Lifestyle

ม.มหิดล ติดอันดับที่ 1 ของประเทศไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ม.มหิดล ติดอันดับที่ 1 ของประเทศไทย จากการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ล่าสุดโดย Round University Ranking (RUR) ในครั้งนี้ยังคงใช้หลักเกณฑ์ตัวชี้วัดการจัดอันดับ 4 ด้าน

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 Round University Ranking (RUR) ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก จากสหพันธรัฐรัสเซีย ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ประจำปี ค.ศ.2020 หรือ RUR World University Ranking 2020

อ่านข่าว : ม.มหิดล ชี้รังสี UV ฆ่าเชื้อไวรัส Covid-19 ได้ หากใช้ถูกวิธี

บนเว็บไซต์ https://roundranking.com/ranking/world-university-rankings.html#world-2020 โดยการจัดอันดับในปีนี้ ม.มหิดล ได้รับการจัดอันดับดีที่สุดในไทย ถือเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ และเป็นอันดับที่ 399 ของโลก (overall scores) ซึ่ง ม.มหิดล มีอันดับที่สูงขึ้นถึง 29 อันดับ (ปีที่ผ่านมาอยู่ในอันดับที่ 428)
 

ม.มหิดล ติดอันดับที่ 1 ของประเทศไทย

นอกจากนี้ จากผลการจัดอันดับดังกล่าว ม.มหิดล ยังเป็นอันดับ 1 ในไทย จากการจัดอันดับตามหลักเกณฑ์ตัวชี้วัด (Rankings by Indicators) ได้แก่ ด้านการเรียนการสอน (Teaching) อยู่อันดับ 242 ของโลก และด้านความหลากหลายของความเป็นนานาชาติ (International Diversity) อยู่อันดับ 457 ของโลก

รวมทั้งเป็นที่ 1 ในไทย ใน 7 ตัวชี้วัด ได้แก่ Academic staff per student (สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษา) อันดับที่ 140 ของโลก, Academic staff per bachelor degrees awarded (สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษาที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี) อันดับที่ 144 ของโลก, Citations per academic and research staff (จำนวนการอ้างอิงของผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล Web of Science) อันดับที่ 515 ของโลก

 

                 ม.มหิดล ติดอันดับที่ 1 ของประเทศไทย

               ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ

 Share of international students (สัดส่วนจำนวนนักศึกษาต่างชาติ) อันดับที่ 643 ของโลก, International level (ภาพรวมของความเป็นนานาชาติ) อันดับที่ 457 ของโลก, Institutional income per academic staff (สัดส่วนรายรับมหาวิทยาลัยต่อจำนวนอาจารย์) อันดับที่ 40 ของโลก, Institutional income per students (สัดส่วนรายรับมหาวิทยาลัยต่อจำนวนอาจารย์) อันดับที่ 35 ของโลก

การจัดอันดับโดย RUR ในครั้งนี้ยังคงใช้หลักเกณฑ์ตัวชี้วัดการจัดอันดับ 4 ด้าน (20 ตัวชี้วัด) ได้แก่ 1.ด้านการสอน (Teaching) 2.ด้านการวิจัย (Research) 3.ด้านความหลากหลายของความเป็นนานาชาติ (International Diversity) และ4.ด้านความยั่งยืนทางการเงิน (Financial Sustainability) โดยมีความร่วมมือกับ Clarivate Analytics ในการวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลการจัดอันดับ

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ