ข่าว

แนวทางรับผู้ติดเชื้อ "โควิด19" เข้าระบบดูแล เช็คชัด ๆ อาการแบบไหนควรเข้ารพ.

11 ม.ค. 2565

กรมการแพทย์ เปิดทางแนวรับผู้ติดเชื้อ "โควิด19" เข้าสู่ระบบการดูแล ติดเชื้อระดับไหน-มีอาการยังไงควรเข้ารักษาที่โรงพยาบาล เช็คกันชัด ๆ อีกรอบ

เกาะติดสถานการณ์การระบาดของ "โควิด19" สายพันธุ์ "โอไมครอน" ในประเทศ เนื่องจากขณะนี้เริ่มมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น แต่อาการป่วยไม่รุนแรง ดังนั้น  กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดขั้นตอนการนำผู้ติดเชื้อ "โควิด19" เข้าสู่ระบบการรักษา ในรุปแบบ ต่าง ๆ ทั้งรูปแบบการดูแลตัวเองที่บ้าน Home Isolation หรือ ระบบ Community Isolation  ไปจนถึงการรับเข้าสู่ระบบการดูแลในโรงพยาบาลในกรณีที่พบว่ามีอาการหนักมากยิ่งขึ้น โดยมีขั้นตอนดังนี้ 

 

ผู้ป่วยที่สงสัยติดเชื้อสามารถเข้ารับการตรวจด้วยระบบเชิงรุกในโรงพยาบาล หรือสามารถตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วย ATK หากผลการตรวจเป็นบวก ATK  แสดง 2 ขีด สามารถติดต่อ สายด่วน สปสช. โทร 1330 หรือ Line @สปสช  หรือ Call Center จังหวัด และอำเภอ เจ้าหน้าที่จะทำการประเมินอาการเบื้องต้น หากไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยแนะนำให้ให้ระบบ HomIsolation หรือ Community Isolation แต่หากมีอาการปานกลาง หรือไม่สะดวกรักษาในระบบ Home Isolation ให้แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อรอเข้าสู่กระบวนการรดูแลในระบบ Hospitel โรงพยาบาลสนาม หรือโรงพยาบาลหลัก  

หากผลตรวจ ATK ออกมาเป็นลบ แปลว่าไม่ติดเชื้อ "โควิด19" ไม่มีอาการจะให้ประเมินตนเองว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง หรือกลุ่มเสี่ยงต่ำ หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่ำ ให้ปฏิบัติตามมาตรการ  DMHT แต่หากผลตรวจ ATK เป็นลบแต่มีอาการเบื้องต้น ให้ทำการตรวจหาโควิด19อีกครั้งกัทางโรงพยาบาล หากไม่พบเชื้อให้ฏิบัติตามมาตรการ DMHT  

ทั้งนี้หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ให้ประชาชนทำการกักตัวเป็นเวลา 14 วัน และทำการตรวจ ATK ซ้ำทุก 3 วันหรือเมื่อมีอาการ 

อย่างไรก็ตามสำหรับเกรฑ์การส่งต่อผู้ติดเชื้อเข้าโรงพยาบาล จะมีการพิจารณาตามอาการดังนี้ 
1.เมื่อมีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ระยะเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง 
2.หายใจเร็วกว่า 25 ครั้ง ต่อนาที (ในผู้ใหญ่)
3.Oxygen Saturation น้อยกว่า 94% 
4.โรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงในกลุ่ม 608 ที่มีความเสี่ยง หรือมีความจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิดตามดุลยพินิจของแพทย์ 
5.สำหรับในเด็ก อาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนม หรือทานอาหารน้อยลง