บันเทิง

หนังไทยกับภาวะ Digital Disruption?

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

คอลัมน์...  มายาประเทศ  โดย... นิตี้ fb/nitylive


 

          งานเสวนา “หนังไทยกับภาวะ Digital Disruption” ที่ “สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย” จัดขึ้นที่อาคาร G Village (19.ม.ค.) มีประเด็นน่าสนใจอยู่เหมือนกัน

 

          “ภาณุ อารี” ผอ.ฝ่ายจัดซื้อภาพยนตร์ต่างประเทศ สหมงคลฟิล์ม สะท้อนให้ฟังเพื่อนำเสวนาว่า ทำงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์มานาน ไปซื้อภาพยนตร์ต่างประเทศบ่อยครั้ง มีข้อสังเกตว่า ปัจจุบันบริษัทคุ้นหน้าคุ้นตาหายไป เขาบอกว่าอยู่ไม่ได้ ตอนนี้กระแสสตรีมมิ่งมาแรง ตกอยู่ในภาวะดิจิทัลดิสรัปชัน ทำหนังฉายโรงอยู่ไม่ได้ ทำให้เกิดคำถามมีความเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้น มีคนเคยบอกว่าเวลาเกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรในวงการภาพยนตร์ สุดท้ายคนก็จะกลับมาวงจรเดิมอีกคือกลับมาดูหนัง เหมือนยุค 1950 ทีวีมาแต่สุดท้ายคนก็กลับมาดูหนังโรงอีก หรือยุค 1980 มีวิดีโอเข้ามาแต่สุดท้ายคนก็จะมีหนังกระแสใหม่ๆ ดึงคนกลับมาอีกใช่หรือไม่

 

 

 

 

 

หนังไทยกับภาวะ Digital Disruption?

 

 

          “นรณฏฐ ไชยคำ” ผู้ดำเนินรายการ World Trend Voice TV มองว่า ดิจิทัลไม่ได้กระทบแต่วงการภาพยนตร์ แต่กระทบคนในหลายวงการ ไม่ใช่แค่เรื่องสตรีมมิ่งเท่านั้น มันมีเรื่องอื่นๆ ที่ทำให้คนทำหนังหลักๆ ยังไม่ได้เงินเต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่เชื่อว่าไม่ตายไปจากดิสรัปชั่นแน่นอน เพียงแต่ต้องปรับรูปแบบ


          “เอกชัย เอื้อครองธรรม” ผู้กำกับภาพยนตร์ มองว่าในฐานะเป็นคนเล่าเรื่อง อะไรที่เปลี่ยนไปก็คือเป็นของเล่นใหม่ เพียงแต่เรารู้จักวิธีเล่นและใช้ประโยนชน์หรือเปล่า เรื่องดิจิทัล หรือสตรีมมิ่งเหมือนของเล่นเยอะขึ้น เหมือนต้องคิดว่าจะทำอะไรบางอย่าง มันไม่เหมาะกับโรงภาพยนตร์ แต่เหมาะที่จะไปทำอะไรใหญ่กว่าเป็นซีรีส์ หรือเป็นสตรีมมิ่ง เป็นอีกมิติหนึ่งกับความสัมพันธ์กับผู้ชมได้ ยิ่งเปลี่ยนยิ่งสนุก สามารถทำคอนเทนต์ที่เผยแพร่ในช่องทางหลากหลาย

 

หนังไทยกับภาวะ Digital Disruption?

 


          “ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์” ผู้กำกับภาพยนตร์ สะท้อนว่าชอบดูหนังในโรงภาพยนตร์แต่บางเรื่องก็ดูในจอทีวีที่บ้านก็ใหญ่เหมือนกัน ถามว่าถ้าจะไม่ได้ดูหนังในโรงภาพยนตร์แล้วก็เชื่อว่ามันคงไม่ได้หายไปเร็ว เพราะหนังฟอร์มใหญ่ๆ ยังมีอยู่ แต่หนังเล็กๆ อาจจะต้องหายจากโรงภาพยนตร์ไปอยู่ในเฮ้าส์เล็กๆ หรือเป็นสตรีมมิ่ง ส่วนตัวทำหนังอิสระและทำหนังตลาดด้วย ซึ่งคิดเหมือน “พี่เอกชัย” การมาของสตรีมมิ่งมันเอื้อประโชยน์ให้เรา เพราะหนังบางเรื่องของเราอาจสู้หนังใหญ่ของฮอลลีวู้ดไม่ได้ อีกอย่างในไทยค่าวีทีเอฟก็ยังทำร้ายคนทำหนังรายย่อยอย่างสาหัส เอาหนังเข้าโรงต้องหาเงินใช้หนี้ เพราะฉะนั้นอะไรที่ทำหนังแล้ว ไปสู่วงกว้างให้มากที่สุด ดังนั้นเราจะปรับตัวไปกับของเล่นใหม่หรือช่องทางใหม่ของผู้บริโภคด้วย

 

 

 

หนังไทยกับภาวะ Digital Disruption?

 


          นี่เป็นมุมมองคร่าวๆ เกี่ยวกับหนังไทยกับภาวะดิจิทัลดิสรัปชั่นที่จะต้อง “ปรับตัว” สู่รูปแบบหรือช่องทางใหม่ เพื่อเข้าถึงผู้ชม ในขณะที่ “โรงหนัง” ต้องปรับกลยุทธ์ในการดึงผู้ชมเช่นกัน

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ