Lifestyle

เอ็ตด้า ดัน “ครีเอทีฟคอมมอนส์” ตอบโจทย์ยุคแชร์ข้อมูล

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เอ็ตด้า ดัน “ครีเอทีฟคอมมอนส์” ตัวช่วยแชร์รูปภาพ-ข้อมูลผ่านโลกออนไลน์ ชี้เป็นทางเลือกใหม่ในการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญชี้ CC ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ยุคโซ

 

                    สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวในงานสัมมนา Digital Law and Digital Content for Thailand 4.0 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า เมื่อพูดถึงพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ คนมักนึกถึงสินค้าที่จับต้องได้ แต่จริง ๆ แล้วอีคอมเมิร์ซยังรวมถึงบริการและครอบคลุมไปถึงดิจิทัลคอนเทนต์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเพลง ภาพยนตร์ หรือเกมบนโลกออนไลน์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้กำลังได้รับความนิยม
                    คนทั่วไปมักคิดว่าสิ่งที่โพสต์หรืออัพโหลดไว้บนอินเทอร์เน็ต เป็นของฟรี จะดาวโหลดหรือแชร์กันโดยอาจไม่เข้าใจถึงบทบาทความเป็นเจ้าของของผู้สร้างสรรค์งาน จนทำให้กลายเป็นผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ไปอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ปัจจุบันมีเครื่องมือที่เข้ามาเป็นตัวช่วยสำหรับการแชร์สิ่งต่าง ๆ ทางโลกออนไลน์ได้ ในรูปแบบของ Creative Commons (CC) ซึ่งถือเป็นกติกาสำคัญในโลกยุค 4.0 โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่คนไทยสร้างสรรค์คอนเทนต์ได้เอง
                    จากการสำรวจ คาดว่าปีนี้อีคอมเมิร์ซในไทยจะมีมูลค่าถึง 2.5 ล้านล้านบาท ส่วนตลาดดิจิทัลคอนเทนต์ของไทยก็เติบโตขึ้นมากเช่นกัน ดังนั้นการดูแลทรัพย์สินทางปัญญาเชิงรุกจึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในยุคที่โลกกำลังเข้าสู่ยุค Disruptive Technology ซึ่งเทคโนโลยีนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ชีวิตมากมาย
                    จุมพล ภิญโญสินวัฒน์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีชำนัญพิเศษ (แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ) กล่าวว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมจนครอบคลุมทุกอย่าง หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า All Right Reserved คือ สิทธิ์ทั้งหมดถูกสงวนไว้ การกระทำหลายอย่างก็อาจเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เว้นแต่ได้รับอนุญาตก่อน ขณะที่พฤติกรรมในสังคมยุคอินเทอร์เน็ตซึ่งพบเห็นได้ทั่วไป คือ การก็อปปี้ข้อความ รูปภาพ หรือคลิป อยู่ในข่ายของการละเมิดลิขสิทธิ์ ดังนั้น การใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าจะสอดรับกับไลฟ์สไตล์การส่งต่อหรือแชร์ข้อมูลในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงเหมาะกับในยุคที่เจ้าของงานลิขสิทธิ์มีความต้องการแชร์ผลงานในระดับที่ไม่เท่ากัน อันนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า Some Rights Reserved หรือสงวนสิทธิ์บางประการ

                    เจน พาร์ค ผู้อำนวยการฝ่าย Platform and Partnership แห่งองค์กรครีเอทีฟคอมมอนส์ (Jane Park, Director of Platforms and Partnership, Creative Commons.org) อธิบายว่า ครีเอทีฟคอมมอนส์ เป็นทางเลือกหรือกรอบใหม่ในการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ซึ่งช่วยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถให้สิทธิ์บางส่วนหรือสิทธิ์ทั้งหมดแก่สาธารณะ อันเปิดโอกาสให้มีการแบ่งปันข้อมูลกันได้สะดวกมากขึ้น อีกทั้งยังเปิดช่องให้คนทั่วไปเข้ามาต่อยอดผลงานของ ผู้สร้างสรรค์ได้


              สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิของครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons Licenses) มี 6 แบบ

 

 เอ็ตด้า ดัน “ครีเอทีฟคอมมอนส์” ตอบโจทย์ยุคแชร์ข้อมูล

                    CC – BY ยอมให้แจกจ่าย ดัดแปลง หรือใช้งานต้นฉบับอย่างใดก็ได้ รวมไปถึงการทำเพื่อวัตถุประสงค์ในทางการค้า แต่ผู้รับอนุญาตต้องรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานที่นำไปใช้เสมอ (เช่น อ้างอิง) สัญญาอนุญาตฯ นี้เป็นแบบที่เปิดการแบ่งปันมากที่สุดเหมาะกับงานต้นฉบับของหน่วยงานราชการงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ฯลฯ

 

 เอ็ตด้า ดัน “ครีเอทีฟคอมมอนส์” ตอบโจทย์ยุคแชร์ข้อมูล

                    CC – BY – SA ยอมให้เปลี่ยนแปลง ดัดแปลง ใช้งานต้นฉบับอย่างใดก็ได้ รวมไปถึงการทำเพื่อวัตถุประสงค์ในทางการค้าด้วย แต่ผู้รับอนุญาตต้องรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานที่นำไปใช้เสมอ (เช่น อ้างอิง) รวมทั้งเผยแพร่งานสร้างสรรค์ใหม่บนสัญญาอนุญาตฯ แบบเดียวกัน สัญญาอนุญาตฯ นี้เป็นแบบที่เปิดการแบ่งปันมากเพียงมีเงื่อนไขต่องานที่ดัดแปลง ให้เหมาะกับงานที่ต้องการเผยแพร่ เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น Wikipedia

 

 เอ็ตด้า ดัน “ครีเอทีฟคอมมอนส์” ตอบโจทย์ยุคแชร์ข้อมูล

 

                    CC – BY – ND ยอมให้ใช้และแจกจ่ายงานต่อ ไม่ว่าเป็นการทำเพื่อวัตถุประสงค์ในทางการค้าหรือไม่ แต่ผู้รับอนุญาตต้องรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานที่นำไปใช้เสมอ (เช่น อ้างอิง) รวมทั้ง ต้องแสดงงานตามต้นฉบับเดิม โดยห้ามดัดแปลง

 เอ็ตด้า ดัน “ครีเอทีฟคอมมอนส์” ตอบโจทย์ยุคแชร์ข้อมูล

                    CC – BY – NC ยอมให้เปลี่ยนแปลง ดัดแปลง หรือใช้งานต้นฉบับที่ไม่ได้เป็นการทำเพื่อวัตถุประสงค์ ในทางการค้า แต่ผู้รับอนุญาตต้องรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานที่นำไปใช้เสมอ (เช่น อ้างอิง) สัญญาอนุญาตฯ นี้เป็นแบบที่เปิดการแบ่งปันไม่มากเจ้าของลิขสิทธิ์สงวนสิทธิการใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์ในทางการค้า

 

 เอ็ตด้า ดัน “ครีเอทีฟคอมมอนส์” ตอบโจทย์ยุคแชร์ข้อมูล

                    CC – BY – NC – SA ยอมให้เปลี่ยนแปลง ดัดแปลง หรือใช้งานต้นฉบับที่ไม่ได้เป็นการทำเพื่อวัตถุประสงค์ ในทางการค้า แต่ผู้รับอนุญาตต้องรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานที่นำไปใช้เสมอ (เช่น อ้างอิง) รวมทั้งเผยแพร่งานสร้างสรรค์ใหม่บนสัญญาอนุญาตฯ แบบเดียวกันเลย

 

 เอ็ตด้า ดัน “ครีเอทีฟคอมมอนส์” ตอบโจทย์ยุคแชร์ข้อมูล

 

                    CC – BY – NC – ND สัญญาอนุญาตฯ นี้เป็นแบบที่เปิดการแบ่งปันน้อยที่สุดใน 6 แบบ โดยอนุญาตให้ใช้งานต้นฉบับที่ไม่ได้ทำเพื่อวัตถุประสงค์ในการทางค้า แต่ผู้รับอนุญาตต้องรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์งานที่นำไปใช้เสมอ (เช่น อ้างอิง) รวมทั้งสัญญาอนุญาตฯ นี้ต้องแสดงงานตามต้นฉบับเดิมโดยห้ามดัดแปลงงาน


                    ทั้งนี้ องค์กรครีเอทีฟคอมมอนส์ เป็นองค์กรไม่หวังผลกำไรในสหรัฐฯ ที่หารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย 85 ประเทศ รวมถึงไทย เพื่อกำหนดแนวคิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ ปัจจุบันมีงานกว่า 1,200 ล้านชิ้นทั่วโลกที่คนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้งานได้ภายใต้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ เว็บไซต์รูปภาพชื่อดังของโลกอย่าง Flickr ก็ระบุว่าผู้ใช้จำนวนมากของ Flickr เลือกนำเสนองานภายใต้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์ รวมถึงเว็บอย่าง Wikimedia ที่มีไฟล์สื่อทั้งแบบรูปภาพ วิดีโอ และเสียง จำนวนกว่า 41 ล้านไฟล์ นอกจากนั้น ครีเอทีฟคอมมอนส์ยังขึ้นไปอยู่บน SoundCloud อีกด้วย


                    ภาคส่วนต่าง ๆ ของไทยที่อาจเข้าร่วมในสัญญาอนุญาต CC มีอาทิ ภาคส่วนที่ดูแลด้านมรดกทางวัฒนธรรม ภาคศิลปวัฒนธรรม ภาคการศึกษา-วิจัย ภาครัฐ-นโยบาย ภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมการพิมพ์สามมิติ โดยในตะวันตกนั้นมีผู้สร้างสรรค์งานพิมพ์ 3 มิติเผยแพร่ผลงานของตนเองผ่านครีเอทีฟคอมมอนส์และมีผู้อื่นนำไปต่อยอดจนได้ผลงานแปลกใหม่สะดุดตามาแล้ว

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ