Lifestyle

สถานีวิทยุม.ก.ผนึกกรมกิจการผู้สูงอายุ สานต่อ"วาสนะเวศม์โมเดล"ผ่านโรงเรียนทางอากาศ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สถานีวิทยุม.ก.ผนึกกรมกิจการผู้สูงอายุสานต่อ"วาสนะเวศม์โมเดล"เมืองกรุงเก่าผ่านโรงเรียนผู้สูงอายุทางอากาศ  หลังประสบความสำเร็จ"แม่เหี๊ยะโมเดลและขอนแก่นโมเดล" ผอ.สถานีวิทยุฯชี้ก้าวต่อไปเชื่อมโยงผู้สูงอายุทุกภูมิภาคร่วมสนทนาผ่านทุกแฟลทฟอร์มของสถานี

ผศ.อนุพร สุวรรณวาจกกสิกิจ  ผอ.สถานีวิทยุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หรือสถานีวิทยุม.ก.(Kurplus+)กล่าวภายหลังนำคณะเจ้าหน้าที่สถานีดูความก้าวหน้าการดำเนินงานความร่วมมือระหว่างสถานีวิทยุม.ก.กับกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)ณ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุวาสนะเวศม์ ต.บ่อโพง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา 
โดยระบุว่าสถานีวิทยุม.ก.ส่งกระจายเสียงด้วยระบบเอเอ็มเชื่อมโยงกับสถานีใน 4 ภูมิภาค เชียงใหม่ ขอนแก่นและสงขลาครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ  ออกอากาศทั้งในระบบอนาลอคและดิจิทัลในทุกแฟลตฟอร์ม มีทั้งภาพและเสียง ภายใต้เคอร์พลัส(Kurplus+) และยังเป็นหน่วยงานต้นแบบของกสทช.ในการจัดการเนื้อหาหรือคอนเท้นต์ที่สม[บูรณ์แบบและครบวงจรที่สุดในปัจจุบัน
                                     สถานีวิทยุม.ก.ผนึกกรมกิจการผู้สูงอายุ สานต่อ"วาสนะเวศม์โมเดล"ผ่านโรงเรียนทางอากาศ

 “ทำไมเราจึงมาทำเรื่องผู้สูงอายุ เริ่มต้นมาจากการที่เราเป็นสื่อ มองว่าขณะนี้สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทยได้เริ่มขึ้นอย่างเต็มตัวแล้ว ทำอย่างไรที่จะหากิจกรรมหรือความต้องการทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุจริง ๆมาถ่ายทอดให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ จึงเป็นที่มาของการร่วมมือเอ็มโอยู(MOU)กับกรมกิจการผู้สูงอายุ  ข้อหนึ่งในเอ็มโอยูระบุว่าเราจะพัฒนาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุร่วมกัน”

                    สถานีวิทยุม.ก.ผนึกกรมกิจการผู้สูงอายุ สานต่อ"วาสนะเวศม์โมเดล"ผ่านโรงเรียนทางอากาศ

                   บรรยากาศภายในูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุวาสนะเวศม์ จ.พระนครศรีอยุธยา
 

ผอ.สถานีวิทยุม.ก.กล่าวต่อว่าหลังจากที่ทางสถานีมองหาจุดเด่นจะต้องทำให้เกิดผลอย่างจริงจัง ก็พบว่าเรามีความเชี่ยวชาญด้านโรงเรียนทางอากาศ ซึ่งไม่เหมือนโรงเรียนผู้สูงอายุปกติ  จากนั้นจึงได้เริ่มดำเนินการแห่งแรกที่เทศบาลเมืองแม่เหียะ จ.เชียงใหม่ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดยเทศบาลเมืองแม่เหียะนั้นมีพื้นที่ครอบคลุมตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นที่พักอาศัยของข้าราชการเกษียณ  ปรากฏว่ามีผู้สุงอายุให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก แต่สามารถรับได้เพียง 100 คน เนื่องจากมีงบประมาณจำกัด แต่ถึงอย่างไรก็ทำให้ที่นี่กลายเป็นโมเดลโรงเรียนผู้อายุทางอากาศเป็นแห่งแรกของประเทศไทย  โดยความร่วมมือระหว่างกรมกิจากรผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองแม่เหียะและสถานีวิทยุม.ก. ภายใต้โครงการ”แม่เหียะโมเดล”
“โครงการแม่เหียะโมเดล ถือเป็นจุดกเริ่มต้นโรงเรียนผู้สูงอายุทางอากาศที่ร่วมกับกรมกิจการผู้สูงอายุ  เราเปิดให้ผู้สูงอายุจำนวน 100 คนมาลงทะเบียนกับเทศบาลแล้วมีการกำหนดหลักสูตรร่วมกับกรมกิจการผู้อายุแล้วผลิตรายการผู้สูงอายุจำนวน 25 ตอน ในวันปฐมนิเทศน์เราแจกวิทยุให้กลับบ้านไปคนละเครื่อง  แล้วนัดหมายกันฟังโดยกลุ่มผู้อายุเอง บอกเขาตื่นเช้าก่อนตีห้า  พอตีห้าเราปล่อยรายการออกไปเฉพาะเสียงอย่างเดียวผ่านเครื่องวิทยุที่เราแจกไป จากนั้น 4 โมงเย็นเราปล่อยอีกรอบดูได้ทั้งภาพและเสียงผ่านโทรศัพท์มือถือ  พอ 3 ทุ่มปล่อยอีกรอบในยูทูป ใน 1 วิชาเขาจะดูได้ถึง 3 ครั้ง”

                 สถานีวิทยุม.ก.ผนึกกรมกิจการผู้สูงอายุ สานต่อ"วาสนะเวศม์โมเดล"ผ่านโรงเรียนทางอากาศ
ผศ.อนุพร ระบุอีกว่า  หลังจากจบที่แม่เหียะก็มาต่อที่ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุวาสนะเวศม์ ต.บ่อโพง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ภายใต้โครงการ”วาสนะเวศม์โมเดล” ผ่านการศึกษาตามอัชธยาศัย โดยมีรายการมีอยู่ 1 รายการที่ทางสถานีวิทยุม.ก.ออกอากาศในทุกวันศุกร์ชื่อรายการว่า”ศุกร์สูงวัยสุขใจใช่เลย” ออกอากาศทุกวันศุกร์ในทุกแฟลตฟอร์ม 

                   สถานีวิทยุม.ก.ผนึกกรมกิจการผู้สูงอายุ สานต่อ"วาสนะเวศม์โมเดล"ผ่านโรงเรียนทางอากาศ
“รายการศุกร์สูงวัยสุขใจใช่เลย” ข้อมูลทั้งหมดถูกส่งไปจากที่นี่นะครับ  เราเริ่มเปิดตัวที่งานปิดโรงเรียนผู้สูงอายุร่วมกับท่านผู้ว่าฯอยุธยา จากวันนั้นจนถึงบัดนี้ดำเนินการมาได้เกือบ 2 ปีแล้ว ความตั้งใจจริง ๆ อยากให้กลุ่มผู้ฟังผู้สูงอายุได้มีโอกาสพูดคุยกันสด ๆ จากทุกภูมิภถาคของประเทศเช่น กลุ่มผู้ฟังทางใต้คุยกับกลุ่มผู้ฟังทางเหนือ ทางอีสานหรือทางภาคกลางเพื่อจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งตรงนี้เป็นโจทย์ที่เราจะต้องดำเนินการต่อไป”ผอ.สถานีวิทยุม.ก.กล่าวและว่า
 หลังจากวาสนะเวศม์โมเดลเกิดขึ้น จากนั้นก็ไปทำต่อที่จ.ขอนแก่น ภายใต้โครงการ”ขอนแก่นโมเดล”เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ขณะที่เริ่มโครงการโรงเรียนผู้สูงอายุทางอากาศที่จ.ขอนแก่น เริ่มมีการระบาดของโควิด-19 แล้ว จึงมีการเปลี่ยนวิธีการปฐมนิเทศจากปกติเป็นปฐมนิเทศน์ทางอากาศผ่านแอพพลิเคชั่นของสถานีวิทยุม.ก.ในโทรศัพท์มือถือแทน ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จด้วยดี โดยมีผู้ว่าฯขอนแก่นและอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุเป็นประธานร่วมเปิดโครงการฯ 
 ขณะที่ นางกันตา ดีเติม ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุวาสนะเวศม์ จ.พระนครศรีอยุธยา  กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)กล่าวเสริมว่าสำหรัยบศูนย์ฯแห่งนี้ได้เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2530  โดยสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่18  เป็นผู้ริเริ่มสร้างสถานสงเคราะห์แห่งนี้  ปัจจุบันทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ 3 กลุ่ม กลุ่มเอ กลุ่มบีและกลุ่มซี มีผู้สูงอายุอยู่ในความดูแลรวมจำนวนทั้งสิ้น 200 คน 

                              สถานีวิทยุม.ก.ผนึกกรมกิจการผู้สูงอายุ สานต่อ"วาสนะเวศม์โมเดล"ผ่านโรงเรียนทางอากาศ

                                                                          กันตา ดีเติม

                                       
“เรามีกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุผ่านมิติต่าง ๆ ไม่ว่ามิติด้านสุขภาพ เรามีนางพยาบาลคอยฟื้นฟู ในเรื่องการพาออกกำลังกาย ด้านเศรษฐกิจ เรามีอาคารอายุชีวะบำบัดที่จะให้ผู้สูงอายุในนี้ได้ผ่อนคลายความตึงเครียดโดยการสร้างงานสร้างอาชีพแล้วก็มีกิจกรรมอื่น ๆ เช่นโรงเรียนผู้สูงอายุเราดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่ายในจังหวัดที่จะนำวิทยากรมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องของภูมิปัญญากับผุ้สูงอายุ”
นางกันตา เผยต่อว่า นอกจากนี้ยังได้ร่วมบูรณาการทุกหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกแม้กระทั่งกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์โดยสถานีวิทยุม.ก.ในเรื่องของโรงเรียนผู้สูงอายุทางอากาศ  ซึ่งได้ขับเคลื่อนมาเกือบ 2 ปีแล้วเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมและรับองค์ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
“ปัญหาตอนนี้คือเรื่องการตลาด สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผู้อายุทำมาแล้วขายไม่ได้ เพราะไม่มีตลาดรองรับ ส่วนลูกค้าที่ซื้อไปส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ตั้งใจซื้อแต่อยากช่วยผู้สูงอายุมากกว่า เมื่อสินค้าขายไม่ได้ พวกเขาก็ไม่มีกำลังใจที่จะทำ สิ่งที่อยากจะให้ทางสถานีวิทยุม.ก.ช่วยเหลือเพิ่มเติมก็คืออยากให้หาช่องทางการตลาดเพิ่ม ซึ่งลูกค้าที่ซื้อทุกวันนี้มาจากผู้เข้ามาเยี่ยมชมศูนย์ฯเป็นหลัก”ผอ.ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุวาสนะเวศม์กล่าว 
ด้านนายวีระพันธ์ สังขมาลย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน หนึ่งในคณะอนุกรรมการดำเนินการของสถานีฯกล่าวยอมรับว่าการค้าขายทางออนไลน์ เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สินค้าและผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักของตลาดผู้ซื้อมากขึ้น ซึ่งการทำประชาสัมพันธ์ในช่องทางนี้ จึงจำป็นต้องมีเจ้าหน้าที่หรือคนรุ่นใหม่ในชุมชนของกลุ่มผู้สุงอายุที่อยู่ในความดูแลของศูนย์ฯได้รับการพัฒนาทักษะการผลิตสื่อออนไลน์อย่างมืออาชีพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มช่องทางการตลาดการจำหน่ายสินค้าชุมชนนั้น ๆ มากขึ้นด้วย
“ทางสำนักส่งเสริมฯยินดีที่จะมาทำการฝึกอบรมเทรนนิ่งการทำสื่อออนไลน์ให้กับทางเจ้าหน้าที่และกลุ่มคนรุ่นใหม่ในชุมชนที่สนใจ ทั้งการถ่ายภาพ การไลน์สด การตัดต่อเพื่อทำเป็นสารคดี แม้กระทั่งการผลิตวิดีทัศน์เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาผ่านผู้สูงอายุ เช่น กลุ่มทำมีดเหรัญญิก กลุ่มทำตุ๊กตา หรือกลุ่มทำขนมกระยาสารท ขอให้ทางศูนย์ฯทำหนังสือเสนอมา ทางสำนักส่งเสริมพร้อมส่งทีมงานดำเนินการให้ทันที” ผช.ผอ.สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมฯกล่าวย้ำทิ้งท้าย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ