Lifestyle

เปิดพื้นที่อวดหัตถศิลป์สุดอลัง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) จัดงานสำแดงฝีมือเชิงช่างในงาน “อัตลักษณ์แห่งสยามครั้งที่ 9" ในแนวคิด “ขุมทรัพย์แห่งภูมิปัญญา” 

    เปิดพื้นที่อวดหัตถศิลป์สุดอลัง

    ตระการตาไปพร้อมๆ กับความภาคภูมิใจในความสามารถเชิงช่างของเหล่าครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรมระดับประเทศที่ต่างสำแดงฝีมือในงาน “อัตลักษณ์แห่งสยามครั้งที่ 9"ในแนวคิด “ขุมทรัพย์แห่งภูมิปัญญา” โดยศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) จัดขึ้นเพื่อสร้างกระแสการรับรู้ และส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันก่อน

เปิดพื้นที่อวดหัตถศิลป์สุดอลัง

จินตนา ชัยยวรรณาการ-อัมพวัน พิชาลัย

เปิดพื้นที่อวดหัตถศิลป์สุดอลัง

   บรรยากาศงานสุดคึกคัก ทั้งพื้นที่ห้องบอลรูม และลานด้านหน้าละลานตาไปด้วยผลงานเชิงช่าง และหัตถกรรมจากยอดฝีมือทั่วประเทศ อาทิ ผ้าไหม งานแกะสลัก เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องปั้นดินเผา งานประดิษฐ์ งานโลหะ เป็นต้น งานนี้ อัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ยังเชื้อเชิญ จินตนา ชัยยวรรณาการ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานมอบโล่เชิดชูเกียรติแก่เหล่าช่างศิลป์ประจำปี 2561 โดยแม่งานใหญ่ กล่าวความตั้งใจว่าครั้งนี้มีความพิเศษและยิ่งใหญ่กว่าทุกครั้ง ไม่ว่าจะด้วยพื้นที่หรือจำนวนผู้เข้าร่วมจัดแสดงผลงาน รวบรวมผลงานชั้นครูที่เปรียบเสมือนขุมทรัพย์แห่งภูมิปัญญาเชิงช่างจากทั่วประเทศกว่า 150 ราย ผ่าน 3 โซนหลัก

เปิดพื้นที่อวดหัตถศิลป์สุดอลัง

เปิดพื้นที่อวดหัตถศิลป์สุดอลัง

     ประกอบด้วย โซนที่หนึ่ง เดอะ มาสเตอร์ส แกลเลอรี่ “จากเวหาจรดบาดาล” แสดงนิทรรศการ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ครูศิลป์ฯ ครูช่างฯ ทายาทช่างศิลป์ฯ ประจำปีนี้ และ ส่วนนิทรรศการ “มรดกศิลป์” เผยแพร่ผลงาน เกียรติประวัติ รวมถึงการถ่ายทอดแนวคิด แรงบันดาลใจในการทำงานหัตถกรรม โซนที่สอง ดิ อาร์ติสานส์ เวิร์คช็อป “หัตถกรรม..หัดทำมือ” กิจกรรมเวิร์คช็อปงานของครูศิลป์ของแผ่นดิน และโซนที่สาม เดอะ คราฟท์เมน คอลเลกชั่น “ตลาดหัตถศิลป์” ส่วนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมในสาขาต่างๆ

เปิดพื้นที่อวดหัตถศิลป์สุดอลัง

ครูบัวไหล คณะปัญญา

     ในงาน ครูบัวไหล คณะปัญญา ​อายุ 84 ปี จากเชียงใหม่ ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2561 ประเภทเครื่องกระดาษ “งานหัตถกรรมโคมล้านนา” ผู้สั่งสมภูมิปัญญาและประสบการณ์ทำโคมล้านนามากว่า 70 ปี ด้วยฝีมือการใช้กรรไกรเพียงด้ามเดียวตัดกระดาษเป็นลวดลายที่ละเอียด และคมชัด จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็น “แม่ครูแห่งการทำโคมล้านนา” เล่าว่า เริ่มเรียรรู้การทำโคมมาตั้งแต่อายุ 12 ปี โคมล้านนาเป็นของสูงใช้สำหรับบูชาพระพุทธเจ้าในวันเพ็ญเดือน 12 ใครได้บูชาโคมก็เหมือนได้ส่งจิตถึงพระพุทธเจ้า เอกลักษณ์ของโคมคณะปัญญาอยู่ที่แบบและลวดลายไม่ซ้ำใคร ก่อนหน้านี้มีเพียงโคมทรงกลม ต่อมาจึงพัฒนาเป็นรูปไห รูปดาว โคมกระบอก โคมร่ม เป็นต้น ทุกวันนี้้เป็นวิทยากรถ่ายทอดการทำโคมให้แก่เยาวชนตามสถานศึกษาต่างๆ เพื่อเป็นการอนุรักษ์หัตถกรรมนี้ไว้ 

เปิดพื้นที่อวดหัตถศิลป์สุดอลัง

ครูศรีเมือง ทรรทุรานนท์

    ด้าน ครูศรีเมือง ทรรทุรานนท์ วัย 81 ปี จากนนทบุรี ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี 2561 ประเภทเครื่องดิน “งานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา”  ผู้สืบสานการทำเครื่องปั้นดินเผาจากรุ่นบรรพบุรุษชาวไทยเชื้อสายมอญที่เกาะเกร็ดมานานกว่า 60 ปี และมีฝีมือการสลักลวดลายที่วิจิตรงดงาม บอกว่าเดิมทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นของใช้อย่างหม้อ ไห โอ่ง อ่าง นานเข้าก็ไม่มีคนซื่้อ จึงคิดต่อยอดฝีมือด้วยการแกะลวดลายไทยอย่างบัวคว่ำบัวหงาย เพิ่มมูลค่าผลงาน รู้สึกภูมิใจที่มีคนเห็นคุณค่าของงานศิลป์แขนงนี้ อยากส่งต่อให้ลูกหลานที่สนใจ เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ดจะได้อยู่นานๆ

เปิดพื้นที่อวดหัตถศิลป์สุดอลัง

เปิดพื้นที่อวดหัตถศิลป์สุดอลัง

 สนใจติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับงานศิลป์เพิ่มเติมที่ www.sacict.or.th และhttp://www.facebook.com/sacict

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ