Lifestyle

หยุดภาวะเด็กไทย (เลี้ยง) ไม่โต

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทำไมอัตราที่สูงมากของภาวะทุพโภชนาการจึงเกิดขึ้นในเด็กวัยต่ำกว่า 5 ขวบ

หยุดภาวะเด็กไทย (เลี้ยง) ไม่โต

          ข้อมูลวิจัยล่าสุดด้านโภชนาการเด็กวัยต่ำกว่า 5 ขวบ Thailand MICS 2015-2016 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และองค์การยูนิเซฟ พบว่าเด็กไทยมีความผิดปกติในด้านโภชนาการ คือ พบภาวะเด็กเตี้ยแคระแกร็น (stunted) ของเด็กไทยสูงที่สุดร้อยละ 13 อยู่ในช่วงวัยเตาะแตะ ภาวะน้ำหนักเกิน (Overweight) สูงสุดร้อยละ 11 ก็อยู่ในช่วงวัยเตาะแตะเช่นเดียวกับภาวะน้ำหนักน้อย (Underweight) ทำไมอัตราที่สูงมากของภาวะทุพโภชนาการจึงเกิดขึ้นในช่วงวัยนี้      

หยุดภาวะเด็กไทย (เลี้ยง) ไม่โต

หยุดภาวะเด็กไทย (เลี้ยง) ไม่โต

หยุดภาวะเด็กไทย (เลี้ยง) ไม่โต

          บ่อยครั้งก็ลืมคิดไปว่าวัยเตาะแตะกระเพาะเล็กนิดเดียว เคี้ยวได้ไม่ละเอียด ระบบย่อยอาหาร การดูดซึมสารอาหารของร่างกายยังไม่แข็งแรงเหมือนผู้ใหญ่ ที่คิดว่าจัดอาหารให้กินครบหมวดหมู่แล้ว เอาเข้าจริงเด็กอาจได้รับไม่ครบก็เป็นได้ ไหนจะมีเรื่องพฤติกรรมการกินอีก เช่น กินยาก เลือกกิน อมข้าว เคี้ยวแล้วคายทิ้ง กินไปเล่นไป ใช้เวลากินนานไป กินได้นิดเดียวก็อิ่มไม่กินแล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นตัวบั่นทอนการกินอาหารในปริมาณที่วัยเตาะแตะต้องการในแต่ละวัน เราจึงได้เห็นผลวิจัยภาวะทุพโภชนาการในภาพรวมออกมาอย่างที่ได้กล่าวไป

หยุดภาวะเด็กไทย (เลี้ยง) ไม่โต

หยุดภาวะเด็กไทย (เลี้ยง) ไม่โต

     อีกสาเหตุก็มาจากความด้อยคุณภาพของอาหารหลัก 5 หมู่ที่เด็กบริโภค เช่น อาหารหนึ่งจานของเด็กถ้ามีกลุ่มแป้งกับไขมันมากกว่าโปรตีนและวิตามินเกลือแร่ที่ได้จากผักและผลไม้ โภชนาการเด็กก็ย่อมขาดสมดุล อาหารหลักของวัยเตาะแตะจึงต้องมีความหลากหลายของอาหาร 5 หมู่ ผัก ผลไม้ต้องกินให้มาก การกินจึงต้องใช้วิธีแบ่งสรรอาหารแต่ละมื้อในปริมาณน้อยๆ แต่ให้กินบ่อยๆ นั่นคือมีมื้ออาหารหลักและจัดอาหารว่างเสริมระหว่างมื้อง่ายๆ อย่าง นมรสจืด 1 แก้ว (100 มล.) และกล้วยขนาดเล็ก 1 ลูก

หยุดภาวะเด็กไทย (เลี้ยง) ไม่โต

          วัยเตาะแตะสามารถนั่งร่วมโต๊ะกับสมาชิกในครอบครัวได้เพื่อฝึกนิสัยการกิน ให้กินเป็น กินถูกหลักโภชนาการ แล้วนิสัยนี้ก็จะติดตัวไปจนโต ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงในทุกมื้ออาหารของลูกคือ จัดเมนูคล้ายเมนูผู้ใหญ่แต่รสชาติไม่จัดจ้าน เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย หลักง่ายๆ ที่จะช่วยให้การจัดโภชนาการที่สมดุลและครบถ้วนให้วัยเตาะแตะได้รับสารอาหารจำเป็นต่อการเจริญเติบโตทั้งร่างกายและสมองสมวัยก็คือ หลักการฮีโร่และผู้ช่วย ที่ต้องทำไปพร้อมกัน ฮีโร่ คือ อาหารหลัก 5 หมู่ จัด 3 มื้อต่อวัน เช้า–เที่ยง–เย็น ส่วนผู้ช่วยฮีโร่ คือ อาหารว่างระหว่างมื้อจัด 2 มื้อต่อวัน ช่วงสายก่อนมื้อเที่ยงและช่วงบ่ายก่อนมื้อเย็น

หยุดภาวะเด็กไทย (เลี้ยง) ไม่โต

          ยกตัวอย่างการจัดอาหารมื้อหลัก ( https://goo.gl/Fye68S) มื้อเช้า ข้าวต้มไก่ มื้อเที่ยง เส้นใหญ่ราดหน้าทะเลใส่คะน้าแครอท มื้อเย็น ข้าวแกงจืดเต้าหู้หมูสับ+ไข่ตุ๋น ส่วนอาหารว่างระหว่างมื้อง่ายๆ เช่น ชงนมรสจืด 1 แก้ว ประมาณ 100 มล. ให้กินกับกล้วยลูกเล็กๆ ในช่วงสาย หรือจะเป็นนมกับผลไม้อื่นตามฤดูกาล ในช่วงบ่าย และเติมนมอีกแก้วก่อนเข้านอน ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยเสริมและเติมโภชนาการที่วัยเตาะแตะควรจะได้รับในแต่ละวันได้ครบ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ