาบ้านใหม่ให้ “มาเรียม” พะยูนน้อยจึงเกิดขึ้น โดยพุ่งเป้าไปที่ “เกาะลิบง” อ.กันตัง จ.ตรัง เนื่องจากเป็นพื้นที่ซึ่งอุดมไปด้วยหญ้าทะเลซึ่งเป็นอาหารหลักของพะยูน และที่สำคัญมากไปกว่านั้นคือ “เกาะลิบง” เป็นแหล่งรวมฝูงของพะยูนตามธรรมชาติมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยมีจำนวนมากถึง 180 ตัวจากทั้งหมดประมาณ 250 ตัวที่มีการสำรวจครั้งล่าสุดเมื่อต้นปี 2562 ตามข้อมูลของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง

"มาเรียม" ความสดใสใหม่บนเกาะลิบง

เจ้าหน้าที่ดูแลใกล้ชิดและต้องป้อนนมทุก 1 ชั่วโมง

         ดังนั้น “เกาะลิบง” จึงเหมาะที่จะเป็นบ้านของพะยูนน้อย “มาเรียม” และดูเหมือนว่าบ้านใหม่หลังนี้ก็เป็นที่ชื่นชอบของ “มาเรียม” เช่นกัน ท่วงท่า ลีลาการหยอกล้อ และว่ายน้ำเล่นคลอเคลียกับ “เจ้าหน้าที่พี่เลี้ยง” ที่อยู่เคียงข้าง “มาเรียม” นับตั้งแต่วันแรกจึงถึงวันนี้กว่า 2 เดือนเต็มที่แทบไม่ห่างกาย เช่นเดียวกับ “แม่ส้ม” เรือคยัคสีส้ม ที่ “มาเรียม” ชอบไปคลอเคลียอยู่ใต้ท้องเรือจนกลายเป็นสัญลักษณ์ผูกโยงความผูกพัน เสมือนว่าเรือนั้นเป็นแม่ ทันทีที่เรือขยับเท่ากับว่าจะมี “มาเรียม” เคียงข้างเสมอ

"มาเรียม" ความสดใสใหม่บนเกาะลิบง

“แม่ส้ม” เรือคยัคสีส้มที่ “มาเรียม” ชอบไปคลอเคลีย

        ทุกวันนี้ชีวิตประจำวันของพะยูนน้อยมาเรียม นอกจากจะได้รับการประคบประหงมจากเจ้าหน้าที่ทั้งคอยให้ดื่มนมตามเวลาที่กำหนดอย่างน้อยทุก 1 ชั่วโมง ตลอดจนตรวจดูแลสุขภาพ วัดอัตราการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ การอยู่รอดของพะยูนน้อยตัวนี้จึงเป็นเหมือนตำราใหม่ที่เรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน ด้วยความน่ารักของพะยูนน้อยมาเรียม ทำให้เกิดกระแส “มาเรียมฟีเว่อร์” ผู้คนหลั่งไหลลงไปเที่ยวเกาะลิบง เพื่อชมความน่ารักของพะยูน โดยเฉพาะพิกัดเช็กอินที่ “อ่าวดุหยง” แหล่งอนุบาล “มาเรียม” บนเกาะลิบง ที่จะมาช่วงเวลาไหนไม่ต้องลุ้นทุกคนสามารถชมความน่ารักพะยูนได้ตลอดเวลา

"มาเรียม" ความสดใสใหม่บนเกาะลิบง

“อ่าวดุหยง” บ้านใหม่ของพะยูนน้อย “มาเรียม”

"มาเรียม" ความสดใสใหม่บนเกาะลิบง

วิถีชีวิตส่วนหนึ่งของชาวเกาะลิบง

        “เกาะลิบง” นับเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดตรัง ห่างจากฝั่งเพียงนั่งเรือจากท่าเรือหางยาว อ.กันตัง ใช้เวลาแค่ 20 นาที อัตราค่าโดยสาร 40 บาทต่อคน หากนำรถจักยานยนต์ลงเรือมาด้วยเขาคิดคันละ 60 บาท เป็นชุมชนของชาวไทยมุสลิม 100 เป็นเซ็นต์ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราและประมงพื้นบ้าน ความเป็นอยู่ของคนที่นี่เรียบง่าย มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้นน้อยมาก ทำให้ทั้งเกาะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่แค่เพียงคนเดียวเท่านั้น เพราะหากมีปัญหาที่ไม่ใช่เรื่องราวใหญ่โตคนที่นี่จะเคลียร์กันเอง ไม่ต้องถึงโรงถึงศาลเพราะส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกันทั้งนั้น

"มาเรียม" ความสดใสใหม่บนเกาะลิบง

นั่งเรือหางยาวเพียง 20 นาทีก็ถึงเกาะลิบง

         การเดินทางมาพักที่ “เกาะลิบง” จะมีโฮมสเตย์ของชาวบ้านไว้รองรับนักท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบ เช่นเดียวกับ “การเดินทางบนเกาะ” ไม่ต้องกังวลเพราะที่นี่มีรถบริการรับส่งประจำอยู่ที่ท่าเรือเกาะลิบง ซึ่งก็มีให้เลือกทั้งรถจักรยานยนต์และรถจักรยานยนต์พ่วงข้างพร้อมคนขับ ค่าบริการไม่แพงเฉลี่ยคนละ 50 บาท หรือจะสะดวกแบบเหมาทั้งวันก็สนุก มันดี ไปได้ทุกที่ที่ต้องการค่าบริการ 300 บาท การหลั่งไหลมาของนักท่องเที่ยวช่วงโลว์ซีซั่นกับกระแส “มาเรียม” ช่วงนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าทำให้เกาะลิบงแห่งนี้มีรายได้เกิดขึ้นไม่แพ้ช่วงไฮซีซั่นเลย

"มาเรียม" ความสดใสใหม่บนเกาะลิบง

การเดินทางบนเกาะลิบงสะดวกด้วยรถพ่วง

        ยืนยันจากข้อมูลที่ ศิริพงศ์ สุกใส ผู้ให้บริการรับรับส่งนักท่องเที่ยวบนเกาะลิบง เล่าให้ฟังว่า ทุกวันนี้มีนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะกลุ่มครอบครัวนิยมนำบุตรหลานมาชมความน่ารักของพะยูนน้อยไม่ขาดสายเพราะมาแล้วไม่ต้องลุ้น เห็นพะยูนได้ทันทีที่อ่าวดุหยง ความคึกคักของการท่องเที่ยวรอบนี้ในมุมมองของชาวบ้านบนเกาะลิบง มองว่าช่วยสร้างกระแสการตื่นตัวอนุรักษ์พะยูนไทยได้มากทีเดียว เพราะสำหรับผู้คนบนเกาะลิบง “พะยูน” เป็นเหมือนคนในครอบครัวที่ผูกพันกันมานาน ฉะนั้นการที่มีคนรักและอยากเห็นพะยูนมากเท่าใด เท่ากับว่า “เกาะลิบง” จะเป็นเป้าหมายของการเดินทางท่องเที่ยวเช่นกัน 

"มาเรียม" ความสดใสใหม่บนเกาะลิบง

        วันนี้ไม่ใช่แค่สังคมโลกโซเชียลหรือคนภายนอกเท่านั้นที่อยากเห็นพะยูนน้อย “มาเรียม” มีชีวิตรอดต่อไปในธรรมชาติ แต่สำหรับคนบนเกาะลิบง “พะยูนน้อย” รอดเท่ากับต่อยอดการอนุรักษ์พะยูนไม่ให้สูญพันธุ์อย่างจริงจังและยั่งยืนด้วย

จรูญ ทองนวล...เรื่อง/ภาพ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ