ข่าว

เจาะลึกหุ้นทีเด็ดกับ 'ฐากร' พระเอกตัวจริงทีวีดิจิตอล (2)

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ฉบับก่อนได้พูดไปแล้วว่า ฐากร ตัณฑสิทธิ์ ได้ช่วยคิดช่วยผลักดันร่วมกับคณะทำงานและกรรมการ กสทช. จนได้แผนแม่บทเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา อุตสาหกรรมทีวีดิจิตอล

          เกริ่นไปพอสังเขปจากฉบับก่อนที่ “พระเอกตัวจริง” “ฐากร ตัณฑสิทธิ์” เลขาฯกสทช. ได้ช่วยคิดช่วยผลักดันร่วมกับคณะทำงานและกรรมการ กสทช. จนได้แผนแม่บทเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา “อุตสาหกรรมทีวีดิจิตอล” และ พัฒนา“โครงข่ายโทรคมนาคม” ของประเทศ

          องค์รวมของแผนแม่บทนี้มีเนื้อหาดังนี้คือ

          - จะนำคลื่น 2600 Mhz คืนจาก อสมท เพื่อมาประมูลรองรับระบบ 5G

          - นำเงินประมูลบางส่วนในข้อแรก มาเยียวยาผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล โดยแลกกับคลื่น 700 Mhz และให้กลุ่มทีวีดิจิตอล ขยับไปใช้คลื่น 500-600 Mhz แทน

          - นำคลื่น 700 Mhz ไปเสริมศักยภาพโครงข่ายระบบ 4G ที่ยังไม่สมบูรณ์แบบ         

          ด้านกรอบเวลานั้น ปัจจุบัน กสทช. ได้เริ่มทำ Public Hearing ผ่านเว็บไซต์แล้ว และจะสิ้นสุดลงในปลายเดือนกุมภาพันธ์

          หลังจากนั้นจะมีขั้นตอนทางกฏหมายเล็กน้อย เพื่อทำการประกาศลงราชกิจจานุเบกษา และเริ่มการประมูล 5G ภายในเดือนเมษายนไม่เกินพฤษภาคม 2562 นี้

          ในทางคู่ขนาน “คสช.” จะพิจารณาขยายเวลาการชำระเงินการประมูล 4G งวดที่ ___ มูลค่ากว่า 1.5 แสนล้านบาท ให้กลุ่มบริษัทโทรคมนาคม 3 เจ้า คือ AIS, DTAC และ True

          โดยจุดประสงค์คือเพื่อให้ผู้ประกอบการมีทุน

          วงเงินเพียงพอไปประมูลคลื่น 5G โดยดิฉันคาดการณ์ว่า คสช. น่าจะเลื่อนชำระให้ไปอีกประมาณ 7-8 ปี

          แผนนี้ถือว่าเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ถือเป็น วิน-วิน จริงๆ ประเทศไม่เสียประโยชน์และได้เงินจากการประมูล 5G ส่วนประชาชนและเศรษฐกิจประเทศก็ได้ก้าวล้ำไปกับโครงข่ายระบบ 5G อย่างทันโลก ด้านอุตสาหกรรมทีวีดิจิตอลก็ได้รับการแก้ไขและเยียวยาอย่างเหมาะสม

          ในด้านการลงทุนและตลาดหุ้น หากแผนเยียวยานี้สำเร็จ ซึ่งคาดว่าภายในเดือนพฤษภาคมปีนี้ บริษัทที่จะได้ประโยชน์กลุ่มโทรคมนาคม 3 เจ้าและกลุ่มผู้ประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิตอล

          ในกลุ่มทีวีดิจิตอล หากวิเคราะห์เจาะลึกเป็นรายบริษัท ผู้ได้ประโยชน์สูงสุดคือ บมจ. บี อีซี เวิลด์ หรือ “กลุ่มช่อง 3” เพราะมีใบอนุญาต 3 ใบ

          รองลงมาคือกลุ่มบริษัทที่มีใบอนุญาต 2 ช่อง ซึ่งประกอบด้วย บมจ.เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป หรือ “NMG”, บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ “กลุ่ม TRUE”, บมจ. จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ หรือ“GRAMMY” และ  บมจ. อสมท หรือ “MCOT”

          กลุ่มสุดท้ายคือ บริษัทที่มีใบอนุญาตเพียง 1 ใบ บมจ.โมโน เทคโนโลยี หรือ MONE บมจ.เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ หรือWORK บมจ. อาร์เอส หรือ RS บมจ. อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง หรือ AMARIN และ บมจ. นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น หรือ NEWS

          โดยสรุปของการเยียวยาคือ

          1. ทุกช่องไม่ต้องจ่ายค่าโครงข่าย (Mux) อีก ซึ่งแปลได้ว่า Operation Cost หรือต้นทุนต่อปีจะลดลงไปกว่า 60 ล้านบาท เป็นระยะเวลาจนสิ้นสัญญา หรือประมาณ 9 ปีเศษ

          2. ผู้ประมูลจะได้รับเงินคืน (ในกรณีที่จ่ายค่างวดตามกำหนด) หรือไม่ต้องจ่ายเพิ่ม (ในกรณีที่ขอพักหนี้) สำหรับค่าใบอนุญาตงวดที่ 5 และ 6

          สำหรับผู้ถือใบอนุญาต HD จะได้ประโยชน์ ประมาณ 1,000ล้านบาท ผู้ถือใบอนุญาต SD ได้ประโยชน์ประมาณ 750 ล้านบาท ผู้ถือใบอนุญาตข่าวได้ประโยชน์ราว 450 ล้านบาท และช่องเด็กได้ประโยชน์ราว 200 ล้านบาท

          นักลงทุนจะรักใคร เชียร์หุ้นตัวไหนก็แล้วแต่เลือกนะเจ้าคะ... ดิฉันทำตารางคำนวณแบบคร่าวๆ ไว้ให้แล้ว

          ยาทิพย์โอสถจากรัฐในครั้งนี้ ถือเป็นความลงตัวที่สมบูรณ์แบบสำหรับประเทศชาติ เหลือเพียงแต่ทำให้สำเร็จตามกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ และหวังว่ามารคงไม่มาผจญหรือทำเรื่องให้เป็นประเด็นการเมืองอีก!!

 

เจาะลึกหุ้นทีเด็ดกับ 'ฐากร' พระเอกตัวจริงทีวีดิจิตอล (2)

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ