ข่าว

ผลวิจัยเผยความเสี่ยง แค่ไหนและอย่างไร หากร่วมทางกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 บนรถไฟ

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

การโดยสารรถไฟมีความเสี่ยงติดโควิด-19 มากแค่ไหนและอย่างไร ผลศึกษาโดยนักวิจัยชาวจีน วิเคราะห์ข้อมูลผู้โดยสารที่นั่งใกล้กับผู้ติดเชื้อ


ผลศึกษาเผยแพร่บนเวบไซต์ Clinical Infectious Disease ระบุว่า ผู้โดยสารที่นั่งติดกับผู้ติดเชื้อโดยตรง มีความเสี่ยงรับเชื้อมากที่สุดที่อัตราเฉลี่ย 3.5%  ผู้โดยสารนั่งแถวเดียวกันกับผู้ติดเชื้อ โอกาสติดไวรัส 1.5% สูงกว่าคนนั่งแถวถัดไปหรือสองแถวถัดไป 10 เท่า ที่น่าประหลาดใจก็คือนักวิจัยพบว่า หากผู้โดยสารติดโควิด-19 ลุกจากที่นั่งไปแล้ว มีคนไปนั่งต่อ  โอกาสติดเชื้อมีแค่ 0.075% เท่านั้น 

แต่ ระยะเวลา ที่อยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อ ก็เป็นปัจจัยเช่นกัน ผลศึกษาพบว่า ความเสี่ยงหรืออัตราติดเชื้อ เพิ่มขึ้น 0.15% ทุกชั่วโมงที่คนคนหนึ่งเดินทางกับผู้ป่วย แต่สำหรับผู้โดยสารที่นั่งติดกับผู้ติดเชื้อ ความเสี่ยงจะพุ่งเป็นกว่า 1.3%  

นักวิจัยเชื่อว่า ผู้โดยสารที่อยู่ในแถวเดียวกัน อาจติดเชื้อง่ายกว่าผู้อื่น เนื่องจากความเสี่ยงการหันหน้ามาเจอกัน และเพราะไวรัสที่เกาะกับละอองฝอย แพร่ในระยะใกล้ชิด ส่วนการแพร่เชื้อในแถวทางตรง ความเสี่ยงน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ เพราะพนักพิงที่กั้นระหว่างแถว คือปราการชั้นดีช่วยชะลอละอองฝอยที่ปนเปื้อนไวรัส 

นักวิจัยสรุปด้วยว่า ระยะห่าง 1 เมตรสำหรับการเดินทางไม่เกิน 1 ชม. ก็น่าจะปลอดภัย “เพื่อป้องกันเชื้อโควิด-แพร่ในช่วงที่ยังมีการระบาด ระยะห่างที่แนะนำ คือห่างกันสองที่นั่งในแถวเดียวกัน โดยระยะเวลาเดินทางไม่เกิน 3 ชม. ส่วนที่นั่งรถไฟความเร็วสูงที่หันไปในทางเดียว แต่ละที่นั่งห่างกันราว ครึ่งเมตร 

Dr Lai Shengjie นักวิจัยภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซาท์แทมป์ตัน กล่าวว่า ผลศึกษานี้ชี้ว่าแม้การโดยสารรถไฟ มีความเสี่ยงที่โควิด-19 จะแพร่ได้ แต่ตำแหน่งที่นั่งของบุคคลและระยะเวลาเดินทางกับผู้ติดเชื้อ อาจหมายถึงความแตกต่างอย่างมากสำหรับการแพร่เชื้อ ดังนั้น การลดความหนาแน่นผู้โดยสาร สุขอนามัยส่วนบุคคล ใช้ผ้าปิดปากจมูก และตรวจวัดอุณหภูมิยังมีความสำคัญ 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ