Lifestyle

มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80ฯ สืบต่อโขนไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80ฯ จัดงานแสดงโขนเพื่อให้เยาวชนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมไทย

    แม้การประกาศอย่างเป็นทางการของยูเนสโก ที่จะขึ้นทะเบียนโขนไทยเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมวลมนุษยชาติในปี 2561 ยังมาไม่ถึง แต่สิ่งสำคัญคือคนไทยต่างรู้ว่าโขนไทยเป็น “มรดกเรา” ที่สืบทอดกันมาช้านานผ่านลมหายใจของเยาวชนและคนโขนรุ่นต่อรุ่นจนมาถึงปัจจุบัน

มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80ฯ สืบต่อโขนไทย

มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80ฯ สืบต่อโขนไทย

      มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80ฯ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกหนึ่งหน่วยงานที่ผู้ทำงานเป็นครูอาจารย์ทางศิลปะไทยที่มีความเชื่อตรงกับที่ ศ.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่า “เยาวชนไทยในยุคปัจจุบันนี้ ในธาตุแท้ก็ยังเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์ ถ้าหากว่ามีการชักจูงให้ความเป็นไทยในตัวนั้น ปรากฏออกมาด้วยศิลปะของไทยอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ความเป็นไทยในตัวของเยาวชนก็จะปรากฏออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัดอย่างไม่มีข้อกังขาใดๆ ทั้งสิ้น” 

มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80ฯ สืบต่อโขนไทย

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล

     เหตุนี้ทำให้ทุกปีมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80ฯ จัดงานแสดงโขนเพื่อให้เยาวชนที่เข้ามาเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของไทยและมีโอกาสได้แสดงระดับโรงละครใหญ่ โดยปีนี้ได้เลือกโขนรามเกียรติ์ ชุด “ศึกกุมภกรรณ” ตอน “ปริศนาอสุรี-ขุนกระบี่หลงกล” มาจัดแสดงที่โรงละครอักษรา คิงเพาเวอร์ เมื่อวันก่อน โดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ประธานกรรมการมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80ฯ เปิดเผยว่า 8 ปีก่อนที่เริ่มเปิดสอนนาฏศิลป์ไทยปีแรกมีเยาวชนมาเรียน 70 คน จนตอนนี้เพิ่มเป็น 700 คนแล้ว

มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80ฯ สืบต่อโขนไทย

เด็กๆ เรียนรู้โขน

     ถ้าไปที่สถาบันคึกฤทธิ์ในวันอาทิตย์เวลา 09.00-12.00 น. จะเห็นคน 700 คน ประมาณ 150 คนเรียนดนตรีไทย อีกส่วนหนึ่งเรียนละครรำ แล้วส่วนใหญ่เรียนโขน มีทั้งโขนยักษ์ โขนลิง กระจายเต็มพื้นที่ และไปที่ สสส. ด้วย ทาง สสส.ก็กรุณาเรามากให้ทั้งสถานที่และให้เงินสนับสนุน ทำให้เรามีเงินจ้างครู เพราะเป็นครูระดับศิลปินแห่งชาติทั้งนั้น ซึ่งการสอนที่นี่ไม่ต่างจากกรมศิลปากร ใช้แบบแผนโขน ละครรำ ดนตรีไทย เดียวกับกรมศิลปากร สอนเด็กๆ โดยไม่คิดค่าเล่าเรียน เพราะค่าเรียนคือมรดกศิลปะของชาติเราถูกส่งต่อไปเก็บไว้ในตัวลูกหลานแล้ว

มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80ฯ สืบต่อโขนไทย

จตุพร รัตนวราหะ

     ด้าน “ครูต้อย” จตุพร รัตนวราหะ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-โขน) ลูกศิษย์เอกของ ศ.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ที่ยังคงถ่ายทอดวิชาการรำโขนให้แก่เยาวชนที่สถาบันคึกฤทธิ์ทุกวันอาทิตย์มาตลอด 8 ปี บอกว่า การขึ้นทะเบียนโขนไทยของยูเนสโก ถ้าทำได้ก็ดีใจ ประชาชนจะได้เห็นคุณค่ามากขึ้น แต่ถึงไม่ขึ้นก็ไม่เป็นไร เพราะศิลปะไทยอย่างโขน นาฏศิลป์ ดนตรีไทยเป็นมรดกของเราอยู่แล้ว อยู่ที่จะรักษาอย่างไรให้ยั่งยืน เพราะเป็นสมบัติคู่บ้านคู่เมือง เป็นรากเหง้าของเรา ส่วนตัวยินดีถ่ายทอดวิชาให้เพราะคนเหล่านี้คืออนาคตที่จะสืบทอดงานศิลปวัฒนธรรมต่อไป และถึงนักแสดงโขนจะมีจำนวนน้อยลง ครูผู้เป็นพ่อโขนแม่โขนที่สถาบันคึกฤทธิ์ก็ยังภูมิใจเมื่อมีเยาวชนให้ความสนใจมาเรียนรู้ ทำให้ศิลปวัฒนธรรมของเรามีชีวิตชีวา

มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80ฯ สืบต่อโขนไทย

ศึกกุมภกรรณ

มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80ฯ สืบต่อโขนไทย

      ถึงวันนี้ศิลปะของโขนไทยยังไม่ได้ถูกประกาศเป็นมรดกโลก แต่ถือเป็นมรดกเราที่ถูกส่งต่ออย่างภาคภูมิใจ ในสายตาของครู ครอบครัว ผู้ชม และศิลปินเยาวชนโขนทุกคน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ