ข่าว

ผลศึกษาพบยายวาฬออร์กาเพิ่มอัตราอยู่รอดของหลาน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ยายวาฬออร์กา เพิ่มอัตราการอยู่รอดของหลานวาฬ ประสบการณ์ชีวิตทรงคุณค่ายังประโยชน์แก่รุ่นหลัง 


ในบรรดาพี่เลี้ยงของลูก ที่ทำให้พ่อแม่ออกไปทำงานนอกบ้านอย่างหมดห่วงได้  ไม่มีใครจะยอดเยี่ยมไปกว่าปู่ย่าตายายอีกแล้ว ผลศึกษาล่าสุดพบว่าไม่ใช่เฉพาะคนเท่านั้น  วาฬออร์การุ่นยาย มีบทบาทต่อการเจริญเติบโตของวาฬน้อยเช่นกัน 

 


ผลศึกษาตีพิมพ์ใน Proceedings of the National Academy of Sciences ระบุว่า วาฬเพชฌฆาต หรือวาฬออร์กา เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่พึ่งพาวาฬรุ่นยายเฝ้าดูลูกหลาน 

 


สิ่งมีชีวิตเพศเมียหลังวัยเจริญพันธุ์ ยังมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกหลายสิบปี เป็นวงจรชีวิตที่รู้กันว่ามีแค่ในมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นอีก 4 ชนิด ได้แก่ วาฬออร์กา วาฬไพล็อตครีบสั้น วาฬนาร์วาล และวาฬเบลูกา โดยในมนุษย์  เชื่อกันว่าเป็นวิวัฒนาการที่เอื้อต่อการดูแลคนรุ่นหลัง  ทฤษฎีที่เรียกกันว่า แกรนมาเทอร์ เอฟเฟคท์ ( Grandmother Effect )  แต่ไม่เคยรู้กันมาก่อนว่าเป็นปราฏการณ์ในวาฬออร์กาด้วย   

 

(มีคลิป) ใจสลาย!แม่วาฬเพชฌฆาตอาลัยลูกตายพยุงซากดำผุดดำว่าย
แม่วาฬเพชฌฆาตปล่อยซากลูกหลังพาแหวกว่าย 17 วัน 

 


แดเนียล แฟรงส์ หัวหน้าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยยอร์ค  กล่าวว่า  นี่เป็นตัวอย่างแรกของแกรนด์มาเทอร์ เอฟเฟคท์ ในวาฬออร์กาหลังวัยเจริญพันธุ์ 

 


นักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลประชากรวาฬเพชฌฆาต 2 ฝูง นอกชายฝั่งรัฐวอชิงตัน ของสหรัฐและจังหวัดบริทิชโคลัมเบียของแคนาดา พบว่า ลูกวาฬที่สูญเสียแม่ของแม่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการตายสูงกว่าตัวที่ยังดำรงชีวิตอยู่กับยาย  4.5 เท่า หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง การมียายอยู่ด้วย ลดอัตราการตายของวาฬน้อยลงได้  นอกจากนี้ ผลกระทบจะยิ่งชัดเจนมากขึ้นในยามขาดแคลนอาหาร 

 

ไม่อยากเชื่อสายตานักท่องเที่ยวดูวาฬออร์กาทึ้งร่างวาฬหลังค่อม
หาดูยาก วาฬเพชฌฆาตหม่ำฉลาม


ผลศึกษาพบว่าการสูญเสียยายวาฬออร์กา คือการขาดผู้รอบรู้ว่า แซลมอนชีนุกที่วาฬออร์กาในแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือชอบกินอยู่ตรงไหน  และมักเป็นผู้นำพาฝูงไปหาอาหาร อาศัยภูมิปัญญาทางนิเวศน์ที่มีมากกว่า  

 


การวิจัยชิ้นนี้ช่วยไขปริศนาบทบาทของวาฬหลังพ้นวัยเจริญพันธุ์ หรือตอบคำถามว่าเหตุใด สัตว์บางชนิดยังมีชีวิตอยู่อีกนานหลังจากหมดความสามารถในการแพร่พันธุ์แล้ว  นอกจากนี้ นักวิจัยยังสงสัยว่า ผู้อาวุโสในฝูงยังสวมบทบาทพี่เลี้ยงคล้ายกับคน เพราะเวลาแม่ดำน้ำลงไปจับปลา  ยายก็อยู่กับหลานแทน

 


ก้าวต่อไป นักวิจัยจะใช้โดรนสังเกตพฤติกรรมวาฬออร์กา และทำความเข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวให้มากขึ้น 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ