ข่าว

โควิด-19 สายพันธุ์ บี1617 ลดประสิทธิผลวัคซีน โมเดอร์นา - ไฟเซอร์ ลง 7 เท่า

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

โควิด-19 อินเดีย สายพันธุ์ บี1617 ระบาดใน 44 ประเทศ พบมีฤทธิ์ต้านแอนติบอดี ลดประสิทธิผลจากการฉีดวัคซีน โมเดอร์นา และ ไฟเซอร์ ลงมากถึง 7 เท่า

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โรคโควิด-19 (COVID-19) สายพันธุ์ที่พบครั้งแรกในอินเดีย ได้แพร่กระจายไปยัง 44 ประเทศทั่วโลก และอาจแพร่เพิ่มในอีก 5 ประเทศ โดยเชื่อกันว่าสายพันธุ์ดังกล่าวมีฤทธิ์ต่อต้านแอนติบอดีบางชนิด อันรวมถึงแอนติบอดีที่เกิดจากวัคซีนด้วย

องค์การอนามัยโลก กล่าวในรายงานประจำสัปดาห์ว่า โรคโควิด-19 สายพันธุ์ บี1617 (B1617) ซึ่งถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่าเป็นสายพันธุ์ “กลายพันธุ์คู่” (double mutant) ประกอบด้วย 3 สายพันธุ์ย่อยที่แตกต่างกัน ได้แก่ บี1617.1 (B1617.1) , บี1617.2 (B1617.2) และ บี1617.3 (B1617.3) ซึ่งถูกตรวจพบมากขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกาเหนือ

อย่างไรก็ดี องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศให้โรคโควิด-19 สายพันธุ์ บี1617 เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลระดับโลกแล้วเมื่อวันจันทร์ (10 พ.ค.)

อินเดีย ซึ่งตรวจพบผู้ป่วยมากกว่า 2.7 ล้านรายในสัปดาห์ก่อน พบว่า ส่วนหนึ่งเป็นผู้ป่วยสายพันธุ์ย่อย บี1617.1 และ บี1617.2 ที่ร้อยละ 21 และ 7 ตามลำดับ

ขณะที่ สหราชอาณาจักร ตรวจพบผู้ป่วยสายพันธุ์ บี1617 สูงเป็นอันดับสองของโลก และได้ประกาศให้สายพันธุ์ย่อย บี1617.2 เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลในประเทศแล้ว

รายงาน ระบุว่า โรคโควิด-19 สายพันธุ์ย่อย บี1617.1 และ บี1617.2 มีฤทธิ์ต่อต้านแอนติบอดี แบมลานิวิแมบ (Bamlanivimab) ที่ใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 รวมทั้ง “ลดความไวในการตอบสนองของแอนติบอดีที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ” ในผู้ที่ติดเชื้อสายพันธุ์ย่อย บี1617.1 ด้วย

องค์การอนามัยโลก เสริมว่า โควิด-19 สายพันธุ์ บี1617 อาจต่อต้านแอนติบอดีที่เกิดจากการได้รับวัคซีนด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีการศึกษา พบว่า เชื้อนี้ลดประสิทธิผลของแอนติบอดีที่ได้จากการฉีดวัคซีน โมเดอร์นา (Moderna) และ ไฟเซอร์ (Pfizer) ลงมากถึง 7 เท่า

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก กล่าวว่า แม้ว่าโรคโควิด-19 สายพันธุ์ บี1617 อาจส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยในอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีสัดส่วนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตร้อยละ 50 และร้อยละ 30 ของผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตทั่วโลกนั้น เพิ่มสูงขึ้น แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคได้ อาทิ การชุมนุมทางการเมืองและศาสนา ตลอดจนการไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างการเว้นระยะห่างทางสังคม

อ่านข่าว - อินโดนีเซียพบวัคซีน โควิด-19 ซิโนแวค ลดความเสี่ยงบุคลากรการแพทย์ 98%

บี1617, อินเดีย, โควิด-19, องค์การอนามัยโลก

(แฟ้มภาพซินหัว : ครอบครัวเข้าร่วมพิธีไว้อาลัยต่อผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดีย วันที่ 10 พ.ค. 2021)

CR : xinhuathai.com

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ