ข่าว

วิถีเกษตร-การเมือง ปัจจัยหายนะป่าแอมะซอน 

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผืนป่าฝนแอมะซอนวิกฤติหนัก ไฟไหม้หนักสุดใน 6 ปี ความเห็นนักวิชาการบราซิลชี้การเมืองมีส่วน


สถานการณ์ไฟป่าแอมะซอนรุนแรงเป็นประวัติการณ์ เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจและห่วงใยของผู้คนทั่วโลก หลังจากเพิ่งเป็นที่รับรู้กันในสัปดาห์นี้ทั้งที่ไหม้มานานร่วมสามสัปดาห์แล้ว ล่าสุด  ประธานาธิบดีเอ็มมานูแอล มาคงของฝรั่งเศส ทวีตว่า ไฟป่าแอมะซอน ปอดของโลก เป็นวิกฤตของนานาชาติ และควรเป็นวาระหารือในการประชุมสุดยอดกลุ่มจี-7 แต่ผู้นำบราซิล ประธานาธิบดีฌาอีร์ โบลซาโนโร เตือนต่างชาติไม่ให้แทรกแซง ทั้งยังโทษว่าไฟป่าเป็นผลงานกลุ่มเอ็นจีโอเพื่อหวังทำลายภาพลักษณ์  สาหัสเป็นประวัติการณ์ไฟผลาญป่าแอมะซอน 



สำนักข่าว ดอยช์เวลเลอ (  Brazil forest fires rage as farmers push into the Amazon )  สัมภาษณ์ การ์โลส โนเบร นักวิทยาศาสตร์ด้านไคลเมทเชนจ์ จาก Institute for Advanced Studies มหาวิทยาลัยเซาเปาโล อดีตเคยเป็นนักวิจัยที่ศูนย์วิจัยอวกาศแห่งชาติบราซิล (ไอเอ็นพีอี) หน่วยงานที่จับตาและเก็บสถิติไฟป่าบราซิล ชี้สองสาเหตุหลักของไฟป่าว่าเกิดจากวิถีเกษตรดั้งเดิม และการเมือง  

 


เบื้องหลังไฟป่าบราซิลที่เพิ่มขึ้นมากคืออะไร เป็นเพราะอุณหภูมิโลกอุ่นขึ้น หรือลมแรงกว่าเดิม หรือมีปัจจัยอื่น 


การ์โลส โนเบร : ที่จริงแล้ว ฤดูแล้งปีนี้ไม่ได้แห้งสุดโต่ง กระแสลมในภูมิภาคแอมะซอนไม่ได้รุนแรง ไฟป่าส่วนมากไม่ใช่ไฟป่าธรรมชาติ แต่เกิดจากน้ำมือคน โดยทั่วไปเป็นเกษตรกรปลูกพืชและปศุสัตว์


เกษตรกรยังใช้การจุดไฟเผาเป็นประจำ ไฟบางแห่งลุกลามเผาผลาญกินพื้นที่ขนาดใหญ่  บราซิลและประเทศในแถบป่าแอมะซอน มักตัดต้นไม้ และปล่อยให้แห้งราว 2-3 เดือนก่อนจุดไฟเผาเพื่อแผ้วถางพื้นที่ทำการเกษตร  นี่เป็นปรากฏการณ์ปกติมาก แต่สิ่งที่เห็นในปีนี้คือ การตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้น ประมาณว่า พื้นที่ป่าแอมะซอนในบราซิลลดลงระหว่าง 20-30% เมื่อเทียบกับ 12 เดือนที่ผ่านมา 

 


มีความพยายามจะควบคุมเพลิงหรือไม่ 

เป็นเรื่องยากมาก เพราะการจุดไฟเผา เป็นส่วนหนึ่งของวิถีการทำเกษตรเพื่อเคลียร์ที่ดิน แม้เป็นเรื่องต้องห้าม แต่เกษตรกรปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์สวนใหญ่ไม่ปฏิบัติตาม โทษปรับไม่ได้ผล ไฟป่ายังเพิ่ม การใช้ไฟเป็นวัฒนธรรมในการทำการเกษตร

 

เสียหายแค่ไหน 


ระบบของสถาบันวิจัยอวกาศบราซิล (ไอเอ็นพีอี )ที่เก็บสถิติ  พึ่งพาดาวเทียม ตรวจจับจุดร้อน ( hot spot ) ไฟป่าที่ตรวจจับได้จึงมีทั้งไฟป่าที่จุดทำการเกษตรและไฟในป่า 

 

ไฟป่าเหล่านี้เกิดมานานหลายสิบปี แต่พุ่งถึงขีดสุดในปีนี้ แสดงให้เห็นว่าการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้น และเกษตรกรปลูกพืชผลกับเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ใช้ไฟแผ้วทางที่ดินอย่างเข้มข้น  

 

รัฐบาลใหม่ของบราซิลส่งเสริมพัฒนาการเกษตรในรูปแบบนี้ ประธานาธิบดีมีถ้อยแถลงเกือบทุกวันว่า เกษตรกรรมคือภาคเศรษฐกิจทรงพลังของบราซิล และพรมแดนทางเกษตรจะต้องขยายออกไปอีก นี่เป็นการส่งสารอย่างเปิดเผยไปยังเกษตรกรและเลี้ยงสัตว์ว่า พวกเขาคือฮีโร พวกเขาควรขยายพรมแดนออกไป เพราะพวกเขากำลังนำความก้าวหน้าและสร้างรายได้ ซึ่งไม่ได้จริงเสมอไป แต่ก็เป็นการส่งสัญญาณไปยังเกษตรกรว่า มาแผ้วถางที่ดินออกไปอีกกันเถอะ  มาตัดต้นไม้กันเถอะ มาจุดไฟกัน 

 

 

วิถีเกษตร-การเมือง ปัจจัยหายนะป่าแอมะซอน 

 

Global Forest Watch 


จะเสียป่ามากแค่ไหนยังสถานการณ์เช่นนี้ยังดำเนินต่อไป 

 


หากดูจากภาพดาวเทียม ประเมินว่า สูญเสียป่า 20-30% เป็นอัตราที่สูงมากทีเดียว  จากสถิติที่ผ่านมายังเผยให้เห็นว่า แม้แต่ในช่วงที่การตัดไม้ทำลายป่าลดลงมาก แต่ไฟป่าไม่ได้ลดลงในอัตราเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล เพราะแสดงว่าเกษตรกรปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ยังคงใช้วิธีการจุดไฟอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังแสดงให้ว่า ป่าไม้อยู่ในสภาพเปราะบางยิ่งกว่าเดิม เพราะประชาชนไม่กลัวกฎหมาย 


รัฐส่วนใหญ่ในแถบภูมิภาคแอมะซอน ล้วนมีกฎหมายห้ามจุดไฟฤดูแล้ง แต่พวกเขาไม่ฟัง และไฟก็ยังเพิ่มขึ้น 

 

ทำอย่างไรจึงจะลดไฟป่าได้ 


เน้นสร้างความรู้ความเข้าใจ ซึ่งจะต้องใช้เวลาอย่างมาก เกษตรกรรมสมัยใหม่หรือในประเทศพัฒนาแล้ว ไม่จำเป็นต้องจุดไฟแผ้วถางที่ดินทำการเกษตร หรือเตรียมดินหลังเก็บเกี่ยว  แต่การสร้างจิตสำนึกต้องใช้เวลา หลายปีหรืออาจจะหลายทศวรรษ 
อีกประเด็นที่เร่งด่วนกว่าและต้องทำอย่างเข้มข้นก็คือการบังคับใช้กฎหมาย  เพราะการตัดไม้ทำลายป่าแอมะซอน 80% กระทำอย่างผิดกฎหมาย 

 


ช่วงปี 2548 – 2557 อัตราทำลายป่าลดลง เพราะการออกมาตรการควบคุมมากขึ้น มีการจับกุมผู้กระทำผิดคดีอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ตลอดจนรณรงค์ต่อต้านการตัดไม้ผิดกฎหมายและต่อต้านการเผา แต่โชคร้าย ที่การรณรงค์ และช่วงเวลาเข้มงวดกับคนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายไม่มีอีกแล้ว เราจึงได้เห็นการตัดไม้และจุดไฟเพิ่มกลับมาอีก 

 

การระงับความช่วยเหลือคุ้มครองป่าแอมะซอนจากเยอรมนีกับนอรเวย์มีผลต่อการอนุรักษ์หรือไม่ 


ผลเสียมากกว่าผลดี งบประมาณนั้นไม่มาก คิดเป็นราว 1,000 ล้านดอลลาร์ใน 10 ปี  แต่ใน 10 ปีนี้ ได้นำมาใช้แค่ 600 ล้านดอลลาร์ ( ไม่ได้ขยายความว่า 400 ล้านไปไหน) กระนั้น งบก้อนนี้จากเยอรมนีและนอรเวย์ ยังมีความสำคัญมากอยู่ดี เนื่องจากเป็นกลไกสู่การพัฒนาแอมะซอนโดยไม่ต้องตัดไม้และเคลียร์ที่ดินด้วยการเผา แต่ให้ชุมชนท้องถิ่นมีบทบาทมากขึ้น 


ผมคิดว่าอนาคตชองแอมะซอนจะแย่แน่นอน หากประเทศแถบแอมะซอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบราซิล สูญเสียการสนับสนุนจากประเทศอื่นๆที่สาธิตให้เห็นอย่างชัดเจนในทางปฏิบัติว่า ยังมีโมเดลการพัฒนาแอมะซอนทางเลือก  ขณะที่นักการเมืองในประเทศแถบนี้ไม่มีวิสัยทัศน์เช่นนี้  


ในเวลานี้ความช่วยเหลือยิ่งสำคัญ หากประเทศเหล่านั้นตัดสินใจไม่บริจาค แค่เพราะไม่เห็นด้วยกับนโยบายรัฐบาลชุดปัจจุบัน ก็ไม่ได้หมายความนโยบายรัฐบาลจะเปลี่ยน 


ประธานาธิบดีบราซิล ยังเห็นเป็นเรื่องตลก ที่นอรเวย์กับเยอรมนีถอนการสนับสนุนงบช่วยเหลือแอมะซอน เหมือนกับการบอกว่า บราซิลมาถูกทาง รูปแบบการพัฒนาของเรา การทำลายป่าให้กลายเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก คือโมเดลที่กำลังประสบความสำเร็จ นานาชาติถึงได้ลดความช่วยเหลือลง 
 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ