Lifestyle

ดัน 'อาชีวะอินเตอร์' ผุดในพื้นที่ อีอีซี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

มติบอร์ดกพอ.เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรตามแนวทางอีอีซีโมเดล ระบุ ผู้ประกอบการร่วมพัฒนาหลักสูตร ผลักดันสถาบันอาชีวศึกษาในพื้นที่ 12 แห่งเป็น"อาชีวะอินเตอร์"

 

 

             การประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 11/2562 วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม 2562 โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการ กพอ. เป็นประธาน ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล ได้รับทราบ และพิจารณาความก้าวหน้า การดำเนินงานในเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (อีอีซี) มีรายละเอียดที่สำคัญ โดยที่ประชุมได้มีมติเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรตามแนวทางอีอีซี โมเดล ดังนี้       

           อ่านข่าว :  เปิด6ยุทธศาสตร์น้ำ สนองพื้นที่"อีอีซี"         

 

          บอร์ดกพอ. เห็นชอบความคืบหน้าขั้นตอนการดำเนินงานการพัฒนาบุคลากร ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยมีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้ 

 

          4.1 ความคืบหน้าการพัฒนาบุคลากรในอีอีซี ใน 2 ปี โดยใช้หลักการ Demand Driven มี 2 รูปแบบ

 

          1.) EEC Model Type A : เอกชนร่วมจ่าย 100%

       มีสถาบันอาชีวศึกษาในพื้นที่เข้าร่วม 12 สถาบัน โดยปีการศึกษา 2562 มีนักศึกษาในระบบ 1,117 คน และมี MOU ร่วมกับผู้ประกอบการในอีอีซี พัฒนากำลังคนทั้งในระดับอาชีวะและปริญญาตรี จำนวน 44,000 คน

 

        2.) EEC Model Type B เอกชนร่วมบ้าง 10-50%

      ผู้ประกอบการมีส่วนร่วม ในการพัฒนาหลักสูตรจัดการเรียนรู้บางส่วน และรับนักศึกษาเข้าฝึกงาน แต่ไม่ประกันการจ้างงาน โดยกลุ่มนี้มีการผลิตกำลังคนใน 36 วิทยาลัย รวม 5,100 คน และจะขยายให้ครอบคลุม 48 วิทยาลัยในภาคตะวันออก

 

      4.2 แนวทางการสนับสนุนบัณฑิตอาสา เพื่อกระจายโอกาสสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างอนาคตให้บัณฑิตอาสาในพื้นที่ อีอีซี : เปิดรับสมัครคัดเลือกบัณฑิตระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่สำเร็จการศึกษาไม่เกิน 3 ปี จำนวน 120 คน เพื่อฝึกอบรม 2 เดือนและทำงานในพื้นที่ อีอีซี ของ 30 อำเภอ โดยทำงานร่วมกันระหว่าง ม.บูรพาและมหาลัยเครือข่าย ซึ่งคาดว่าจะได้บัณฑิตอาสารุ่นแรก ภายในเดือนมกราคม 2563 ประมาณ 30 คน จาก 3 จังหวัด ในอีอีซี

 

     4.3 แนวทางการปรับฐานภาษาอังกฤษของนักเรียนอาชีวศึกษา ในอีอีซี (อาชีวะอินเตอร์) พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในสถาบันอาชีวศึกษาของรัฐในพื้นที่ อีอีซี จัดการเรียนแบบ Content Language Integrated Learning (CLIL) เพื่อยกระดับศักยภาพของนักเรียนให้ทัดเทียมสากล สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษในวิชาชีพได้อย่างมั่นใจ และทำงานได้ค่าตอบแทนสูง

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ