ข่าว

"อธิการ" อายุไม่เกิน 60 สะเทือน 20 มหาวิทยาลัยราชภัฏ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ทีมข่าวคุณภาพชีวิตกรุงเทพธุรกิจ [email protected]

               เทดำ...คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้ เป็นกรณีที่อาจารย์คนหนึ่งยื่นฟ้องสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ที่เห็นชอบให้แต่งตั้งรักษาการอธิการบดีจากผู้ที่เกษียณอายุราชการแล้ว ซึ่งก็คืออายุเกิน 60 ปี โดยศาลเห็นว่าเป็นการแต่งตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการบริหารงานบุคคลและงบประมาณของมหาวิทยาลัยรัฐ ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย 3 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยนั้นๆ และพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ฉะนั้นผู้ที่ดำรงตำแหน่งบริหาร ทั้งอธิการบดี รักษาการอธิการบดี และตำแหน่งอื่นๆ ต้องมีสถานะเป็นข้าราชการ คืออายุไม่เกิน 60 ปี แม้จะมีคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 372560 เปิดช่องให้ตั้ง “คนนอก” ที่ไม่ใช่ข้าราชการในมหาวิทยาลัยเป็นอธิการบดีได้ แต่ก็ไม่ได้มีข้อยกเว้นให้อายุเกิน 60 ปี

 

 

 

               โดยหลังมีคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดออกมา ได้มีการเคลื่อนไหวจากแกนนำคณาจารย์ในเครือข่าย “ที่ประชุมสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย” หรือ ทปสท. ยื่นหนังสือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. ให้ประกาศเป็น “บรรทัดฐานร่วมกัน” ว่าผู้ที่ดำรงตำแหน่งอธิการบดีในมหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่ง ต้องเป็นบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 60 ปี เพราะแม้คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดจะผูกพันเฉพาะคู่ความ คือผู้ฟ้อง กับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีเท่านั้น แต่มหาวิทยาราชภัฏทุกแห่งทั่วประเทศ ซึ่งมีอยู่ 38 แห่ง มี “กฎหมายกลาง” ที่ใช้ร่วมกัน จึงต้องบริหารภายใต้กติกาเดียวกัน ซึ่งในแง่นี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ที่มีอยู่ 9 แห่ง ก็มี “กฎหมายกลาง” คล้ายๆ กัน

               ล่าสุดแกนนำคณาจารย์ใน ทปสท. ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิริยะ ศิริชานนท์ ประธาน ทปสท. อาจารย์จิตเจริญ ศรขวัญ และ ดอกเตอร์ เชษฐา ทรัพย์เย็น ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือเพิ่มเติมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายแพทย์ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ และเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ดร.สุภัทร จำปาทอง โดยมีข้อเรียกร้องเพิ่มเติมคือ 1.ขอให้รัฐมนตรีศึกษาฯ สั่งการไปยังสภามหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่ง ให้ดำเนินการถอดถอนอธิการบดีที่เกษียณอายุแล้ว เพราะถือว่าขาดคุณสมบัติตามกฎหมาย และตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด และ 2.นายกสภามหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่ง ตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบต่อหลักนิติรัฐและธรรมาภิบาล ด้วยการถอดถอนอธิการบดี หรือรักษาการอธิการบดีที่อายุเกิน 60 ปีแล้วทั้งหมด ทุกมหาวิทยาลัย

 

 

 

"อธิการ" อายุไม่เกิน 60 สะเทือน 20 มหาวิทยาลัยราชภัฏ

 

 

 

               ขณะเดียวกันเริ่มมีผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่อายุเกิน 60 ปีบางคน ทยอยลาออกเพื่อแสดงสปิริต คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปัญญา คามีศักดิ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง ล่าสุดยังมี รองศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ ชูศักดิ์ เอกเพชร ลาออกจากตำแหน่งรักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยเป็นการประกาศลาออกกลางที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย เพราะมีอายุเกิน 60 ปี ปรากฏว่าได้รับการขานรับและชื่นชมจากคณาจารย์ฝ่ายที่สนับสนุนให้จำกัดอายุอธิการบดีไม่ให้เกิน 60 ปีเป็นอย่างมาก และถือเป็นบุคคลในระดับอธิการบดีคนแรกที่ยอมลาออก

               รศ.ดร.ชูศักดิ์ เอกเพชร รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ตามที่สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มีมติแต่งตั้งให้ตนดำรงตำแหน่ง รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2560 จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่อธิการบดีตัวจริงอยู่ระหว่างรอการโปรดเกล้าฯ เมื่อมีการตัดสินของศาลปกครองสูงสุดออกมาว่าผู้ที่มีอายุเกิน 60ปี ไม่สามารถดำรงตำแหน่งอธิการบดีได้ ก็พร้อมปฏิบัติตาม

               โดยจะยื่นหนังสือลาออกอย่างเป็นทางการในการประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีในวันที่ 18 กันยายน 2561ที่จะถึงนี้ เพราะเชื่อว่าที่ผ่านมาทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว การลาออกจึงเป็นการแสดงสปิริตในฐานะผู้นำที่จะแสดงให้ทุกคนได้เห็นว่าไม่ได้ยิดติดกับตำแหน่งหน้าที่ รวมทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาช่วยกันบริหารงานมหาวิทยาลัย ให้มีความก้าวหน้าต่อไปได้ เชื่อว่ามหาวิทยาลัยในมือของผู้บริหารที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี จะสามารถพัฒนาและเดินหน้าต่อไปได้

 

 

 

"อธิการ" อายุไม่เกิน 60 สะเทือน 20 มหาวิทยาลัยราชภัฏ

 

 

 

"อธิการ" อายุไม่เกิน 60 สะเทือน 20 มหาวิทยาลัยราชภัฏ

 

 

 

"อธิการ" อายุไม่เกิน 60 สะเทือน 20 มหาวิทยาลัยราชภัฏ

 

 

 

"อธิการ" อายุไม่เกิน 60 สะเทือน 20 มหาวิทยาลัยราชภัฏ

 

 

 

"อธิการ" อายุไม่เกิน 60 สะเทือน 20 มหาวิทยาลัยราชภัฏ

 

 

 

               ว่ากันว่ามหาวิทยาลัยของรัฐในกลุ่มราชภัฏและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งมีราวๆ 47 แห่งทั่วประเทศ เพราะมีอธิการบดีและรักษาการอธิการบดีที่อายุเกิน 60 ปี และเกษียณอายุราชการแล้วหลายแห่ง นับคร่าวๆ ก็เกือบ 20 แห่ง โดยเฉพาะเรื่องค่าตอบแทนเปรียบเทียบกันระหว่างอธิการบดีที่เป็นผู้เกษียณอายุราชการแล้ว หรืออายุเกิน 60 ปี กับอธิการบดีที่ยังเป็นข้าราชการอยู่ คืออายุยังไม่เกิน 60 ปี

               จากข้อมูลของทสปท.รวบรวมไว้พบว่ารายได้ของอธิการเกษียณแต่ละมหาลัยไม่เท่ากัน อยู่ระหว่าง 100,000 - 250,000 บาทต่อเดือนในซึ่งไม่สามารถนำเงินงบประมาณแผ่นดินมาจ่ายได้ เพราะเกษียณแล้วจึงต้องนำเงินรายได้มาจ่ายเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เงินรายได้มาจากค่าเทอมเด็กนักศึกษา

               เริ่มจากรายได้ของอธิการที่ยังไม่เกษียณ ทุกอย่างเป็นไปตามระเบียบราชการ คือเงินเดือน 50,000 บาท เงินประจำตำแหน่ง 30,000 บาท และเงินค่าพาหนะ 31,800 บาท รวมรายได้ต่อเดือน 111,800 บาท หรือคิดเป็น 1,341,600 บาทต่อปี รวมทั้งหมดตลอดวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี อยู่ที่ 5,366,400 บาท

               ส่วนรายได้ของอธิการบดีที่เกษียณอายุไปแล้ว เมื่อไม่มีสถานะเป็นข้าราชการ ก็ไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าตอบแทนจากงบประมาณแผ่นดิน ทำให้ต้องตั้งเงินเดือนขึ้นมาเองจากรายได้ของมหาวิทยาลัย ซึ่งหลายมหาวิทยาลัยก็ตั้งกันแบบไม่มีเพดาน ตั้งแต่แสนกว่าบาทไปจนถึงหลายแสนบาท เงินเหล่านี้มาจากเงินค่าเทอมของนักศึกษา จนนำมาสู่การขึ้นค่าเทอม

               สมมติตั้งเงินเดือนไว้ที่ 120,000 บาท อธิการเกษียณแล้วก็ยังมีสิทธิ์ได้รับเงินประจำตำแหน่งอีกเดือนละ 30,000 บาท ค่าพาหนะอีก 31,800 บาท และยังมีเงินบำนาญ กรณีที่เคยเป็นข้าราชการมาก่อน อีกอย่างต่ำๆ ก็เดือนละ 30,000 บาท รวมรายได้เดือนละ 211,800 บาท มากกว่าอธิการที่เป็นข้าราชการเดือนละเป็นแสน รายได้ต่อปีอยู่ที่ 2,541,600 บาท และตลอดวาระการดำรงตำแหน่ง สูงถึง 10,166,400 บาท สูงกว่าอธิการที่ยังไม่เกษียณถึง 5 ล้านบาท

 

 

 

"อธิการ" อายุไม่เกิน 60 สะเทือน 20 มหาวิทยาลัยราชภัฏ

 

 

 

"อธิการ" อายุไม่เกิน 60 สะเทือน 20 มหาวิทยาลัยราชภัฏ

 

 

 

               ทั้งนี้ ทสปท.ได้รวบรวมมหาวิทยาลัยราชภัฎที่มีอธิการบดีอายุเกิน 60 ปี ไว้ดังนี้ มรภ.จันทรเกษม 63 ปี มรภ.เทพสตรี 66 ปี มรภ.ธนบุรี ไม่มีข้อมูล มรภ.พระนคร 74 ปี มรภ.เพชรบุรี 67 ปี มรภ. วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ไม่มีข้อมูล มรภ.หมู่บ้านจอมบึง ไม่มีข้อมูล มรภ.เชียงใหม่ 69 ปี มรภ.นครสวรรค์ 65 ปีมรภ.พิบูลสงคราม 61 ปี มรภ.ลำปาง 64 ปี มรภ.อุตรดิตถ์ 70 ปี มรภ.ชัยภูมิไม่มีข้อมูล

               มรภ.นครราชสีมา 63 ปี มรภ.บุรีรัมย์ 66 ปี มรภ.มหาสารคาม 65 ปี มรภ.ร้อยเอ็ด 65ปี มรภ.เลยไม่มีข้อมูล มรภ.ศรีสะเกษ ไม่มีข้อมูล มรภ.สกลนครไม่มีข้อมูล มรภ.สุรินทร์ 69 ปี มรภ.อุดรธานี 76 ปี ภูเก็ตไม่มีข้อมูลสงขลา 69 ปี มรภ.สุราษฎร์ธานี 67 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 63 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 62 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ 55 ปี

               ส่วนมหาวิทยาลัยราชภัฎที่อธิการบดีมีอายุไม่เกิน 60 ปี มรภ.ราชนครินทร์ 46 ปี มรภ.กาญจนบุรี 52 ปีมรภ.เชียงราย 53 ปี มรภ.อุบลราชธานี 53 ปีมรภ.นครปฐม 50+ปี มรภ.กำแพงเพชร 55 ปีมรภ.นครศรีธรรมราช 55 ปี มรภ.ยะลา 50+ ปีมรภ.สวนสุนันทา 56 ปี มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา 57 ปี มรภ.เพชรบูรณ์ 58 ปี และมรภ.พระนครศรีอยุธยา 59 ปี

               จับตาดูว่าในที่ 15 กันยายนนี้ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) จะประชุมร่วมกับนายกสภามหาวิทยาลัยของรัฐ เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการกรณีอธิการบดีและการเสนอแต่งตั้งอธิการบดีที่มีอายุเกิน 60 ปี เวลา 9.30 – 12.30 น. ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น 5 อาคารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 1 เพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยของรัฐจะได้ข้อสรุปอย่างไรต่อไป

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ