Lifestyle

ตรวจหามะเร็งลำไส้...ช่วยยืดอายุ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สาเหตุของการเสียชีวิตทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ลำดับสอง รองลงมาจากมะเร็งปอด คือ มะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งหากมีการตรวจพบและเริ่มรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้

แต่อย่างไรก็ตามอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มักจะไม่ปรากฏอาการผิดปกติให้เห็น มะเร็งลำไส้เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติในลำไส้ ซึ่งเซลล์ดังกล่าวจะถูกเรียกว่า “Adenomatous Polyps” ซึ่งเซลล์ดังกล่าวจะเจริญเติบโตขึ้น และขยายขนาดของเซลล์ที่ผิดปกติเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นเนื้อร้าย หรือเซลล์มะเร็ง หากมีการตรวจพบในขั้นต้น โดยใช้วิธีการส่องกล้องขยาย ที่เรียกว่า “Colonoscope” สามารถตรวจลำไส้ใหญ่ตลอดทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นส่วนตรง ส่วนกลาง หรือส่วนท้าย แล้วตัดชิ้นเนื้อที่เรียกว่า “POLYPS” เพื่อมาตรวจหาเซลล์มะเร็งจะเป็นการตรวจถูกต้องและผลลัพธ์ที่แม่นยำในการตรวจหาเซลล์มะเร็ง

อาการที่พบบ่อย
 ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หรืออุจจาระมีลักษณะสีเข้มและมีเลือดปน อุจจาระเหลว และสลับกับแข็งมีอาการเหมือนถ่ายอุจจาระไม่หมด โดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการท้องผูกบ่อยๆ ปวดท้อง ท้องอืด มากกว่า 2-3 วัน อุจจาระมีลักษณะแคบ และเล็กมากกว่าปกติ มีอาการท้องอืดแน่นในช่องท้อง ไม่สบายท้องติดต่อกันเป็นเวลานาน มีอาการปวดถ่ายอุจจาระต้องเข้าห้องน้ำทันที แต่ปรากฏว่ามีการถ่ายอุจจาระเพียงนิดหน่อยเท่านั้น มีการถ่ายอุจจาระไม่สุด น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการเหนื่อยและอ่อนเพลีย ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยของมะเร็งลำไส้ใหญ่ก่อนที่จะมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น

บุคคลที่มีความเสี่ยงสูง
 -ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ โดยเฉพาะญาติสายตรง (เช่น พ่อแม่ ป้า น้า อา ลุง รวมถึง ปู่ ย่า ตา ยาย) บุคคลเหล่านี้ กลุ่มที่มีความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้สืบต่อเนื่อง จากพันธุกรรม ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยก่อนจะมีอายุถึง 48 ปี และบุคคลกลุ่มดังกล่าว ควรได้รับการตรวจเมื่ออายุ 38 ปี
 -ผู้ที่มีการตรวจวินิจฉัยแล้วพบเซลล์ผิดปกติ ในระยะเริ่มต้น (polyps เนื้องอกในลำไส้ใหญ่ หากพบมากมีแนวโน้มกับการเป็นมะเร็งสูง)
 -ผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อในทางเดินอุจจาระ หรือ ลำไส้ใหญ่อักเสบ
 -ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม โรคลำไส้อักเสบ มะเร็งรังไข่
 -ผู้ที่มีอายุ 50 ปี หรือมากกว่านั้น สมควรจะได้รับการตรวจวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่ 
 
การตรวจวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ใหญ่
 การตรวจอุจจาระหาเลือดแฝง เป็นการตรวจวินิจฉัยโดยการนำอุจจาระมาตรวจ ซึ่งบางครั้งอุจจาระอาจมีเลือดปะปน ซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า จำเป็นต้องใช้วิธีการส่องกล้องตรวจ  ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้เป็นแนวทางการตรวจเบื้องต้นในการสืบค้น มะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ดีมากวิธีการหนึ่ง   อย่างไรก็ตามการตรวจวิธีดังกล่าวมีข้อจำกัดคือผลตรวจที่ออกมาเป็นผลบวกหรือ (Positive result) อาจไม่ใช่สาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจเกิดจากสาเหตุของเลือดออกในกระเพาะอาหารก็เป็นได้
 ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีผลการเป็นบวก ควรได้รับการอย่างอื่นที่ควบคู่กันไป เพื่อค้นหามะเร็งลำไส้ ซึ่งการตรวจดังกล่าว เช่น การสวนแป้งตรวจลำไส้ใหญ่  (Barium Enema) ประกอบกับการตรวจการส่องกล้องตรวจลำไส้ส่วนปลายหรือ (Sigmoidoscopic Examination) หรืออาจจะเป็นการส่องกล้องเพื่อตรวจดูลำไส้ใหญ่ทั้งหมด เพื่อตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกติมาวินิจฉัยว่าเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่
 การตรวจแบบส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมด การตรวจชนิดนี้เป็นการส่องกล้องตรวจเพื่อตรวจดูลำไส้ใหญ่ทั้งหมด ซึ่งจะเป็นกล้องขนาดเล็ก และมีแสงไฟเพื่อส่องลงไปดูช่วงบริเวณลำไส้ใหญ่ทั้งหมด หากพบติ่งเนื้อที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งระยะเริ่มต้น ก็สามารถตัดติ่งเนื้อออกได้ในครั้งเดียวกัน การตรวจด้วยการส่องกล้องชนิดนี้ พบว่าสามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งได้ 
โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม
โทร.0-5322-4861

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ