Lifestyle

เติมทักษะภาษาสร้างเกราะคุ้มกันเด็กไทยยุค 4.0

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

สพฐ.เดินหน้าเติมทักษะภาษา และเทคโนโลยี สร้างเกราะคุ้มกันเด็กไทยยุค 4.0 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ เน้นย้ำ

 

17 กุมภาพันธ์ 2563 ความท้าทายที่มาพร้อมกับความก้าวหน้าทางสังคม โดยมีเทคโนโลยีและการสื่อสารเป็นกลไกขับเคลื่อนประเทศไทยเข้าสู่ยุค 4.0 จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับร่วมมือกันในทุกภาคส่วนเพื่อแสวงหาแนวทางรับมือและวางแผนป้องกันผลกระทบอันเกิดการจากการเป็นยุคแห่ง Disruption 
 

 

ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า “สิ่งสำคัญที่สุดเราต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็กให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเด็กเอง ภายใต้สิ่งแวดล้อมสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยครูจะต้องเป็นผู้นำในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ภาพในอดีตเป็นภาพของคุณครูบ่มเพาะสั่งสอน บอกกล่าว แต่วันนี้เด็กต้องค้นหาองค์ความรู้เองโดยมีครูเป็นผู้จัดการหรือเป็นโค้ชหากเราจัดการกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างครอบคลุม

 

เด็กเรียนสามารถรู้ได้ตามศักยภาพของเขา เด็กเรียนรู้ได้ตามสิ่งแวดล้อมที่แวดล้อมตัวเขา เด็กจะสามารถเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก สังคมปัจจุบัน สังคมเชิงพื้นที่ ซึ่งก็คือภาพรวมของประเทศที่มีอยู่ การเรียนรู้วันนี้สิ่งสำคัญคือการที่จะต้องจูงใจและเรียนรู้ร่วมกัน จะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในทุกช่วงวัย ภาพการเรียนรู้วันนี้คุณครูและโรงเรียนต้องปรับตัวเพื่อที่จะก้าวไปสู่กระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งสู่การพัฒนาศักยภาพของบุคคลที่มีอยู่อย่างเต็มศักยภาพต่อไป” 

 

 

เติมทักษะภาษาสร้างเกราะคุ้มกันเด็กไทยยุค 4.0

 

 

สิ่งที่คาดหวังอันดับแรกคือเรื่องของทักษะวิชาการ เราเข้าถึงผู้เรียนเพื่อประเมินว่าเขามีความพร้อมด้านไหน วิชาการของผมไม่ใช่วิชาการในเรื่องการเรียน ภาษาไทย สังคม วิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ แต่วิชาการของผมคือการเรียนทุกศาสตร์สาขา แม้กระทั่งเรื่องของดนตรี กีฬา ศิลปะ หรือวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของทักษะอาชีพ วิชาการในเรื่องของทักษะชีวิต รวมไปถึงการเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่มากับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย เช่นคอมพิวเตอร์ Social Media นวัตกรรมต่างๆ

 

ดังนั้นการที่จะ Balance หรือสร้างสมดุลด้านการเรียนรู้ได้นั้น นักเรียนต้องสามารถเรียนรู้จากทั้งในห้องและนอกห้อง ประยุกต์ ผสมผสาน เชื่อมโยงสิ่งต่างๆในโลกใบนี้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ทักษะชีวิตบูรณาการเรียนรู้ได้ คนที่เรียนไม่เก่งด้านนี้ก็สามารถเอาดีโดยใช้ทักษะหรือศักยภาพด้านอื่นของเขาได้ ต้องมอบโอกาสให้กับทุกคน ยอมรับในศักยภาพความแตกต่างของแต่ละบุคคลแล้วชี้แนะให้เขาสามารถไปต่อได้ ต้องเติมเต็มซึ่งกันและกัน คำว่าวิชาการ ทักษะชีวิต ต้องอยู่ด้วยกัน ไม่สามารถจะแยกจากกันได้ สองสิ่งนี้หากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลถึงการมีทักษะอาชีพที่ดีต่อไปในอนาคต

 

 

เติมทักษะภาษาสร้างเกราะคุ้มกันเด็กไทยยุค 4.0

 


ยอมรับว่าโลกทุกวันนี้เป็นโลกของการเปลี่ยนแปลง Disruption ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบตามมามากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องและพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในมิติด้านต่างๆแต่เหนือสิ่งอื่นใด “ความเป็นไทย” คือสิ่งที่ต้องเน้นย้ำและสร้างความตระหนักรู้ในหมู่เด็กเยาวชนไทย

 

ดร.อำนาจ กล่าวต่อว่า พลวัตของโลกสมัยใหม่ทำให้ทุกอย่างรวดเร็ว สะดวกสบายขึ้นก็จริง แต่เราต้องไม่ลืมรากเหง้า ตัวตนของเรา ประเทศไทยมีมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่ดีงาม ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น

 

ทั้งนี้เช่น การไหว้ ความโอบอ้อมอารี เรามีวัฒนธรรมอันดีงาม มีภาษาเป็นของเราเอง ซึ่งเหล่านี้จะต้องคงอยู่กับคนไทยตลอดไป แต่คงไม่ปฏิเสธการไหลบ่าเข้ามาของวัฒนธรรมต่างชาติ อันเกิดจากเทคโนโลยี การสื่อสารต่างๆสิ่งที่เราต้องชี้ให้เด็กของเราเห็นคือ ความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันจากทั่วทุกมุมโลกผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ และเราต้องรักษาอัตลักษณ์ของเราเอาไว้ให้ได้ เรียนรู้ที่จะยอมรับและอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง หลากหลายอย่างเข้าใจ

 

 

เติมทักษะภาษาสร้างเกราะคุ้มกันเด็กไทยยุค 4.0

 

 

สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราต้องพัฒนาด้านทักษะภาษาของเราให้ดียิ่งขึ้น การเกิดขึ้นของภาษาดิจิทัล ภาษาคอมพิวเตอร์ ที่มาเร็วและแรง เราต้องใช้ทักษะทุกด้านเพื่อหลอมรวมองค์ความรู้ที่มี สร้างจุดยืนที่เด่นชัดของเราความเป็นไทยของเรา ทักษะด้านเทคโนโลยี ทักษะด้านการสื่อสารสากลต้องเท่าทันยุค Globalization บทบาทของชาติผู้นำโลกเราต้องรู้เท่าทัน และเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึง แต่ในขณะเดียวกันค่านิยมความเป็นไทยเราก็ต้องไม่ทิ้ง


ว่าที่ร้อยตรี ดร. ทวีศักดิ์ นามศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๑ ประธานคณะกรรมการจัดงาน การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 69 ปีการศึกษา 2562 จังหวัดศรีสะเกษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เห็นว่า เทคโนโลยียุค 4.0 ช่วยลดความเหลื่อมล้ำปูทางสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษา

 

 

เติมทักษะภาษาสร้างเกราะคุ้มกันเด็กไทยยุค 4.0

 

 

นโยบายรัฐบาล คือการมุ่งมั่นที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่ยุค 4.0 ให้ได้ภายใน 20 ปี ให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน รัฐบาลจึงได้ผลักดันส่งเสริมให้ลูกหลานของเรามีอาชีพสุจริต ส่งเสริมการศึกษาเพื่อการมีงานทำ จัดการศึกษาเพื่อให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้ ขณะเดียวกันก็ยังต้องสร้างความภาคภูมิใจในภูมิปัญญา มรดกทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีของแผ่นดินเกิดเพื่ออนุรักษ์สืบสานไปยังอนุชนรุ่นหลังด้วย

 

จากที่ได้เรียนรู้จากงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติในหลายครั้ง บางรายการที่เด็กจากพื้นที่รอบนอกสามารถชนะเด็กในเมืองได้ ก็สะท้อนว่าความเหลื่อมล้ำนั้นค่อย ๆ ลดลงไป ไม่ว่าจะอยู่ในชนบทเราก็มีครูดี มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ดี มีอุปกรณ์ที่ดีมีผู้สนับสนุนที่ดี เทียบเคียงกับในเมือง การเข้าถึงเทคโนโลยีเช่นอินเตอร์เน็ต ก็ทำได้ไม่ต่างกัน เห็นได้จากการได้พูดคุยกับเด็กนักเรียนที่เข้าแข่งขันที่ต่างสืบค้นข้อมูลผ่านช่องทางนี้มากขึ้น

 

 

เติมทักษะภาษาสร้างเกราะคุ้มกันเด็กไทยยุค 4.0

 

 

เขาได้เห็นตัวอย่างผลงาน เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ แล้วนำมาสอบถามครูในห้องเรียน ครูก็ต้องเร่งปรับตัวเพิ่มพูนความรู้ไปพร้อมๆ กัน เห็นได้ว่าเทคโนโลยีเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ดังนั้นผู้บริหารการศึกษาก็ต้องรู้ให้เท่าทัน ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ รู้เท่าทันคุณและโทษของเทคโนโลยีในแง่มุมต่างๆ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีมาผนวกกับขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อการสื่อสะท้อนอย่างสร้างสรรค์ จุดนี้จะเป็นหนึ่งกิจกรรม หนึ่งช่องทางที่ลดความเหลื่อมล้ำเกิดความเท่าเทียมได้

 

 

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ