Program Online

บทเรียนล้ำค่า ยูทูบเบอร์ดังทำชานมกระป๋องส่งเซเว่นสุดท้ายขาดทุนยับ 17 ล้าน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

บทเรียนล้ำค่า ยูทูบเบอร์ดังทำชานมกระป๋อง "ซันซุ" (Sun Su) ส่งเซเว่นสุดท้ายขาดทุนยับ 17 ล้าน พร้อมพูดถึงปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจนั้นขาดทุนทั้งๆ ที่สินค้านั้นขายได้

กลายเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ กรณี 2 ยูทูบเบอร์คนดังทั้งหนุ่มกานต์ อรรถกร รัตนารมย์  และ ซารต์ ปัทมพร ปรีชาวุฒิเดช เจ้าของช่อง Bearhug ที่มีผู้ติดตามมากว่า 3.56 ล้านคน ได้แชร์ประสบการณ์การทำธุรกิจซึ่งทั้งคู่ได้ทำชานมกระป๋อง "ซันซุ" (Sun Su) ส่งขายในร้านสะดวกซื้อซึ่งผลปรากฏว่า ขาดทุนย่อยยับ 17 ล้าน

 

 

ซึ่งทั้ง กานต์ และ ซารต์ ได้เล่าบทเรียนอันล้ำค่าส่งต่อให้คนที่มีความคิดที่จะทำธุรกิจ ชานมกระป๋อง "ซันซุ" (Sun Su) เพื่อที่จะนำบทเรียนของทั้งสองดูเป็นตัวอย่างไปปรับใช้ไม่ให้ผิดพลาดแบบทั้งสอง สำหรับใครก็ตามที่กำลังจะเริ่มทำธุรกิจคลิปนี้น่าจะเป็นคลิปที่จะสอนบทเรียนและข้อควรระวังในการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี 

 

สำหรับทั้ง กานต์ และ ซารต์ ประสบความสำเร็จจากการทำช่องยูทูบ กระทั่งทั้ง 2 คนได้เปิดร้านชานมไข่มุกของเป็นของตัวเองในนามของ "Bearhouse" สาขาแรกตั้งอยู่ที่สยามสแควร์ซึ่งขายดิบขายดีคนต่อคิวซื้อกันแบบยาวเหยียด ประสบความสำเร็จขยายสาขาไปแล้วในปัจจุบันไปอีกเกือบๆ 10 แห่งด้วยกัน

 

จากนั้น ทั้งคู่อยากจะต่อยอดธุรกิจ ด้วยการทำชานมกระป๋องภายใต้แบรนด์ "ซันซุ" (Sun Su) เพื่อไปขายในร้านสะดวกซื้อ หรือ 7-Eleven ราคากระป๋องละ 35 บาท แต่ปรากฏว่า ทั้งสองขาดทุนไป 17 ล้านบาทเลยทีเดียว

 

กานต์ และ ซารต์ เล่าถึงปัจจัยของการขาดทุนย่อยยับถึง 17 ล้านบาท โดยบอกว่าไม่ใช่ว่าชานมนั้นขายไม่ได้ มันขายได้ แต่มันไม่มีกำไร โดยยกตัวอย่างเช่น ยอดขายขายได้ 100 ล้าน แต่เมื่อหักต้นทุนทั้งหมดปรากฏว่าติดลบ 17 ล้าน ซึ่งเกิดจากการที่พวกเราไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์ในการนำสินค้าเข้าเซเว่นมาก่อน ไม่ได้คำนึงถึงภาษีและต้นทุนแฝงต่าง ๆ ที่ต้องเจอในระหว่างทำธุรกิจ

 

อีกปัจจัยหนึ่งก็คือ การไม่ยอมลดต้นทุนในธุรกิจ แม้จะมีสูตรอื่นที่ทำให้พทั้งสองคนสามารถเลี่ยงภาษีความหวานได้ และรสชาติไม่ได้ต่างจากเดิมมากนัก แต่ทั้งคู่ก็ไม่ยอมทำ คิดว่าการปรับสูตรนี้จะเป็นทางรอดให้ชานมกระป๋องให้ไปต่อได้ แต่ซารต์บอกว่า หากปรับสูตรแล้วรู้สึกว่าปรับแล้วเราไม่ภูมิใจในรสชาติ ไม่ภูมิใจในตัวสินค้า สู้ไม่ขายเลยยังจะรู้สึกดีกว่า

 

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ ไทม์มิ่ง หรือระยะเวลาการบริหารความต้องการของลูกค้า ซึ่งแม้กระแสตอบรับจะดีแค่ไหนแต่หากไม่มีสินค้าขายกระแสที่ว่าก็จะไม่สามารถแปลงมาเป็นเงินได้อยู่ดี เช่น เราผลิต 1,000 กระป๋อง แต่ความต้องการลูกค้านั้น 2,000 กระป๋อง คือในช่วงเวลาที่คนต้องการเยอะๆ เราผลิตสินค้าไม่พอ แต่พอกระแสเริ่มดร็อปลงเราดันไปผลิตเยอะ ทำให้เรื่องนี้ไม่มีความสอดคล้องกัน 

 

 

 

คลิปนี้ไม่ได้มีแค่บทเรียนในการทำธุรกิจเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงวิธีคิดและกำลังใจ ด้วยว่าในวันที่ธุรกิจไปต่อไม่ได้ เราจะต้องทำอย่างไรต่อ ซึ่งมันสะท้อนนี้ ถามว่าเครียดไหม แน่นอนว่าเครียดมากๆ แต่เราไม่รู้จะเครียดไปทำไม ถ้าเราเครียดเราจะหาสิ่งดีๆ เข้ามาใหม่ไม่ได้ ถือว่า 17 ล้านนี้เป็นค่าเรียน เป็นประสบการณ์ชีวิต ที่ไม่ต้องไปเรียนที่ไหนอีก

 

ซึ่งทั้งคู่ยังบอกด้วยว่า ตอนแรกคุยกันก็ลังเลว่าจะทำคลิปบอกดีหรือไม่ เพราะด้วยความกังวลที่ว่า เราทำธุรกิจขาดทุน มันอาจจะทำให้ภาพลักษณ์ดูไม่ดี และตามปกติส่วนใหญ่เรามักเห็นแต่คนที่ประสบความสำเร็จออกมาพูดเคล็ดลับความสำเร็จ สุดท้ายเราสองคนตกลงทำเพื่อแชร์ประสบการณ์ต่อ เล่าให้ฟังเพื่อเป็นเคสตัวอย่าง หากใครกำลังรู้สึกล้มเหลวในการทำธุรกิจหรือแม้แต่กำลังจะเริ่มทำธุรกิจอะไรก็ตาม คลิปนี้จะเป็นทั้งบทเรียนและข้อควรระวังทั้งหมดในการที่จะเริ่มทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม

 

 
ขอบคุณคลิปจากยูทูบช่อง Bearhug

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ