ประชาสัมพันธ์

ชป.ชี้แจง โครงการสถานีสูบน้ำทะเลหลวง จ.สุโขทัย ล่าช้าเกิดจากสภาพพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลง 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมชลประทานชี้แจง โครงการสถานีสูบน้ำทะเลหลวง จ.สุโขทัย ล่าช้าเกิดจากสภาพพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลง 

นายชัยโรจน์ พฤฒาวงศ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานสุโขทัย ชี้แจงกรณีดังกล่าวว่า กรมชลประทาน    ได้ว่าจ้างให้ บริษัท กฤษดากร คอนสตรัคชั่น จำกัด เพื่อดำเนินการโครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำทุ่งทะเลหลวง(แก้มลิง)จำนวน 5 แห่ง  วงเงินค่าก่อสร้าง ตามสัญญา 112,480,000.00 บาท (หนึ่งร้อยสิบสองล้านสี่แสนแปดหมื่นบาทถ้วน) ตามสัญญาเลขที่ กจ.26/2559 (สพด.) ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2559 อายุสัญญาก่อสร้าง 1,095 วัน เริ่มนับอายุสัญญา วันที่  11  ตุลาคม 2559 และสิ้นสุด อายุสัญญา วันที่ 10 ตุลาคม 2562

  

 

ชป.ชี้แจง โครงการสถานีสูบน้ำทะเลหลวง จ.สุโขทัย ล่าช้าเกิดจากสภาพพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลง 

 

ปัจจุบันมีผลการดำเนินการก่อสร้างร้อยละ 51 ของแผนงาน และอยู่ระหว่างการแก้ไขสัญญา เนื่องจากสภาพภูมิประเทศจริงในพื้นที่ก่อสร้างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ออกแบบไว้ ประกอบกับราษฎรเจ้าของที่ดินบางรายไม่ยินยอมให้ใช้ที่ดิน เพื่อการก่อสร้างคลองส่งน้ำดาดคอนกรีต จึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขแบบในหลายรายการ ประกอบด้วย  1. แก้ไขแบบในคลองส่งน้ำสาย 1R-4MC จำนวน 5 รายการ 2. แก้ไขแบบโดย ขอเพิ่มขุดดันท่อถนนลาดยาง จำนวน 10 แห่ง และ 3. แก้ไขแบบระบบไฟฟ้าของระบบตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำ

 

 

ชป.ชี้แจง โครงการสถานีสูบน้ำทะเลหลวง จ.สุโขทัย ล่าช้าเกิดจากสภาพพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลง 



 

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้อนุมัติในหลักการแก้ไขแบบแล้ว เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 ซึ่งแบบที่ได้ทำการแก้ไขแล้วเสร็จ โครงการชลประทานสุโขทัย ได้ตรวจสอบและจัดทำรายละเอียดประมาณราคางานใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการตกลงราคางาน ส่วนที่เปลี่ยนแปลงตามผลการแก้ไขแบบทั้งหมดกับผู้รับจ้างใหม่

 

 

ชป.ชี้แจง โครงการสถานีสูบน้ำทะเลหลวง จ.สุโขทัย ล่าช้าเกิดจากสภาพพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลง 

 


สำหรับโครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำทะเลหลวง (แก้มลิง) ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ก่อสร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ภัยแล้ง เป็นแหล่งน้ำประปา ส่งเสริมการเกษตร เพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อใช้ส่งน้ำให้พื้นที่ได้รับประโยชน์ ได้แก่ ตำบลบ้านกล้วย และตำบล วังทองแดง 2,500 ครัวเรือน กลุ่มผู้ใช้น้ำ 10 กลุ่ม และผู้ที่อยู่ในพื้นที่รับน้ำอีก 19,082 ไร่

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ