พระเครื่อง

พระสมเด็จพิมพ์สองหน้าในหนังสือวัดระฆัง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

พระสมเด็จพิมพ์สองหน้าในหนังสือ "ทำเนียบพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม" : พระองค์ครู เรื่อง / ภาพ ไตรเทพ ไกรงู

             "ทำเนียบพระสมเด็จวัดระฆัง สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี" เป็นหนังสือที่โดย "ชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยาม" ซึ่งมี นายกล้า เกษสุรินทร์ชัย หรือ "เสี่ยกล้า" เป็นประธานชมรม มีความหนากว่า ๔๐๐ หน้า สี่สีทั้งเล่ม เข้าเล่มเย็บกี่อย่างดี
 
             แม้ว่าเซียนพระของสมาคมพระเครื่องจะระบุว่าเป็นการเล่นพระผิดทาง รูปพระสมเด็จที่จัดพิมพ์ในหนังสือเป็นพระที่วงการไม่เล่นกัน แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยสนใจการเล่นพระและซื้อหนังสือในแนวของชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยาม ทั้งนี้ ถ้าอ่านเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาพระสมเด็จโดยไม่มีอคติใดๆ บางส่วนของข้อมูลในหนังสือก็มีประโยชน์อยู่ไม่น้อย
 
             เนื้อหาในหนังสือได้มีการตั้งข้อสงสัยไว้หลายประการ โดยเฉพาะกรณีที่ท่านเจ้าคุณ ได้รับโปรดเกล้าฯ สมณศักดิ์เป็น พระธรรมกิติโสภณ พร้อมทั้งเป็นเจ้าอาวาสมาปกครองวัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๕ ขณะมีอายุ ๖๕ ปี จนถึง พ.ศ.๒๔๐๗ อายุ ๗๗ ปี รวม๑๒ ปี พระที่ท่านสร้างในช่วงนี้ สมควรเรียกว่า พระของพระธรรมกิติโสภณ (โต) วัดระฆัง หรือน่าจะเรียกว่า พระสมเด็จวัดระฆังของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
 
             สำหรับพระองค์ครูวันนี้เป็นภาพ "พระสมเด็จวัดระฆัง (สมเด็จโต) โดยได้ระบุว่า "เนื้อหาพิมพ์ตรงมาตรฐานสากลยอดนิยมอันดับ ๑" โดยเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มีความเชื่อว่ามี "พระสมเด็จพิมพ์สองหน้า" น่าจะมาจากพระพิมพ์สองหน้าที่เลื่องชื่อของวงการพระ เช่น พระหลวงพ่อโสธรพิมพ์สามเหลี่ยมสองหน้า พ.ศ.๒๕๙๗ พระลีลาสองหน้า หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว จ.สุพรรณบุรี พระสิบทัศน์ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม พิมพ์สองหน้า นครปฐมเหรียญหล่อสองหน้าหลวงพ่อทบ วัดชนแดนและหลวงพ่อเขียน พ.ศ.๒๕๐๕
 
             ในจำนวนพระพิมพ์สองหน้าที่เลื่อชื่อสุด มากทั้งพุทธคุณและค่านิยม คือ พระมเหศวร พุทธศิลป์ขององค์พระที่ทำเป็นพระ ๒ หน้าสวนทางกันเป็นพระเนื้อชินยอดนิยม วงการพระจัดให้เป็นหนึ่งในห้าของ “ชุดพระยอดขุนพลเนื้อชิน” แห่งสยามประเทศ เป็นพระที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เพียงแห่งเดียวเท่านั้นไม่มีจากกรุอื่นๆ นักสะสมต่างยกย่องว่าเป็นพระที่มีพุทธคุณยอดเยี่ยมทุกด้าน ทั้งเมตตามหานิยม มหาอุดแคล้วคลาด โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี
 
             เมื่อครั้งที่ชมรมนักอนุรักษ์สะสมพระเครื่องสยามพิมพ์หนังสือเล่มแรกออกวางจำหน่าย มีเสียงสวดจากคนวงการพระเครื่องว่า ภาพพระสมเด็จในหนังสือไม่ใช่ของจริง ไม่ใช่พระที่คนในวงการพระเครื่องยอมรับกัน ไม่ใช่พิมพ์ที่นิยม แต่ข้อคิดอย่างหนึ่งที่วงการพระเครื่องต้องเก็บไปคิด คือ คำพูดของเสี่ยกล้าที่ว่า
 
             "วงการพระเครื่องจะอมรับหรือไม่ยอมรับนั้นไม่ใช่สาระสำคัญ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า พระเครื่ององค์เดียวกันแท้ๆ ตาเซียนพระเครื่องแต่ละตาแต่ละคนยังมีมุมมองที่ต่างกัน เซียนกลุ่มหนึ่งที่เสียงดังกว่าอาจจะมองว่าปลอม แต่เซียนอีกกลุ่มหนึ่งมองว่าแท้ แต่เผอิญว่า เซียนกลุ่มแรกเสียงดังกว่า พระที่แท้ก็กลายเป็นพระปลอมได้ ขณะเดียวกันพระที่ปลอมก็กลายเป็นพระแท้ได้เช่นกัน"

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ