Lifestyle

สำนักพิมพ์จุฬาฯปฏิเสธให้องค์การค้าฯพิมพ์หนังสือเรียน แทน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"รศ.ดร.อรัญ หาญสืบสาย" ที่ปรึกษาสำนักพิมพ์จุฬาฯ ปฏิเสธให้องค์การค้าฯ พิมพ์หนังสือเรียน แทน

 

            เรื่องลับแต่ไม่ลับมาก..เมื่อฤดูกาลจัดพิมพ์ตำราเรียน หรือหนังสือเรียนของเด็กไทย ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษา หรือป.1-ม.6 แต่ละปีจะเผชิญกับความล่าช้าในการจัดพิมพ์และจัดส่งหนังสือเรียน ให้ถึงมือเด็กได้ทันเปิดภาคเรียนแแรกของปีการศึกษา 

      อ่านข่าว: จุฬาฯ มหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 3 ของไทย ปี 2019


       

       ความล่าช้าในการจัดพิมพ์และจัดส่งหนังสือเรียนล้าช้า  กลายเป็นปัญหาสุดคลาดสิคที่ฝ่ายบริหารของสำนักงานส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) อยากให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง "ร่วมมือ" แก้ไขปัญหาหนังสือแบบเรียน ปีการศึกษา 2563 เพื่อให้ทันเปิดภาคเรียน

 

       ว่ากันว่า ในการจัดทำหนังสือแบบเรียน และจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนนั้น เดิมจะมีการแบ่งสรรปันส่วนกันอย่างชัดเจน กล่าวคือองค์การค้าของสำนักงานส่งเสริมสวัดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.)  หรือหนังสือเรียนของ สสวท. รับผิดชอบระดับประถมศึกษา ส่วนสำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำดีส่งทันร้อยละ 96 รับผิดชอบระดับมัธยมศึกษา เหมือนเดิม 

 

      จับพิรุธความไม่ชอบมาพากล ของประกาศองค์การค้า สกสค. เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2562  มีรายการหนังสือระดับมัธยมศึกษารวมอยู่ด้วย

    

 

สำนักพิมพ์จุฬาฯปฏิเสธให้องค์การค้าฯพิมพ์หนังสือเรียน แทน

 

         ทั้งนี้  เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2562  เวบไซด์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://www.chula.ac.th/news/26217/ ได้ชี้แจงต่อข้อเรียกร้องขององค์การค้า สกสค. ใจความว่า...

 

          คำชี้แจงต่อข้อร้องเรียนขององค์การค้าของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) เกี่ยวกับคุณภาพของหนังสือเรียนที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

       

        สืบเนื่องจากข่าวที่นำเสนอผ่านสื่อสารมวลชนถึงข้อร้องเรียนขององค์การค้าของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) เกี่ยวกับคุณภาพของหนังสือเรียนที่จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามที่ให้สิทธิ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการผลิตและจำหน่ายหนังสือเรียนระดับมัธยมศึกษานั้น

 

         ทางสำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอเรียนชี้แจงว่าข้อร้องเรียนดังกล่าวไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในประเด็นสำคัญคือ

 

      คุณภาพของกระดาษที่ใช้ ในประเด็นนี้ทางสำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยืนยันว่าคุณภาพของกระดาษ ที่ใช้ในการพิมพ์ตรงตามที่ สสวท. กำหนดโดยได้มีการพิจารณาร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และเพื่อให้การประกวดราคา e-bidding เป็นไปตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและ การบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ด้วย

 

            นอกจากนี้ ในด้านคุณภาพการพิมพ์ ทางสำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการควบคุมคุณภาพ ทั้งในขั้นตอนพิมพ์และหลังพิมพ์ ทำให้ได้ภาพพิมพ์มีความคมชัดและหนังสือมีความแข็งแรงทนทาน ทั้งนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับความไว้วางใจจาก สสวท. ให้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาเพื่อให้นักเรียนมีหนังสือเรียนก่อนเปิดเทอม โดยจากผลการสำรวจการจัดซื้อหนังสือเรียนของ สสวท. โดยผู้ทรงคุณวุฒิอิสระ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถส่งหนังสือเรียนไปยังโรงเรียนต่างๆ ได้ทันตามกำหนดในสัดส่วนร้อยละ 96 และไม่ปรากฏการร้องเรียนจากผู้ใช้หนังสือเรียนแต่อย่างใดเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณภาพการพิมพ์หรือการให้บริการ


        หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 0-2218-3561

 

         ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2563 - รศ.ดร.อรัญ หาญสืบสาย ที่ปรึกษาสำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้รับผิดชอบการจัดพิมพ์หนังสือ สสวท.  กล่าวในเรื่องนี้ว่า ขอยืนยันว่า ข่าวที่ปรากฏในมติชนออนไลน์ วันนี้(6/1/2563) เวลา 13.25 น. ดังมีข้อความว่า “สำนักพิมพ์จุฬาฯ จะให้องค์การค้าฯจัดพิมพ์หนังสือ สสวท. ทั้งหมด”

 

สำนักพิมพ์จุฬาฯปฏิเสธให้องค์การค้าฯพิมพ์หนังสือเรียน แทน

รศ.ดร.อรัญ หาญสืบสาย

 

        "ผมขอยืนยันว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่ประการใด เพราะสำนักพิมพ์จุฬาฯ ไม่สามารถโอนสิทธิการจัดพิมพ์ที่ได้รับไปให้แก่ผู้ใดได้หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักพิมพ์จุฬาฯ 02-2183561" รศ.ดร.อรัญกล่าว

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ