ข่าว

"ชุดตรวจโควิดด้วยตนเอง" อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการระบาดระลอก 4 ในเกาหลีใต้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผู้เชี่ยวชาญเกาหลีใต้บางคนตั้งประเด็นว่า "ชุดตรวจโควิดด้วยตนเอง" อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุการระบาดระลอก 4 อย่างรวดเร็ว ผลลบลวงกลายเป็นผลบวกในภายหลัง (ภาพปก Yonhap/ Kore Herald )


โคเรีย ไทมส์  รายงานอ้างความเห็นผู้เชี่ยวชาญหลายคนว่า ชุดตรวจโควิดด้วยตนเอง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกาหลีใต้เผชิญคลื่นระบาดระลอก 4  และแนะรัฐบาลว่า ควรสอดส่องและเก็บรวบรวมข้อมูลประสิทธิภาพของชุดตรวจก่อนปล่อยขายถึงมือลูกค้า 

ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยตนเอง เริ่มวางขายในเกาหลีใต้มาตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน เสริมการตรวจหาเชื้อแบบ PCR เพราะสะดวกและรู้ผลเร็ว แต่ความแม่นยำเป็นประเด็นคำถามมาตั้งแต่ก่อนวางขาย ผลวิจัยนำโดยผู้เชี่ยวชาญโรคติดต่อ คิม นัม จุง รพ.มหาวิทยาลัยโซล พบว่า ค่าความไว ( sensitivity ) หรือค่าความแม่นยำของการตรวจของชุดตรวจยี่ห้อหนึ่งอยู่ที่เพียง 17.5% เทียบกับ ตรวจแบบ PCR ที่มีความแม่นยำกว่า 90% ด้วยเหตุนี้ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนจึงเชื่อว่า การใช้ชุดตรวจด้วยตนเอง อาจเป็นปัจจัยหนึ่งของการระบาดระลอก 4  ทำให้เกาหลีใต้เห็นยอดติดเชื้อสูงกว่า 1 พันหลายวันติดต่อกัน นอกเหนือจากการแพร่กระจายของโควิดสายพันธุ์เดลตา และการผ่อนคลายมาตรการรักษาห่างทางสังคมเร็วเกินไป


 

 

บุคลลากรการแพทย์ให้ข้อมูลว่า พบหลายกรณีที่การตรวจเชื้อพบผลเป็นบวก แต่ก่อนหน้านั้น ใช้ชุดตรวจด้วยตนเอง ผลออกมาเป็นลบ และคนเหล่านั้นเองที่อาจแพร่กระจายเชื้อไวรัสโดยไม่รู้ตัวให้กับผู้สัมผัสใกล้ชิด

คิม มี-นา ศาสตราจารย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ รพ.อาซาน กล่าวว่า ความแม่นยำต่ำ เป็นเรื่องที่น่ากังวลมากตั้งแต่เริ่มนำชุดตรวจเองมาใช้ และมีความเป็นไปได้ที่ที่จะกลายเป็นผู้แพร่เชื้อเงียบ เพราะผลผิดพลาดจากชุดตรวจ  แม้ยังไม่รู้ว่ากรณีแบบนี้มีจำนวนเท่าใด เพราะไม่เคยเก็บข้อมูล 

กระนั้น ผู้เชี่ยวชาญอีกส่วน แย้งว่าอีกด้านหนึ่ง ชุดตรวจด้วยตนเองก็มีส่วนทำให้พบผู้ป่วยแบบไม่มีอาการไวขึ้นเช่นกันชอน อึน มี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางเดินหายใจ รพ. Mokdong มหาวิทยาลัยสตรีอีฮวา กล่าวว่า ชุดตรวจเองใช้ในสหรัฐและอังกฤษอย่างแพร่หลาย ก่อนโทษผู้แพร่เชื้อเงียบที่ใช้ชุดตรวจเองว่าเป็นสาเหตุการระบาดระลอก 4  อันดับแรกควรมีข้อมูลที่ชัดเจนก่อน  และความสำคัญอันดับแรกเวลานี้ คือควรมุ่งที่การเพิ่มจำนวนการตรวจและหาผู้ติดเชื้อแบบไม่มีอาการให้ไวที่สุดเท่าที่จะทำได้ 

ที่มา Korea Times

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ