Program Online

(คลิปข่าว) เมื่อหญิงไทยเพิ่มบทบาทในเวทีการเมือง

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

(คลิปข่าว) เมื่อหญิงไทยเพิ่มบทบาทในเวทีการเมือง

ดร.ถวิลวดี บุรีกุล ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า เจ้าของรางวัล "สตรีแห่งปี" ประจำปี 2561 ของสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ เผยเนื่องในวาระวันสตรีสากล สิ่งที่ต้องรณรงค์และให้ความสำคัญกันอย่างต่อเนื่อง ก็คือเรื่องความเสมอภาคทางเพศ

 

สำหรับในปีนี้ บ้านเรามีการเลือกตั้ง ทำให้น่าศึกษาว่าพรรคการเมืองต่างๆ ให้ความสำคัญกับการส่งผู้สมัคร ส.ส.ที่เป็นเพศหญิงมากน้อยแค่ไหน เพราะรัฐธรรมนูญ ม.90 เขียนไว้ชัดการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ให้คำนึงถึงความเท่าเทียมระหว่างชายหญิงด้วย

 

จากการตรวจสอบในภาพรวม พบว่า ผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อมีทั้งหมด 2,810 คน เป็นชาย 2,188 คน คิดเป็นร้อยละ 77.86 ผู้หญิง 622 คน คิดเป็นร้อยละ 22.14 สัดส่วนอยู่ราวๆ 1 ใน 4 ของผู้สมัครทั้งหมด

พบว่า พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครหญิงในระบบบัญชีรายชื่อมากที่สุด คือ พรรครวมพลังประชาชาติไทย ของ "ลุงกำนัน" สุเทพ เทือกสุบรรณ 72 คน ที่เหลือเป็นชาย 68 คน รองลงมาคือพรรคประชาภิวัฒน์ ผู้สมัครหญิง 59 คน ชาย 65 คน ตามด้วยพรรคประชานิยม มีผู้สมัครหญิง 38 คน ชาย 73 คน พรรคภูมิใจไทย มีผู้สมัครหญิง 33 คน ชาย 111 คน พรรคเพื่อชาติ มีผู้สมัครหญิง 30 คน ชาย 113 คน พรรคประชาธิปัตย์ ผู้สมัครหญิง 24 คน ชาย 126 คน ส่วนพรรคการเมืองตั้งใหม่อย่างพรรคพลังประชารัฐ และอนาคคใหม่ มีผู้สมัครหญิงเท่ากันคือ พรรคละ 13 คน ส่วนการส่งผู้สมัคร ส.ส.ระบบแบ่งเขต ในเขตกรุงเทพมหานครที่มีจำนวนเขตเลือกตั้งทั้งสิ้น 30 เขต จำนวนผู้สมัคร 1,207 คน เป็นผู้สมัครหญิง 278 คนคิดเป็นร้อยละ 23.03

 

เขตที่มีจำนวนผู้สมัครหญิงมากที่สุดคือ เขต 8 ลาดพร้าว วังทองหลาง มีผู้สมัครหญิง 16 คนจากผู้สมัครทั้งหมด 34 คน รองลงมาคือเขต 21 พระโขนง บางนา มีผู้สมัครหญิง 14 คนจากผู้สมัครทั้งหมด 27 คน ถือว่าเกินกว่าครึ่งหนึ่งของผู้สมัครทั้งเขตด้วยซ้ำ อันดับ 3 เขต 17 หนองจอก มีผู้สมัครหญิง 13 คน จากผู้สมัครทั้งหมด 36 คน และเขต 2 บางรัก สาทร ปทุมวัน มีผู้สมัครหญิง 13 คนเช่นกัน จากผู้สมัครทั้งหมด 31 คน ส่วนเขตที่มีผู้สมัครหญิงน้อยที่สุด คือเขต 6 ราชเทวี เขต 20 สวนหลวง และเขต 14 บึงกุ่ม มีผู้สมัครหญิงเขตละ 6 คนเท่ากัน 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ