Lifestyle

เรียนรู้ แลกเปลี่ยน ดันไทยสู่ผู้นำหัตถศิลป์อาเซียน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผลักดันงานหัตถศิลป์ไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ

          รู้หรือไม่ว่าในแง่ขององค์ความรู้เรื่องศิลปหัตถกรรม ไทยถือเป็นผู้นำประเทศในอาเซียน ด้วยมีการสืบสาน อนุรักษ์ และต่อยอดอย่างเป็นระบบ เรื่องนี้ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ “SACICT” เน้นย้ำความมั่นใจในโอกาสนัดแนะสื่อมวลชนเพื่อบอกกล่าวถึงภารกิจในการส่งเสริมและสืบสานงานศิลปหัตถกรรมไทย เป็นศูนย์องค์ความรู้งานหัตถศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และภาพรวมตลอดจนทิศทางการดำเนินงานในปี 2562 พร้อมผลักดันงานหัตถศิลป์ไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ที่ห้องเดอะ ลิฟวิ่ง รูม โรงแรมพาร์ค ไฮแอท กรุงเทพฯ เมื่อวันก่อน

เรียนรู้ แลกเปลี่ยน ดันไทยสู่ผู้นำหัตถศิลป์อาเซียน

อัมพวัน พิชาลัย 

          การจะยกระดับประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านศิลปหัตถกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้นั้น อัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่าต้องดำเนินการผ่านแนวทางการพัฒนา 4 ด้านคือ บุคคลากร ผลิตภัณฑ์ การตลาด และ เครื่องมือ เริ่มจากการพัฒนาคน เป็นสิ่งแรกที่ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพฯ ให้ความสำคัญและพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2552 โดยจัดกิจกรรมคัดสรรและเชิดชูเกียรติบุคคลทรงคุณค่า ประกอบด้วย ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม เพื่ออนุรักษ์คุณค่าภูมิปัญญา ทักษะฝีมือและองค์ความรู้เชิงช่างที่อยู่ในตัวบุคคลไม่ให้สูญหายไปและส่งต่อไปสู่รุ่นลูกหลาน 

เรียนรู้ แลกเปลี่ยน ดันไทยสู่ผู้นำหัตถศิลป์อาเซียน

ผลิตภัณฑ์จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ  

เรียนรู้ แลกเปลี่ยน ดันไทยสู่ผู้นำหัตถศิลป์อาเซียน

ผลิตภัณฑ์จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ  

          ถัดมา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมจากความดั้งเดิมสู่ความร่วมสมัย ในโครงการ “SACICT Craft Trend” เน้นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของตลาด  ต่อด้วย การพัฒนาตลาด โดยสร้างเครือข่ายการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร เช่น คิง เพาเวอร์, ไอคอน สยาม และสตาร์บัค เป็นต้น รวมถึงการเพิ่มช่องทางแอปพลิเคชั่น SACICT SHOP และกิจกรรมการตลาดที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วย งานอัตลักษณ์แห่งสยาม, คราฟท์ แบงค็อก, ฝ้ายทอใจ และ งานชีวิตใหม่ ใต้ร่มพระบารมี นอกจากนี้ได้ร่วมกับองค์กรชั้นนำระหว่างประเทศนำงานศิลปหัตถกรรมไทยไปจัดแสดงและจำหน่าย โดยช่วงกลางปีนี้เราเป็นหน่วยงานเดียวที่ได้รับเชิญให้ร่วมงาน “เรฟเวเลชั่นส์” งานแสดงไฟน์ อาร์ต ระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดของยุโรปที่ประเทศฝรั่งเศส

เรียนรู้ แลกเปลี่ยน ดันไทยสู่ผู้นำหัตถศิลป์อาเซียน

เรียนรู้ แลกเปลี่ยน ดันไทยสู่ผู้นำหัตถศิลป์อาเซียน

ผลิตภัณฑ์จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ  

          แนวทางที่สี่ การพัฒนาเครื่องมือ (ระบบ Archives)  บิ๊ก ดาต้า โดยวางระบบสืบค้นข้อมูลงานหัตถกรรมในรูปแบบจดหมายเหตุ ในระยะแรกเป็นการจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้ใน 10 ประเภท ได้แก่ เครื่องหิน เครื่องดิน เครื่องโลหะ เครื่องจักสาน เครื่องไม้ เครื่องกระดาษ เครื่องทอ เครื่องรัก เครื่องหนัง และอื่นๆ โดยรวบรวมองค์ความรู้จากตัวบุคคลผ่านครูและทายาท รวมถึงแหล่งเรียนรู้ทั้งพิพิธภัณฑ์ ศูนย์ข้อมูลความรู้ด้านต่าง ๆ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และสืบสานอย่างถูกต้องตามรากภูมิปัญญาของไทย

เรียนรู้ แลกเปลี่ยน ดันไทยสู่ผู้นำหัตถศิลป์อาเซียน

ผลิตภัณฑ์จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ  

          ทั้งนี้ ในการที่ไทยเป็นประธานอาเซียน และในปี 2562 เป็น “ปีแห่งวัฒนธรรมอาเซียน” ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพฯ ได้ร่วมกับเครือข่ายองค์กรพันธมิตรด้านศิลปหัตถกรรมในอาเซียนในการดำเนินงานต่าง ๆ อาทิ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยในวัฒนธรรมร่วม จัดขึ้นเป็นปีที่ 5 เพื่ออนุรักษ์และสืบสานหัตถกรรมที่ใกล้สูญหาย พร้อมโครงการประกวดการออกแบบงานศิลปหัตถกรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยคัดเลือกสุดยอดนักสร้างสรรค์งานหัตถกรรมในภูมิภาคอาเซียน และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และทักษะในการสร้างสรรค์งานหัตถกรรม เพื่อสร้างเครือข่ายนักสร้างสรรค์หัตถกรรมอาเซียน ทำให้เกิดการสืบสานภูมิปัญญาและพัฒนางานศิลปหัตถกรรมอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียนให้คงอยู่ และสามารถปรับตัวเข้ากับบริบททางสังคมและประชาคมโลก อันจะสร้างความยั่งยืนทางวัฒนธรรมของอาเซียนต่อไป

เรียนรู้ แลกเปลี่ยน ดันไทยสู่ผู้นำหัตถศิลป์อาเซียน

ผลิตภัณฑ์จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ  

          “การแลกเปลี่ยนความรู้กับประเทศต่างๆ เราทำมาตลอด ปีแรกๆ เอาคนของเราไปศึกษาและทำงานร่วมกับเขา จนเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ต่างๆ อันแรกเลยคือเครื่องไม้เครื่องมือที่ต่างกัน ก็จะได้เห็นว่าถ้าใช้เครื่องมือแบบนี้ๆ ก็จะทำงานได้ง่ายขึ้น อันที่สองคือวิธีการทำงาน บางประเทศเขามีการจดวัตถุดิบ ผสมนั่นนี่ และวิธีทำไว้หมดเลย แค่คนไทยชอบลองผิดลองถูกแล้วทำใหม่ แบบนี้เสียเวลา อีกอันหนึ่งคือวิธีคิดต้นทุนแล้วตั้งราคา ไปเห็นบางประเทศเขาจดทุกอย่าง แม้กระทั่งเวลาที่เสียไป คิดละเอียดมาก ทำให้ได้ราคาที่แท้จริง แต่คนไทยคิดราคารวบยอดทีเดียวจนบางครั้งลืมค่าภูมิปัญญาที่เราสั่งสมมา 

เรียนรู้ แลกเปลี่ยน ดันไทยสู่ผู้นำหัตถศิลป์อาเซียน

เรียนรู้ แลกเปลี่ยน ดันไทยสู่ผู้นำหัตถศิลป์อาเซียน

ผลิตภัณฑ์จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ  

          เราพบว่าคนที่กลับมามีพัฒนาการอย่างเห็นได้ชัด อย่างการทอผ้าบางคนจากที่เคยทอได้แค่หน้าพอแลกเปลี่ยนความรู้กลับมาก็ทดใส่ตา จมูก ปาก เป็นหน้าคนที่สมบูรณ์ เห็นการพัฒนา นี่คือความเปลี่ยนแปลง ขณะที่เราเองก็จะมีการบังคับด้วยว่าให้ทำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เสมอเพื่อไม่ให้จำเจ อย่างปีนี้เราจะเอานักออกแบบไปด้วยหนึ่งคนต่อหนึ่งโครงการ เพื่อเวลาลงพื้นที่นักออกแบบจะมีมุมมองความคิดที่ต่างออกไป เกิดการทำการบ้าน มีการระดมสมองตกผลึกความหลังจากไปเจออะไรมา แต่ก่อนไปเราก็เลือกคนไปนะต้องพร้อมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ไม่ตีกรอบตัวเอง แล้วมาแบ่งปันให้คนอื่นๆ ได้” อัมพวัน กล่าวทิ้งท้าย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ