บันเทิง

แพทย์ศิริราชแจง 'น้ำตาล' เสียชีวิตจากวัณโรคหลังโพรงจมูก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แพทย์ศิริราชแจง "น้ำตาล" บุตรรัณย์ ทองชิว เสียชีวิตเพราะเป็นวัณโรคหลังโพรงจมูก เตือนประชาชนให้ตรวจร่างกายประจำปี เผยอย่าตื่นตระหนกเพราะรักษาได้

 


    ทีมบันเทิง คมชัดลึก -  เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. เวลา 10.00 น. ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล รายงานผลการตรวจวินิจฉัยชิ้นเนื้อหลังโพรงจมูกของน.ส.บุตรรัณย์ ทองชิว หรือ  น้ำตาล  โดยมีรศ.นพ.ปรัญญา สากิยลักษณ์ สาขาวิชาศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก ภาควิชาศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก ภาควิชาศัลยศาสตร์ ร่วมด้วย ณ ห้องประชุมอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 รพ.ศิริราช

 

    ​สืบเนื่องจากกรณีการเสียชีวิตของนางสาว น้ำตาล - บุตรศรัณย์ ทองชิว เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2562 นั้น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้ขออนุญาตส่องกล้องเข้าไปดูบริเวณหลังโพรงจมูกและพบบริเวณเยื่อบุหลังโพรงจมูกมีสีผิดปกติไปจากปกติ ขนาดประมาณ 0.5 – 1 ซม. จึงตัดชิ้นเนื้อบริเวณดังกล่าว เพื่อนำมาตรวจวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาหาสาเหตุการเสียชีวิต ระหว่างตัดชิ้นเนื้อพบมีเลือดไหลออกมา  หลังจากย้อมชิ้นเนื้อ พบว่าเข้าได้กับ  วัณโรคแต่ไม่พบเชื้อ  คณะ ฯ จึงได้ทำการตรวจอีกวิธีหนึ่งที่เรียกว่า PCR (Polymerase Chain Reaction) คือ การตรวจหา DNA ของเชื้อวัณโรค ได้ผลเป็นบวก (positive) ผลการตรวจ PCR ดังกล่าว และผลการตรวจชิ้นเนื้อจึงบ่งชี้ว่ามีเชื้อวัณโรคหลังโพรงจมูก ซึ่งในกรณีนี้มีโอกาสติดต่อกันได้น้อย


    จากสถิติของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2560 พบคนไทยเป็นวัณโรคประมาณ 80,000 คน จากประชากร       69 ล้านคน โดยร้อยละ 83 จะตรวจพบที่ปอด ร้อยละ 17 ตรวจพบนอกปอด สำหรับวัณโรคหลังโพรงจมูกพบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของวัณโรคที่พบนอกปอด อีกทั้งวัณโรคสามารถเป็นได้ตามอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกาย สำหรับ     วัณโรคหลังโพรงจมูกรายงานทางการแพทย์ทั่วโลกพบว่าผู้ป่วย 1 ใน 3 อาจไม่มีอาการใด ๆ และประมาณร้อยละ  70 มีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต หรือมีก้อนบริเวณหลังโพรงจมูก  การวินิจฉัยวัณโรคหลังโพรงจมูกจึงมักได้จากการตรวจชิ้นเนื้อที่ก้อนหรือต่อมน้ำเหลือง


    ข้อแนะนำสำหรับประชาชนจากกรณีของนางสาว น้ำตาล - บุตรศรัณย์ ทองชิว
    1. อุบัติการณ์ของวัณโรคในประเทศไทยยังไม่ลดลง สามารถเกิดได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย และสามารถเกิดขึ้นได้ในหลากหลายอวัยวะ
    2. ควรตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี  หากพบสิ่งผิดปกติใด ๆ จำต้องสืบค้นจนพบสาเหตุของความผิดปกตินั้น
    3. แม้การตรวจร่างกายจะปกติ แต่หากมีอาการผิดปกติระยะเวลาหนึ่ง เช่น น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ   เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำ ๆ คลำได้ก้อนผิดปกติ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ


    ส่วนบรรยากาศในงานแถลงข่าวมีสื่อมวลชนมาร่วมทำข่าวคับคั่ง โดย รศ.นพ. ปรัญญา ได้กล่าวขึ้นต้นงานแถงข่าวครั้งนี้ว่า  “หลังจากที่คุณน้ำตาลเสียชีวิต เราได้ประสานไปทางแพทย์หู คอ จมูก ให้มาดำเนินการส่องกล้องเข้าไปในโพรงจมูกเพื่อจะดูเข้าไปดูด้านหลังของโพรงจมูก เนื่องจากลักษณะอาการที่คุณแม่ของคุณน้ำตาลเล่าให้ฟังคือคนไข้ไม่ได้ไอเป็นเลือด ไม่ได้อาเจียนเป็นเลือด แต่ลักษณะของเลือดที่ไหลออกมาคือไหลออกมาจากหลังโพรงจมูก ซึ่งเป็นจุดที่เราสงสัยมากที่สุด จึงได้ขออนุญาตส่องกล้องเข้าไปตรวจดู หลังการส่องกล้องพบว่าเนื้อเยื่อบริเวณหลังโพรงจมูกไม่ได้นูนออกมาเยอะ แต่มีสีที่ผิดปกติ จึงทำการขออนุญาตคุณแม่ของคุณน้ำตาลทำการตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่งท่านก็ให้ความกรุณาอย่างยิ่งให้เรานำชิ้นเนื้อไปตรวจ หลังตัดชิ้นเนื้อไปได้ประมาณ 2 ชิ้นพบว่ามีเลือดไหลตามออกมาในปริมาณมากพอสมควร ทำให้เราคิดว่าบริเวณนี้น่าจะเป็นจุดกำเนิดของเลือดออก”

 

    ในขณะที่ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ เปิดเผยว่า “ชิ้นเนื้อที่เราตัดไปตรวจเป็นชิ้นเนื้อเล็กที่ตัดผ่านกล้องนำไปตรวจตามพยาธิวิทยาทั่วไป ผลการตรวจชิ้นนี้มีลักษณะเข้าได้กับวัณโรค มีส่วนบางส่วนของเซลล์ ของเนื้อเยื่อที่มีลักษณะทำนองแบบนั้น แต่ไม่พบเชื้อวัณโรค ทางเราอยากให้แน่ใจว่าผลการวินิจฉัยนั้นถูกต้อง จึงได้ใช้เทคนิคที่เรียกว่า PCR (Polymerase Chain Reaction) คือการตรวจหา DNA ของเชื้อวัณโรค อีกครั้ง ได้ผลเป็นบวก สรุปการวินิจฉัยโรคคือเป็นวัณโรคที่หลังโพรงจมูก ก่อนหน้านี้ตนเคยอธิบายเรื่องเลือดออกไปแบ้วแต่อาจจะยังอธิบายได้ไม่หมด แต่คิดว่าอธิบายสาเหตุต่างๆได้ครบถ้วนพอสมควร วันนี้นอกจากเราจะแจ้งให้ทราบว่าการวินิจฉัยสุดท้ายคืออะไรแล้ว ตนขอถือโอกาสตรงนี้ให้ข้อมูลว่าวัณโรคในประเทศไทยไม่ได้ลดน้อยลงเลย ข้อมูลล่าสุดที่องค์การอนามัยโรคใช้อ้างอิงข้อมูลจากประเทศไทยที่ส่งไปในปี พ.ศ.2560 พบว่ามีคนไข้กว่า 80,000 คนที่เป็นวัณโรค แต่จณะเดียวกันวัณโรคไม่ใช่โรคที่น่ากลัว ไม่ใช่โรคที่น่ารังเกียจ แต่เป็นโรคที่รักษาได้ทางยา ปัจจุบันโอกาสที่จะติดต่อกันก็น้อยหากได้รับยาก็สามารถควบคุมได้หมด

 

    เรายังมีข้อมูลที่เราได่เพิ่มมาอีก ในกรณีคุณน้ำตาล ในเมมืองไทยเวลาเราบอกว่าเป็นวัณโรค 83% เป็นสัณโรคที่เจอในปอด อีก 17 % เจอนอกปอด เจอที่กระดูก ที่อวัยวะต่างๆ เป็นต้น  และในกลุ่มวัณโรคที่อยู่นอกปอดน้อยกว่า 1 % จะเจอด้านหลังโพรงจมูก กรณีุณน้ำตาลต้องบอกก่อนว่าไม่ปกติจริงๆ กรณีที่เจอน้อยมากๆ อาจจะเป็นเพราะว่าบริเวณที่เป็นรอยโรคด้านหลังนั้นเผอิญมีเส้นเลือดอยู่มันก็เลยเกิดเหตุการณ์ที่มีเลือดออก สิ่งที่ผมอยากฝากต่อไปคือ 1 . ขอให้ช่วยเตือนกันว่า วัณโรคในเมืองไทยยังมีอยู่นะ ก็ไม่ต้องตกใจ ถ้ามีก็แค่รักษาเท่านั้นเอง เพราะการรักษายังครอบคลุมได้ดีอยู่โอกาสที่จะดื้อยามีเพียงแค่ 2 % นั้นยังรักษาได้อย่างเต็มที่ และไม่อยากให้ตื่นตระหนกจากกรณีของคุณน้ำตาล วัณโรคจำนวนหนึ่งมีอาการ แต่วัณโรคกรณีของคุณน้ำตาลไม่มีอาการอะไรเลย เขาปกติทุกอย่าง ดังนั้นก็จะมีจำนวนหนึ่งที่ไม่มีอาการ สิ่งที่เราแนะนำได้คือการตรวจร่างกายประจำปียังเป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งผมเชื่อว่าในสังคมไทยมีการตรวจร่างกายประจำปีน้อยกว่าที่ควรเป็น เวลาตรวจร่างกายประจำปีแล้วเจออะไรผิดปกติอย่าคิดว่าคงไม่มีอะไรมั้ง ต้องตรวจสอบว่าเป็นอะไร อีกอย่างที่อยากจะฝากก็คื แม้ว่าจะตรวจร่างกายประจำปีแล้วปกติ แต่หากมีอาการบางอย่างที่ผิดปกติ เช่น ผอมลง เบื่ออาหาร รู้สึกว่าตัวเองมีไข้ต่ำๆ รุมๆ โดยไม่มีทีท่าจะหายไปใน 2-3 สัปดาห์ หรือเจอก้อนเนื้อผิดปกติ อย่าชะล่าใจผมอยากให้ไปพบแพทย์ซะ ผมคิดว่ากรณีของคุณน้ำตาลคงเป็นกรณีหนึ่งที่น่าจะเป็นประเด็น ให้เกิดการเรียนรู้ในสังคมไทย และเป็นส่วนที่จะช่วยดูสิ่งเหล่านี้ ไม่อยากให้เกิดขึ้นอีกในเมืองไทย โอเคนะครับ

 

    ต้องขอบคุณจริงๆ ที่เราสามารถกดำเนินการในวันนี้ได้นั้น ยังเป็นความกรุณาของคุณแม่คุณน้ำตาลในวันนั้นที่ให้ส่องกล้อง เพราะถ้าวันนั้นไม่ได้ส่องกล้องวันนี้เราคงไม่รู้คำตอบอะไรเลย ก็ทำให้เรารู้เห็น นี่คือสิ่งที่เราอยากแจ้งให้สื่อมวบชนได้รับทราบ มีคำถามอะไรเชิญสอบถามได้”

 

 

 

แพทย์ศิริราชแจง 'น้ำตาล' เสียชีวิตจากวัณโรคหลังโพรงจมูก

 

 

แพทย์ศิริราชแจง 'น้ำตาล' เสียชีวิตจากวัณโรคหลังโพรงจมูก

    เมื่อถูกถามถึงเรื่องการรักษาวัณโรคหลังโพรงจมูกว่ามีความเหมือนหรือต่างจากการรักษาวัณโรคปอดไหม ซึ่ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา กล่าวว่า “ ไม่แตกต่างกันเลย คือพอเราได้ชิ้นเนื้อ เราก็ได้ไปทบทวนบทความทางวิชาการเกี่ยวกับภาวะของวัณโรคที่บริเวณด้านหลังของโพรงจมูกของทั่วโลก ซึ่งจริงๆเจอน้อยมากนะ และที่มีอาการเลือดออกอย่างนี้ยังไม่เคยมี ส่วนการรักษาเหมือนกัน คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจ เกือบทั้งหมดไม่สามารถสินิจฉัยก่อนได้ล่วงหน้าว่าเป็นวัณโรค ส่วนใหญ่ต้องตรวจชิ้นเนื้อ คนส่วนใหญ่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เพราะว่า 70% ของ2ใน3 หรือ3ใน 4 ของคนไข้ จะมีอาการต่อมน้ำเหลืองที่คอโต กับคุณน้ำตาลเราก็ไม่ได้ตรวจพบ พอต่อมน้ำเหลืองที่คอโตคนก็จะสงสัยว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือเปล่า เปมะเร็งแถวคอหรือเปล่าก็เลยไปส่องกล้องจึงทราบว่าเป็นวัณโรคและคนส่วนใหญ่วินิจฉัยได้จากที่ผลชิ้นเนื้อออก แต่การรักษาวเหมือนการรักษาวัณโรคทั่วไป ทั้งหมดตอบสนองดีกับยา ที่ผ่านมา ไม่เคยมีรายไหนที่รายงานเกี่ยวกับโรคนี้เลยว่าเลือดออกเยอะแบบนี้ ส่วนใหญ่ก็จะมีเล็กน้อย เหมือนอย่างวัณโรคในปอดที่ไอออกมาก็มีเลือดเล็กน้อยแค่นั้น แต่ที่ออกเยอะแบบนี้เท่าที่ผมได้ศึกษาย้อนหลังเมื่อหลายวันที่ผ่านมา ยังไม่มีครับ"

 

    ถ้าเจอเคสในลักษณะแบบนี้ จะมีวิธีการดูแลหรือรักษาอย่างไร และจะทราบล่วงหน้าจากการมีอาการอะไรแจ้งเตือนหรือเปล่า ?
ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ : "อันดับแรก การเข้าดูที่ด้านหลังโพรงจมูกไม่ใช่สิ่งที่จู่ๆ เราจะเห็น เราเปิดตาส่องดูก็ไม่เห็น และไม่ใช่สิ่งที่ควรจะทำ หากจะให้ไปส่องกล้องทุกราย ผมว่ามันลำยากมากและมันก็มีโอกาสเจอน้อยมาก เพียงแต่อย่างที่ผมเรียนการตรวจร่างกายประจำปีนี่แหละ มันจะครอบคลุมให้เราทราบโรคต่างๆ 80 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่ถ้าตรวจร่างกายประจำปีแล้ว ไม่เจออะไรผิดปกติแต่ร่างกายเรามีอะไรผิดปกติ เช่น น้ำหนักลดผิดปกติ มีไข้ต่ำๆ รู้สึกเบื่ออาหาร ไม่ค่อยอยากทานอาหาร ขอให้นึกไว้ก่อน 4 อย่างที่ผมพูดไปไม่ได้เป็นเฉพาะวัณโรคนะครับ มะเร็งทั้งหลายก็มาแบบนี้ได้เหมือนกัน เมื่อไหร่ที่มีอาการแบบนี้ให้ไปพบแพทย์เถอะ ไปตรวจหาอะไรบางอย่าง ซึ่งอาจหลุดจากการตรวงร่างกายประจำปีไป แต่ไม่อยากให้ตื่นตระหนกกับโรคนี้เพราะโอกาสที่เจอน้อยมาก แต่เราต้องเฝ้าระวังสุขภาพตัวเอง และตรวจร่างกายประจำปี อันนี้จะช่วยได้เยอะมาก"

 

    ถามต่อว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดโรคนี้
    ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ : "ในสังคมไทยเราตอนนี้ต้องบอกว่าหนึ่งในปัจจัยที่ไม่ทำให้วัณโรคหลุดไปเพราะเราอยู่ในห้องที่ปิดมากกว่าเดิม เราเข้าไปในอาคารต่างๆ ก็มีแต่ห้องแอร์ทั้งหมด และระบบเครื่องปรับอากาศปกติไม่ได้กรองเชื้อวัณโรค กรองเพียงอากาศทั่วๆ ไป ใส้กรองที่มันจะดับเครื่องวัณโรคได้ก็ต้องเป็นแบบพิเศษ ซึ่งแพง ในสังคมไทยที่เราคาดการณ์ว่าทำไมวัณโรคยังไม่หมดไปก็เพราะเราอยู่ในสังคมปิด อยู่ในห้องที่อากาศไม่ได้ไหลเวียน หากมีใครสักคนเข้ามาอยู่ก็มีโอกาสที่จะติด แต่ต้องบอกก่อนนะครับว่าถ้าเราภูมิต้านทานปกติดี คนส่วนใหญ่จะกำจัดมันได้ในระดับหนึ่ง"

    ในกรณีของ น้ำตาล ไม่ได้ทราบมาก่อน แสดงว่าอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยทีไม่มีอาการใดๆ ใช่ไหม 
    ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ : "ถูกครับ เราก็พยายามกลับไปย้อนถาม ก็ไม่ได้มีอาการบ่งบอกเลย ก็คงเป็นเหตุผลหนึ่งที่เราคิดว่า เรายังสบายดี เลยไม่ได้ไปตรวจ"

    พอจะทราบสาเหตุไหมว่าที่ น้ำตาล เลือดออกมากเพราะอะไร
    ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ : "เราคาดการณ์จากตำแหน่งที่เห็นนะครับ ผมเชื่อว่าข้างหลังคือเส้นเลือด ในคอเราด้านหลังจะมีเส้นเลือดอยู่เยอะมากอยู่แล้วเป็นปกติ และก็มีเส้นเลือดใหญ่อยู่ที่ตรงนั้น บางทีการอักเสบหรือการติดเชื้อตรงนั้นหากลงไปถึงตำแหน่งเส้นเลือด ก็อาจมีโอกาสฉีกขาดหรือสลายไปได้ง่าย”

 

 

 

แพทย์ศิริราชแจง 'น้ำตาล' เสียชีวิตจากวัณโรคหลังโพรงจมูก

 

 

แพทย์ศิริราชแจง 'น้ำตาล' เสียชีวิตจากวัณโรคหลังโพรงจมูก

 

    โรคนี้จะแสดงอาการช้าเร็วขนาดไหน
    ศ.นพ.ประสิทธิ์ : “ไม่สามารถตอบได้ เพราะวัณโรคปัจจุบัน บางคนไม่มีิิอาการ ก็ไม่สามารถย้อนกลับไปได้ว่าเป็นตั้งแต่เมื่อไร กรณีคุณน้ำตาล เท่าที่ถามก็ไม่มีอาการอะไรบ่งบอกมาก่อน เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถบอกได้ครับ โรคบางอย่างถ้าเรารู้ต้นๆ และลองคำนวณจากระยะฟักตัวของโรค อาจจะบอกได้ แต่โรคบางอย่างในปัจจุบันในวงการแพทย์ไม่สามารถระบุได้ว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อไร”

 

    สาเหตุเกิดจากอะไร
    ศ.นพ.ประสิทธิ์ : “คนทุกคนมีโอกาสเป็น คุณแม่ผมก็เป็นวัณโรค พอเจอก็รักษาก็แค่นั้น ถ้าถามว่าในสังคมไทย แม้กระทั่งในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอเมริกาก็ยังเจอวัณโรค และวัณโรคเป็นโรคที่มีโอกาสอยู่ในอากาศทั่วๆ ไป คงไม่สามารถตอบได้ คุณน้ำต่ลก็ไม่ได้มีปัจจัยอะไรที่เป็นตัวเสี่ยงทำให้เกิดการติดเชื้อของโรคนี้ ผมคิดว่าพวกเราทุกคนในห้องนี้ก็มีโอกาสที่เป็นไปได้ครับ”

 

    คนในครอบครัวน้ำตาลมีการตรวจร่างกายเพิ่มเติมมั้ย เพราะเขามีโอกาสเสี่ยง โดยเฉพาะคุณแม่ที่ค่อนข้างใกล้ชิด
    ศ.นพ.ประสิทธิ์ : “หลังทราบการวินิจฉัย เราก็แจ้งให้เขาทราบ ก็คงไปตรวจแหละ อย่างที่ผมเรียนว่าคงไม่จำเป็นต้องส่องกล้องตรวจเพราะมันน้อยมาก ก็คงไปตรวจร่างกายทั่วไปนั่นแหละครับ จริงๆ ผมก็อยากแนะนำให้ตรวจร่างกายประจำปี อย่าคิดว่าไม่มีนะ อาจจะเจอโรคอื่นๆ จะได้รู้ตั้งแต่เนิ่นๆ คนที่ยังเสียใจแต่คิดถึงคนอื่นว่าเออ จะได้รู้ว่าเป็นยังไง อันนี้น่าชื่นชม ก็ขอเป็นตัวแทนคนไทยขอบคุณเขาด้วย คุณน้ำตาลทำให้เราระวังว่าโรคบางโรคอาจจะมาด้วยอาการแปลกๆ ที่เราคิดไม่ถึง”

 

    รศ. นพ. ปรัญญา : “ผมคงไม่มีอะไรเพิ่มเติม แต่อยากจะกล่าวขอบคุณครอบครัวคุณน้ำตาล โดยเฉพาะคุณแม่ที่อนุญาตให้ผม ในวันนั้นผมขออนุญาตที่จะตรวจเพื่อที่จะได้เรียนรู้และทราบสาเหตุ ทั้งที่ตอนนั้นเขาก็ยังเสียใจอยู่ แต่ก็ตัดสินใจอนุญาตให้เราส่องกล้องเพื่อตัดชิ้นเนื้อ ทำให้เราได้เรียนรู้อย่างมาก และขอบคุณคุณน้ำตาลด้วยนะครับ”

 


    ในเมืองไทยพบผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคหลังโพรงจมูกกี่คน
    ศ.นพ.ประสิทธิ์ : “ทั้งหมด 39 ราย รายแรกในประเทศไทยรายงานเมื่อปี 2535 ที่ จ.กาญจนบุรี ที่ศิริราชมีรายงาน 15 ราย ขอนแก่นมี 23 ราย และมีอีก 1 รายเมื่อไม่นานนี้เอง แต่ไม่ได้เป็นโรคที่วินิจฉัยก่อนเบื้องต้น คือไปตรวจอย่างอื่นแล้วตรวจเจอจากชิ้นเนื้อ ทุกรายรักษาหายขาดหมด ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน อย่างที่ผมบอกว่าก็รักษาแบบวัณโรคธรรมดา”

 

    กรณีน้ำตาลเป็นวัณโรคหลังโพรงจมูกนานแค่ไหนแล้ว
    ศ.นพ.ประสิทธิ์ : “ตอบไม่ได้ครับ อย่างที่ผมเรียนไปว่าเนื่องจากคุณน้ำตาลไม่มีอาการเลย ถ้ามีอาการก็พอจะมองย้อนหลัง คือเขาสบายดีน่ะ คือโรคบางอย่าง สมมติถ้าเราเจอมะเร็ง แล้วเรารู้ว่ามีการแบ่งตัวเท่าไร  ตอนนี้กี่ ซม. เรามองย้อนกลับไปได้ว่ามันเริ่มตั้งแต่เมื่อไร แต่การติดเชื้อแบบนี้ไม่สามารถคาดการณ์ได้
    ขอบคุณสื่อมวลชนทุกท่านที่มารับที่เราแจ้งข่าวในวันนี้ ในเรื่องที่ผมฝาก 3-4 ข้อ ก็คือการดูแลสุขภาพตัวเอง การตรวจสุขภาพ หมั่นสังเกตหากร่างกายมีอะไรผิดปกติก็ไปพบแพทย์ครับ”

 

 

แพทย์ศิริราชแจง 'น้ำตาล' เสียชีวิตจากวัณโรคหลังโพรงจมูก

 

 

แพทย์ศิริราชแจง 'น้ำตาล' เสียชีวิตจากวัณโรคหลังโพรงจมูก

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ