Lifestyle

"มือที่สร้าง งานที่สรรค์" สองพระหัตถ์เพื่อชาวไทยภูเขา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นิทรรศการ "คิดถึง...สมเด็จย่า" ครั้งที่ 22 ภายใต้คอนเซ็ปต์ "มือที่สร้าง งานที่สรรค์"

          ด้วยน้ำพระราชหฤทัยที่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ “สมเด็จย่า” ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย โดยทรงงานด้วยสองพระหัตถ์ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างความสุขให้ปวงชนชาวไทยตลอดพระชนม์ชีพ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพในปี 2562 นี้ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ร่วมกับ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จัดนิทรรศการ “คิดถึง...สมเด็จย่า” ครั้งที่ 22 ภายใต้คอนเซ็ปต์ “มือที่สร้าง งานที่สรรค์” ตั้งแต่วันนี้-27 ตุลาคม ที่ไลฟ์สไตล์ ฮอลล์ ชั้น 2 ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานเปิดงาน 

"มือที่สร้าง งานที่สรรค์" สองพระหัตถ์เพื่อชาวไทยภูเขา

          ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ในความทรงจำของพสกนิกรไทยทุกคนต่างซาบซึ้งต่อพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงงานเพื่อประโยชน์สุขให้ผืนแผ่นดินอย่างมากมาย ทั้งสองพระหัตถ์ทรงงานอย่างหนักด้วยความห่วงใยในทุกข์สุขของราษฎรไทยอยู่เสมอ เสมือนดั่งมือที่คอยช่วยเหลืออุ้มชู ประคองให้สามารถพลิกฟื้นผืนดินให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์ ประชาชนสามารถเลี้ยงดูตัวเอง ครอบครัว และประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน

"มือที่สร้าง งานที่สรรค์" สองพระหัตถ์เพื่อชาวไทยภูเขา

"มือที่สร้าง งานที่สรรค์" สองพระหัตถ์เพื่อชาวไทยภูเขา

 

          สำหรับนิทรรศการครั้งนี้นอกเหนือจากการนำเสนอพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงจากอดีตจนถึงปัจจุบันของผืนแผ่นดินในภาคเหนือและดอยตุงแล้ว ยังเชิญศิลปินช่างภาพถ่ายรูปมือของคนทำงานที่ดอยตุง เช่น คนปลูกกาแฟ คนคั่วกาแฟ คนทำกระดาษสา คนปั้นดิน คนปลูกดอกไม้ คนทำสวน คนทอผ้า และปักผ้า โดยไม่เน้นหน้าของคนทำงาน แต่เน้นที่มือ สื่อให้เห็นว่าจากมือของสมเด็จย่าที่ช่วยเหลือประชาชน ทำให้ประชาชนมีอาชีพ สร้างรายได้ และใช้มือนี้สานต่องานที่พระองค์ท่านได้เริ่มไว้ สร้างสรรค์เป็นงานและอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน

"มือที่สร้าง งานที่สรรค์" สองพระหัตถ์เพื่อชาวไทยภูเขา

ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล-ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ-เกตุวลี นภาศัพท์

          ด้าน ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า สมเด็จย่าทรงมีพระราชปณิธานที่จะสร้างโอกาสและพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างรอบด้านให้ชุมชนดอยตุง ซึ่งในอดีตขาดต้นทุนชีวิตจึงต้องพึ่งพายาเสพติดและงานผิดกฎหมายในการดำรงชีวิต ทรงเล็งเห็นว่ารากเหง้าของปัญหาเหล่านี้คือ “ความยากจน และขาดโอกาส” จึงแก้ไขปัญหาพื้นฐานอย่างรอบด้านทั้ง “ความเจ็บป่วย ความยากจนและความไม่รู้” โดยยึดคนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่สมดุลกับความมั่นคงทางสังคมและความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ โดยใช้ธุรกิจเพื่อสังคมภายใต้แบรนด์ “ดอยตุง” (DoiTung) เป็นกลไกหลักในการดำเนินงานและกรอบแนวคิดการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน หรือ “3S Model” (สามเอส โมเดล) เป็นแกนหลักในการดำเนินงาน ซึ่งมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเรียนรู้และประยุกต์จากหลักการทรงงานและแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 3 ระยะ ได้แก่ อยู่รอด พอเพียง และยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องอย่างยิ่งกับ “เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (SDG Goals) ของสหประชาชาติ

"มือที่สร้าง งานที่สรรค์" สองพระหัตถ์เพื่อชาวไทยภูเขา

          ปัจจุบันโครงการพัฒนาดอยตุงซึ่งเกิดจากสองพระหัตถ์ของสมเด็จย่า จึงไม่ใช่เพียงต้นแบบด้านการแก้ไขปัญหาการปลูกพืชเสพติดเท่านั้น แต่ยังเป็นต้นแบบของการพัฒนาที่ยั่งยืนให้หลายประเทศ ทั้ง เมียนมาร์ อัฟกานิสถาน และอินโดนีเซีย และยังมีคณะศึกษาดูงานเดินทางมาที่ดอยตุงมากมายทั้งในและต่างประเทศเพื่อมาเรียนรู้และนำกลับไปประยุกต์กับบริบทของเขา และที่สำคัญมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงยังใช้ศักยภาพที่มีส่งเสริมและต่อยอดธุรกิจเพื่อสังคมอื่นๆ ในประเทศไทย ซึ่งเป็นการสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จย่าอีกทางหนึ่ง

"มือที่สร้าง งานที่สรรค์" สองพระหัตถ์เพื่อชาวไทยภูเขา

"มือที่สร้าง งานที่สรรค์" สองพระหัตถ์เพื่อชาวไทยภูเขา

บรรยากาศภายในงาน

          นิทรรศการ “คิดถึง...สมเด็จย่า” ครั้งที่ 22 จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “มือที่สร้าง งานที่สรรค์” นำเสนอพระราชประวัติตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็น “เด็กหญิงสังวาลย์” ไล่เรียงมาจนถึง “สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” และเรื่องราว พระราชกรณียกิจ โครงการในพระราชดำริที่ช่วยให้วิถีชีวิตของของกลุ่มชาติพันธุ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ด้วยพระราชปณิธาน “ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง” โดยทรงจัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมผลผลิตชาวเขาไทยในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อปี 2515 กระทั่งเปลี่ยนชื่อเป็น “มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง” ในปัจจุบัน

"มือที่สร้าง งานที่สรรค์" สองพระหัตถ์เพื่อชาวไทยภูเขา

กันต์ สุสังกรกาญจน์

          ภายในงานยังจะได้พบภาพถ่ายเล่าเรื่องราวของดอยตุงด้วยคอนเซ็ปต์ “มือที่สร้าง งานที่สรรค์” ผ่านมุมมองของศิลปิน 2 ท่าน ได้แก่ กันต์ สุสังกรกาญจน์ และ วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมเวิร์กช็อป “เวลาเป็นของมีค่า” 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ