พระเครื่อง

๙๙พระป่าและพระเครื่องสาย'ปู่มั่น'

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

พระป่าและพระเครื่อง ของ...๙๙ พระอรหันต์สาย "หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต" : เรื่อง/ ภาพ ไตรเทพ ไกรงู

                หนังสือ "๙๙ พระอรหันต์ศิษย์สาย หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต" เป็นหนังสือที่คณะกรรมการ วัดป่าปทีปปุญญราม บ้านเซียม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการรำลึก และเชิดชูเกียรติของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และพระอาจารย์ต่างๆ ที่เป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต โดยมีการรวบรวมประวัติ คำสอน และวัตถุมงคลมากถึง ๙๙ รูป ซึ่งถือว่าเป็นเป็นครั้งแรกของการจัดพิมพ์หนังสือพระสายกัมมัฏฐาน
   
             พระครูวินัยธร หรือที่นิยมเรียกด้วยความเคารพว่า "หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต" เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ.๒๔๑๓ เป็นพระภิกษุชาวไทยสายธรรมยุตชื่อดังในประวัติศาสตร์พระกรรมฐานไทย เมื่อท่านเป็นพระภิกษุ ได้ปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดและเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยวางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า แก่ประชาชน ทำให้ท่านมีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมาก จึงทำให้แนวคำสอนของท่านเป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็นคำสอนพระวัดป่า (สายพระอาจารย์มั่น)
     
             "พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายพระกรรมฐาน" เป็นสมัญญานามจากบรรดาศิษย์ เป็นผู้มีประวัติงดงาม เป็นฐานที่พึ่งอันมั่นคงตลอดจนเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจของเหล่าศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ตลอดเวลาในเพศบรรพชิต ได้ปฏิบัติตนจนกระทั่งเป็น แบบอย่างที่ดี อันจะหาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยากยิ่ง
   
             อย่างไรก็ตาม หลังจากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ละสังขาร เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ อายุ ๗๙ ปี พรรษาที่ ๕๖ ณ วัดป่าสุทธาวาส ยังคงมีพระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านสืบต่อแนวปฏิบัติของท่านสืบมา โดยลูกศิษย์ของท่านเรียกว่า พระกรรมฐานสายวัดป่า หรือ พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่านได้รับยกย่องจากผู้ศรัทธาให้เป็น พระอาจารย์ใหญ่สายวัดป่า สืบมาจนปัจจุบัน
   
             หลวงปู่มั่นท่านเป็นอาจารย์สอนธรรมทางวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงมีผู้เคารพนับถือมาก หลวงปู่มีศิษยานุศิษย์ที่เป็นพระเถระ อาทิ พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม) หลวงปู่มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฎ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรงฺสี) หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
   
             พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร) พระครูสุทธิธรรมรังษี (หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท) หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท) พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) หลวงปู่จวน กุลเชฏฺโฐ หลวงปู่สิงห์ทอง ธมฺมวโร พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พระวิสุทธิญาณเถระ (หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย) พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน)
   
             พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (หลวงปู่วัน อุตฺตโม) พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) พระมงคลวุฒ (หลวงปู่เครื่อง สุภทฺโท) พระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) หลวงปู่ผินะ ปิยธโร หลวงปู่สนธิ์ สุมโณ พระครูญาณวิสิทธิ์ (ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก) หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก พระอริยเวที (พระอาจารย์มหาเขียน ฐิตสีโล) คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำหลวงพ่อผาง จิตฺตคุตฺโต หลวงปู่ผาง ปริปุณฺโณ หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่บุดดา ถาวโร หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล หลวงปู่แว่น ธนปาโล เป็นต้น
   
             นอกจากนี้แล้วหนังสือ "๙๙ พระอรหันต์ศิษย์สาย หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต" ยังนำพระเครื่อง และเหรียญยอดนิยมของแต่ละองค์ เช่น เหรียญรุ่นแรกของ พระโพธิญาณเถร หรือหลวงพ่อชา สุภทฺโท อดีตเจ้าอาวาสผู้ก่อตั้งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี  เหรียญรุ่นแรกของ พระธรรมวิสุทธิมงคล หรือ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี พ.ศ.๒๕๔๐ ซึ่งตรงกับปีที่เปิดโครงการผ้าป่าช่วยชาติ ในปีนี้มีการจัดสร้างเพียงรุ่นเดียวเท่านั้น หลังจากปี ๒๕๔๐ เป็นต้นมา อาจกล่าวได้ว่ามีการจัดสร้างอย่ามโหฬาร
   
             ด้วยข้อมูลที่ครบครันทั้งภาพ ประวัติ และวัตถุมงคล หนังสือ "๙๙ พระอรหันต์ศิษย์สาย หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต" จึงเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่มีคุณค่ายิ่งสำหรับผู้ศึกษาพระเครื่อง โดยเฉพาะพระสายป่าศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต


พระเครื่องพระป่า

             "การสร้างพระเครื่องของพระป่าส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญเนื้อทองแดงและเนื้อผง ส่วนเนื้อที่ทำจากโลหะมีค่า เช่น ทองคำ เงิน นวโลหะ รวมทั้งเหรียญลงยาจะทำให้เช่าเฉพาะในหมู่คณะเท่านั้น โดยลูกศิษย์จะได้นำส่วนต่างของการให้เช่ามาทำแจกฟรี และในงานพระราชทานเพลิงศพเท่าที่ทราบมีลูกศิษย์หลายสายทำเหรียญเนื้อทองแดงแจกฟรี"

             ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นความเห็นของ นายวิทย์ รัตนโกสินทร์ เจ้าของรายการจับกระแสพระ ทางสถานนีวิทยุโทรทัศน์ช่อง ๘ ทีซีซีเคเบิลทีวี และเจ้าของเว็บไซต์ "www.showpra.com"
   
             ทั้งนี้ นายวิทย์ ได้ให้ข้อมูลค่านิยมพระเครื่องสายพระป่าไว้ว่า เหรียญที่ได้รับค่านิยมและมีคานิยมสูงสุด คือ เหรียญพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร (วัดถ้ำขาม) จ.สกลนคร เนื้อทองแดง และเนื้ออัลปาก้า รุ่นแรก สร้างปี ๒๕๐๗ ค่านิยมอยู่ในหลักล้านต้นๆ บางเหรียญที่สวยสมบูรณ์ค่านิยมมากกว่า ๓ ล้านบาท
   
             เหรียญพระอาจายร์สิงห์ ขนฺตยาคโม อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา มีเนื้อทองคำ นาก เงิน และทองแดง ค่านิยมในเหรียญทองคำขึ้นไปอยู่ที่หลักล้านต้นๆ ส่วนเนื้อเงินค่านิยมอยู่ในหลักแสนปลายๆ บางเหรียญสูงถึงหลักล้านบาท ในขณะที่เนื้อทองแดงอยู่ในหลักแสนกลาง
   
             เหรียญหลวงปู่ดูลย์ อตุโล อดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพา อ.เมือง จ.สุรินทร์ รุ่นแรก พ.ศ.๒๕๐๘ มีเนื้อทองแดงเพียงเนื้อเดียว ค่านิยมของเหรียญที่มีสภาพสวยสมบูรณ์อยู่ระหว่าง ๓-๔ แสนบาท นอกจากนี้ พระรูปหล่อโบราณ หลวงปู่ดุลย์ (รุ่นเศรษฐี) สร้าง พ.ศ.๒๕๒๔ มีเนื้อโลหะผสมเพียงเนื้อเดียว ค่านิยมในองค์ที่มีโค้ดกำกับอยู่ไม่ต่ำกว่า ๕ แสนบาท และเหรียญหล่อเศรษฐี (หล่อโบราณ) ค่านิยมอยู่ในหลัก ๓-๔ แสนบาท
   
             นอกจากนี้ ยังมีเหรียญพระป่าที่มีค่านิยมอยู่ในหลักแสน เช่น เหรียญหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ อดีตเจ้าอาสวัดประสิทธิธรรม อ.บ้างดุง จ.อุดรธานี หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพลง อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู เหรียญหลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น หลวงปู่ชอบ ฐาสโม วัดป่าโคกมน อ.วังสะพุง จ.เลย หลวงปู่จันทร์ เขมิโย วัดศรีเทพ อ.เมือง จ.นครพนม เป็นต้น
---------/เบิร์ฟ/----------
    "หลังจากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ละสังขาร เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ ยังคงมีพระสงฆ์ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านสืบต่อแนวปฏิบัติของท่านสืบมา โดยลูกศิษย์ของท่านเรียกว่า พระกรรมฐานสายวัดป่า หรือพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น"
---------/////----------
0 เรื่อง/ ภาพ ไตรเทพ ไกรงู 0
***************************************
ID: 20548792 ปกหนังสือ"๙๙ พระอรหันต์ศิษย์สาย หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต" ----- ใช้เป็นภาพหลีดครับ
ID:13159705-13159708 เหรียญอาจารย์ฝั้น รุ่นแรก พ.ศ. ๒๕๐๗ เนื้ออัลปาก้า ----- ใส่ไว้ในล้อมกรอบ
ID: 20548883 เหรียญหลวงปู่เทสก์ เทสรังษี รุ่นแรก พ.ศ.๒๕๑๖----- ใส่ไว้ในล้อมกรอบ
ID: 20548899 เหรียญหลวงปู่ดูลย์ อตุโล รุ่นแรก พ.ศ.๒๕๑๘ ----- ใส่ไว้ในล้อมกรอบ
ID: 20548804 เหรียญหล่อหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล เนื้ออลูมิเนียม วัดเลียบ พ.ศ.๒๔๘๒
ID: 20548820 เหรียญหลวงพ่อชา สุภทฺโท รุ่นแรก
ID: 20548812     เหรียญหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน รุ่นแรก
ID: 20548831 เหรียญหลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ บล็อกยันต์ ๘ พ.ศ.๒๔๙๐ รุ่นแรก
ID:20548845  เหรียญหน้าวัว หลวงปู่แหวน สุจิณโณ รุ่นแรก พ.ศ.๒๕๑๒
ID:20548880 พระกริ่งชินบัญชร หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป

กรมธนารักษ์สร้างเหรียญพระคลังฯ 

   
             กรมธนารักษ์ตั้งแต่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง "กรมเก็บ" ขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวังเพื่อดูแลและจัดเก็บทรัพย์สินแผ่นดิน ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมพระคลัง มหาสมบัติ" และภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรม พ.ศ.๒๔๗๖ ในรัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมพระคลัง มหาสมบัติ กรมเงินตรา กรมรักษาที่หลวงและกัลปนา และกรมกระษาปณ์สิทธิการ เข้าด้วยกันเรียกว่า   “กรมพระคลัง”    และเปลี่ยนชื่อมาเป็น “กรมคลัง” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “กรมธนารักษ์” เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๙๕
   
             นายนริศ ชัยสูตร อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่า ในโอกาสที่กรมธนารักษ์จะครบ ๘๐ ปี ทางกรมธนารักษ์จึงได้ดำเนินการจัดสร้างเหรียญพระคลัง ในพระคลังมหาสมบัติ ๔ ประเภท ประกอบด้วย ๑ เหรียญทองคำขัดเงา ๙๙% สูง ๗ ซม. หนัก ๓๐๐ กรัม ๒. เหรียญทองคำ ๙๖.๕๐% สูง ซม. น้ำหนัก ๑๘ กรัม พร้อมตลับ และกล่องหนังเทียมสีแดง ๓. เหรียญเงินรมดำพ่นทรายพิเศษ ๙๕% สูง ๓ ซม. น้ำหนัก ๑๕ กรัม พร้อมตลับ และกล่องหนังเทียมสีน้ำเงิน และ ๔. เหรียญทองแดงรมดำพ่นทรายธรรมดา ๙๕% สูง ๓ ซม. น้ำหนัก ๑๑ กรัม
   
             เหรียญพระคลัง ในพระคลังมหาสมบัติ  มีลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ ด้านหน้า กลางเหรียญมีรูปเทวรูปพระคลังเต็มองค์ ประทับยืนบนแท่น พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงดอกบัว ส่วนด้านหลัง กลางเหรียญมีตราสัญลักษณ์กรมธนารักษ์ เบื้องบนรูปมีข้อความว่า “พระคลัง” ใน ” พระคลังมหาสมบัติ” เบื้องล่างมีข้อความว่า “ครบ ๘๐ ปี" “กรมธนารักษ์” “กระทรวงการคลัง” “พ.ศ.๒๕๕๕”
   
             ทั้งนี้ รายได้จากการจัดสร้างเหรียญที่ระลึกฯดังกล่าว นำรายได้ไปดูแลรักษาทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน ให้คงอยู่สืบไปให้คนรุ่นหลังทั้งคนไทยและชาวต่างชาติได้มีโอกาสศึกษา และรายได้อีกส่วนหนึ่งจะนำไปสนับสนุนด้านการศึกษาในโครงการ  “เพชรยอดมงกุฎ” ซึ่งเป็นโครงการที่พระธรรมภาวนาวิกรม (เจ้าคุณธงชัย) วัดไตรมิตรวรวิหาร ซึ่งเป็นโครงการที่สร้างนักเรียนเพื่อให้เกิดความเป็นเลิศในด้านการศึกษา ๑๐ สาขาวิชา เพื่อให้สามารถแข่งขันทัดเทียมกับต่างประเทศได้ โดยดำเนินการมากว่า ๑๐ ปี เช่น สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณิตศาสตร์  ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และอีก ๖ สาขา รายได้อีกส่วนหนึ่งจะเป็นสวัสดิการของกรมธนารักษ์
   
             เหรียญที่ระลึกดังกล่าว เปิดรับจองตั้งแต่วันที่ ๑๕ มีนาคม-๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ เป็นต้นไปที่ ส่วนกลาง สำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน ในพระบรมมหาราชวัง สำนักการคลัง กรมธนารักษ์ สำนักงานธนารักษ์พื้นที่ ๗๕ พื้นที่ ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง โทร. ๐-๒๒๗๘-๕๖๔๑



หลวงปู่สิงห์เหรียญพระป่า'หลักล้าน'

หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโมเหรียญพระป่าที่มีค่านิยม "หลักล้าน!" : พระองค์ครู   โดย  เรื่อง/ ภาพ ไตรเทพ ไกรงู 0

    
             "จงบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญาให้เป็นอธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญา"
   
             ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นธรรมโอวาทของพระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ หรือ "หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม" แห่งวัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา พระวิปัสสนาจารย์สายอีสาน ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากสาธุชนเป็นอย่างมาก ถึงกับมีการขนานนามว่า “พระอริยเจ้าผู้เป็นยอดขุนพลเอกแห่งกองทัพธรรมกรรมฐาน”
    
             "สิงห์ บุญโท" เป็นชื่อและสกุลเดิมของหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม เกิดที่บ้านหนองขอน ต.หัวทะเล อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๒ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๔ ปีฉลู เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๖ ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักพระอุปัชฌาย์ ป้อง ณ วัดบ้านหนองขอน ต.หัวทะเล อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี
   
             เมื่ออายุครบบวชก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทสีมาวัดสุทัศน์ฯ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๒ โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) สมัยเมื่อดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศาสนดิลก เจ้าคณะมณฑลอีสาน เป็นพระอุปัชฌาย์ นับว่าเป็นสิทธิวิหาริกอันดับ ๒ ของสมเด็จมหาวีรวงศ์ ภายหลังอุปสมบทท่านได้ปฏิบัติ มุ่งสู่ราวป่า และปฏิบัติตามเยี่ยงพระอริยเจ้าทั้งหลายที่เคยปฏิบัติมา
   
             ด้วยความวิริยะอุตสาห์พยายาม พระอาจารย์สิงห์ ได้ถวายตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และได้ฝึกอบรมสมาธิภาวนากรรมฐานอยู่กับหลวงปู่มั่น จนมีกำลังอันแก่กล้าแล้ว ท่านเป็นพระที่สามารถให้อุบายธรรมแก่บรรดาลูกศิษย์โดยไม่ว่าผู้ใดติดขัดปัญหาธรรมแล้ว ท่านจะแนะนำอุบายให้พิจารณาจนกระจ่างแจ่มใสเลยทีเดียว
   
             หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ขึ้นเป็น พระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีนามว่า พระญาณวิศิษฎ์สมิทธิวีราจารย์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๐ และเมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๗ เวลา ๑๐.๒๐ น. ท่านได้จากไปเพราะอาพาธด้วยโรคมะเร็งเรื้อรังในกระเพาะอาหาร ณ วัดป่าสาลวัน รวมสิริอายุได้ ๗๓ พรรษา
    
             สำหรับเหรียญหลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ที่นำมาเป็นพระองค์ครูนั้น เป็นเหรียญรุ่นแรก ที่โชว์ไว้ในหนังสือ "๙๙ พระอรหันต์ ศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต" ทั้งนี้ นายอรรถวัติ ศิริสิทธิธงไชย หรือ บอย ท่าพระจันทร์ เชี่ยวชาญเรื่องเหรียญพระคณาจารย์โดยเฉพาะ ให้ข้อมูลไว้ว่า เหรียญรุ่นแรกสร้าง ๔ เนื้อ คือ เนื้อทองคำ เนื้อนาก และเนื้อเงิน ค่านิยมหลักล้าน ส่วนเนื้อทองแดงหลักแสนกลางถึงปลายๆ เหตุผลที่แพงเพราะขึ้นชื่อว่าเป็นเหรียญที่หายากมาก ประมาณการว่าน่าจะมีการสร้างทุกเนื้อไม่เกิน ๓๐๐ เหรียญ โดยล่าสุดได้เช่าเหรียญรุ่นนี้เมื่อ ๓ ปีที่แล้ว
   
             คำเตือน คือ เหรียญรุ่นนี้มีการทำปลอมทุกเนื้อและมีการทำปลอมมานานแล้ว ชนิดที่เรียกว่าในจำนวนเหรียญ ๑,๐๐๐ เหรียญ ปัจจุบันนี้หาของแท้ไม่ได้เลย ใครคิดจะเช่าเหรียญรุ่นนี้ถ้ารู้ไม่จริงมีสิทธิ์โดน ๑๐๐%!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ