Program Online

เทียบฟอร์ม 4 แคนดิเดตหัวหน้า ปชป.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เทียบฟอร์ม 4 แคนดิเดตหัวหน้า ปชป.

ทิศทางการจัดตั้งรัฐบาลจะมีความชัดเจนขึ้นอีกในวันที่ 15 พฤษภาคมนี้ เพราะจะมีการเลือกหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ชุดใหม่ ซึ่งผู้บริหารชุดนี้จะมกับ ส.ส. 52 คน ตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐหรือไม่ หรือว่าจะเป็นฝ่ายค้านอิสระ

ถึงตรงนี้ต้องบอกว่าเป็น "โค้งสุดท้าย" เพราะเหลืออีกเพียง 2 วันเท่านั้น แนวโน้มล่าสุดตอนนี้ คนที่ถูกจับตาว่ามีโอกาสได้นั่งเก้าอี้หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนใหม่มากที่สุด ซึ่งก็ตรงกับโพลล์ของเนชั่นทีวี ก็คือ คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์แต่ก็ใช่ว่าคนอื่นจะสิ้นหวัง เพราะอะไรๆ ก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น ก่อนอื่นเรามาเทียบฟอร์ม 4 ผู้ท้าชิงหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กันก่อนเริ่มจาก คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ เป็นอดีต ส.ส.11 สมัย คว่ำหวอดในแวดวงการเมือง และเชี่ยวชาญงานสภาหาตัวจับยาก เคยเป็นประธานวิปรัฐบาลในยุคที่พรรคประชาธิปัตย์ตั้งรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ และสามารถประคับประคองผ่านมาได้อย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งยังเป็นประธานกรรมาธิการสำคัญๆ หลายชุด ส่วนในซีกฝ่ายบริหาร เคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ และขึ้นชั้น "รัฐมนตรีว่าการ" ที่กระทรวงศึกษาฯ กับกระทรวงสาธารณสุขส่วน คุณพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เคยเป็น ส.ส.มาแล้วทั้งแบบแบ่งเขตใน กทม. และแบบปาร์ตี้ลิสต์ จบนิติศาสตร์ เชี่ยวชาญงานกฎหมาย เคยทำงานเป็นข้าราชการตุลาการและผู้พิพากษา ทั้งยังเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะขณะที่ คุณกรณ์ จาติกวณิช เป็นเพื่อนนักเรียนอังกฤษของคุณอภิสิทธิ์ จบเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เคยเป็นผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ และคร่ำหวอดในวงการธุรกิจอย่างมาก ก่อนจะผันตัวมาเล่นการเมือง เคยเป็น ส.ส.เขตยานนาวา พรรคประชาธิปัตย์ และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ปิดท้ายด้วย คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน รู้จักกันดีในฐานะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 สมัย เป็นนักการตลาดที่ได้รับยอมรับอย่างกว้างขวาง เคยนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย และผ่านงานบริหารองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่มากมายแต่การเลือกหัวหน้าและคณะผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์หนนี้ ไม่ได้เปิดหยั่งเสียงสมาชิกจากทั่วประเทศเหมือนการเลือกหัวหน้าพรรคช่วงก่อนเลือกตั้ง / โดยผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนมีทั้งหามด 307 คน จาก 19 กลุ่ม เช่น กลุ่ม ส.ส. / กลุ่มอดีต ส.ส. / กลุ่มอดีตกรรมการบริหารพรรค / กลุ่มอดีตรัฐมนตรี / กลุ่มอดีตหัวหน้าพรรค / กลุ่มผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น / กลุ่มหัวหน้าสาขาและตัวแทนจังหวัด เหล่านี้เป็นต้นความน่าสนใจของการโหวต และอาจทำให้เกิดการพลิกโผได้ทุกเมื่อ ก็คือแต่ละเสียงใน 307 เสียงนี้ มีน้ำหนักไม่เท่ากัน / โดยกลุ่ม ส.ส.มีน้ำหนักมากที่สุด คือ 70% ส่วนอีก 18 กลุ่มที่เหลือมีน้ำหนักแค่ 30% เท่านั้นส.ส.ประชาธิปัตย์จากการเลือกตั้งหนนี้มี 52 คน แต่ละคนที่ลงคะแนน จะมีค่าเท่ากับ 1.35 คะแนน ส่วนที่ 255 คนจาก 18 กลุ่มที่เหลือ 1 คน มีค่าคะแนน 0.12 คะแนน / เทียบง่ายๆ คือ 1 เสียง ส.ส. เท่ากับ 11-13 เสียงของโหวตเตอร์จาก 18 กลุ่ม

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ