ประชาสัมพันธ์

เปิดใจ..'บัณฑิต สาครวิศวะ' ผอ.การท่าเรือกรุงเทพ คนใหม่

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เปิดใจ..'บัณฑิต สาครวิศวะ' ผอ.คนใหม่ ชู 'ท่าเรือกรุงเทพ' เป็นCity Por ศูนย์กระจายสินค้าของกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ นำเทคโนโลยีมาบูรณาการใช้แบบไร้รอยต่อ เพื่อมุ่งสู่มาตรฐานท่าเรือชั้นนำระดับโลก เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ในปี 2573

          นายบัณฑิต สาครวิศวะ อดีตรองผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง เปิดใจให้สัมภาษณ์หลังได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการท่าเรือกรุงเทพ คนใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ตอบชัดเจนถึงคำถามประเด็น 4 ดังนี้ 

 

เปิดใจ..'บัณฑิต สาครวิศวะ' ผอ.การท่าเรือกรุงเทพ คนใหม่  

          ถาม: เนื่องในโอกาสที่ท่านเข้ารับตำแหน่งใหม่ ท่านมีแนวนโยบายในการขับเคลื่อนท่าเรือกรุงเทพอย่างไร

          ผอ.การท่าเรือกรุงเทพ : ตามพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในข้อ “ประกอบและส่งเสริมกิจการการท่าเรือเพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน” ซึ่งเป็นคำที่จะตอบโจทย์ได้ว่าจะกำหนดให้ท่าเรือกรุงเทพเป็นไปในทิศทางใด เมื่อผมเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการท่าเรือกรุงเทพจึงได้กำหนดนโยบายให้ท่าเรือกรุงเทพเป็น City Port โดยการท่าเรือฯ มีท่าเรือแหลมฉบังเป็น Gateway สำหรับรองรับเรือขนาดใหญ่ 

 

          ดังนั้น City Port จะเป็นศูนย์สนับสนุนการดำเนินงานการขนส่งสินค้าของท่าเรือแหลมฉบัง ในปัจจุบันการขนส่งสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นการขนส่งทางตู้คอนเทนเนอร์ เมื่อสินค้าขนส่งผ่านทางเรือแล้ว จะใช้รถบรรทุกขนสินค้าเข้าไปในเมือง เพราะฉะนั้นท่าเรือกรุงเทพจึงเป็นส่วนสนับสนุนด้าน Shift Mode ทางเรือจากท่าเรือแหลมฉบัง 

 

          ทั้งนี้ ธุรกิจท่าเรือจะต้องลดผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่ร่วมกันในเมือง โดยจะเร่งพัฒนาท่าเรือกรุงเทพเป็นศูนย์กระจายสินค้าของกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ ซึ่งจะเกิดประโยชน์แก่ประชาชนในการบริโภคสินค้าและบริการที่ถูกลง 

 

          นอกจากนี้ ท่าเรือกรุงเทพจะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาในการบริหารจัดการที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างการขนส่งทางน้ำกับการขนส่งรูปแบบอื่นๆ อย่างไร้รอยต่อ รวมทั้งบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาคการขนส่งอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพด้านการขนส่งในภาพรวม

 

          ไม่เพียงเท่านั้น ท่าเรือกรุงเทพจะต้องเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสนับสนุนภาคเอกชนด้านการเชื่อมโยงการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ให้มากขึ้น เพื่อร่วมกันผลักดันห้การท่าเรือฯ บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ คือ เป็นท่าเรือที่ได้มาตรฐานระดับโลก และมีความเป็นเลิศในการขนส่งด้านโลจิสติกส์ โดยเฉพาะที่ท่าเรือกรุงเทพจะต้องเป็นท่าเรือที่สะอาด (Clean) และรักษาสิ่งแวดล้อม (Green Port) ด้วย   

 

เปิดใจ..'บัณฑิต สาครวิศวะ' ผอ.การท่าเรือกรุงเทพ คนใหม่    

          ถาม: 2. โครงการพัฒนาการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และการให้บริการของท่าเรือกรุงเทพมีอะไรบ้าง

          ผอ.การท่าเรือกรุงเทพ: การปรับปรุงลานตู้สินค้า (Container Yard) ในระบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-Automated) เพื่อลดมลพิษ และจะทำให้เป็นท่าเรือที่รักษาสิ่งแวดล้อม (Green Port) ซึ่งจะเปลี่ยนเครื่องมือทุ่นแรงเป็นระบบไฟฟ้าทั้งหมด และมีพนักงานควบคุมอยู่ภายในอาคาร

 

          - ศูนย์กระจายสินค้า จะเริ่มดำเนินการในปี 2565-2566 จะดำเนินการเป็นอาคารทรงสูงใช้ระบบอัตโนมัติ นำสินค้าเข้าและออกจากตู้สินค้า มี Free Zone และมีระบบบริหารจัดการแบบ e-Commerce มีโกดังบรรจุสินค้าส่งออก เพื่อเป็นการลดต้นทุนให้กับระบบโลจิสติกส์

 

          - การขนส่งสินค้าจากทางน้ำเปลี่ยนเป็นทางราง (Shift Mode) จะสามารถขนส่งสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพไปได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ปัจจุบันทางรถไฟภายในเขตรั้วศุลกากร ท่าเรือกรุงเทพ มีเพียง 1 ราง ซึ่งภายในรถไฟ 1 ขบวน มี 30 แคร่ ทำให้ต้องรีบยก เพื่อให้รถไฟขบวนใหม่เข้ามาแทน ในอนาคตผมจะเพิ่มรางรถไฟเป็น 3 ราง โดยการท่าเรือฯ จะบูรณาการร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ Shift Mode จากทางเรือไปสู่ทางรางให้มากขึ้น ทำให้ผู้ใช้บริการขนส่งสินค้าทางถนนลดลง

 

เปิดใจ..'บัณฑิต สาครวิศวะ' ผอ.การท่าเรือกรุงเทพ คนใหม่

 

          - โครงการพัฒนาเส้นทางเชื่อมต่อท่าเรือกรุงเทพและทางพิเศษสายบางนา-อาจณรงค์ (S1) เป็นจุดเชื่อมต่อสำหรับการขึ้น-ลงทางพิเศษบูรพาวิถี จะเริ่มดำเนินการในปี 2566 ซึ่งรถบรรทุกสามารถขนส่งสินค้าเข้าและออกภายในเขตรั้วศุลกากร ท่าเรือกรุงเทพขึ้นทางด่วนได้เลย

 

          ถาม:3.ท่าเรือกรุงเทพมีส่วนในการส่งเสริมด้านนวัตกรรม/ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจท่าเรืออะไรบ้าง

          ผอ.การท่าเรือกรุงเทพ: การท่าเรือฯ ได้พัฒนาระบบ e-Payment มาให้บริการจัดเก็บค่าธรรมเนียมยานพาหนะผ่านท่า ค่าภาระตู้สินค้าขาออก และค่าบริการชั่งน้ำหนักตู้สินค้าอย่างเต็มรูปแบบ โดยผู้ใช้บริการสามารถทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อชำระค่ายานพาหนะผ่านท่า ค่าภาระสินค้าขาออก และค่าบริการชั่งน้ำหนักตู้สินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ล่วงหน้า ก่อนรถบรรทุกตู้สินค้าผ่านท่าจะเข้าประตูตรวจสอบ ซึ่งเป็นการเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ ลดระยะเวลา ลดแรงงาน ลดปัญหาการจราจร และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
       

          ระบบดังกล่าวมีการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อตัดเงินผ่านธนาคารโดยอัตโนมัติ โดยปัจจุบันผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการผ่านธนาคารที่เข้าร่วมโครงการฯ รวม 4 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกสิกรไทย 

 

          ซึ่งการท่าเรือฯ ได้ปรับเปลี่ยนควบรวมค่าธรรมเนียมยานพาหนะผ่านท่า ค่าภาระตู้สินค้าขาออก และค่าบริการชั่งน้ำหนักตู้สินค้ามาจัดเก็บรวมเป็นอัตราเดียว คือ คิดตามประเภทและขนาดของตู้สินค้า อีกทั้งผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบการชำระเงิน พร้อมกับการตรวจสอบข้อมูลใบกำกับการขนย้ายสินค้าขาออกเชื่อมโยงกับระบบข้อมูลตู้สินค้าของท่าเรือกรุงเทพ ก่อนรถบรรทุกนำสินค้าผ่านเข้า-ออก ท่าเรือกรุงเทพได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

      เปิดใจ..'บัณฑิต สาครวิศวะ' ผอ.การท่าเรือกรุงเทพ คนใหม่

 

          ถาม: 4. มุมมองในอนาคตของท่าเรือกรุงเทพจะเป็นอย่างไร

          ผอ.การท่าเรือกรุงเทพ : ท่าเรือกรุงเทพจำเป็นต้องบูรณาการร่วมกับภาคเอกชนในระบบโลจิสติกส์ให้มากขึ้น ช่วยกันสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยรัฐบาลต้องมีการสนับสนุนภาคเอกชนให้มากขึ้น สำหรับวิสัยทัศน์การท่าเรือฯ “มุ่งสู่มาตรฐานท่าเรือชั้นนำระดับโลก ด้วยการให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ในปี 2573” การจะขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ของการท่าเรือฯ ให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้น 

 

          ซึ่งคำว่ามาตรฐานระดับโลกในมุมมองของผมจะเทียบจาก 3 ปัจจัย คือ สภาพแวดล้อม ในด้านสิ่งแวดล้อม การลดมลภาวะให้เป็นท่าเรือที่รักษาสิ่งแวดล้อม (Green Port) เครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี นวัตกรรม เครื่องมือทุ่นแรงต่างๆ ความปลอดภัย  เช่น เครื่องมือที่ใช้น้ำมันเปลี่ยนเป็นเครื่องมือแบบใช้ไฟฟ้า มีการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ และด้านบุคลากร ส่งเสริมบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ อันเป็นหัวใจสำคัญที่วัดได้ เช่น พนักงานขับเครื่องมือทุ่นแรง มีมาตรฐานและมีใบรับรองการทำงาน 

 

          “โดยผมจะเน้นที่ 3 ปัจจัยนี้ ให้ได้มาตรฐาน เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของการท่าเรือฯ และการท่าเรือฯ จะเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนภาคเอกชนในระบบโลจิสติกส์ของประเทศให้เข้มแข็ง”ผอ.การท่าเรือกรุงเทพ กล่าว

 

เปิดใจ..'บัณฑิต สาครวิศวะ' ผอ.การท่าเรือกรุงเทพ คนใหม่

 

เปิดใจ..'บัณฑิต สาครวิศวะ' ผอ.การท่าเรือกรุงเทพ คนใหม่

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ