Lifestyle

ยึดประโยชน์เด็กขอคืนใบประกอบวิชาชีพ-ไม่ปรับโครงสร้างศธ.

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ยึดประโยชน์เด็กเป็นศูนย์กลางขอคืนใบประกอบวิชาชีพ-ไม่ปรับโครงสร้างศธ. โดย...   ชุลีพร อร่ามเนตร [email protected] -

 

 

 


          ในที่สุดบุคลากรสพท.ทั่วประเทศกว่า 1,000 คน แต่งชุดดำจากสำนักงานเขตพื้่นที่ทั่วประเทศ ก็ได้มายื่นข้อเสนอขอปรับแก้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ขอคืนใบประกอบวิชาชีพ ตำแหน่ง ผอ. ไม่ปรับโครงสร้างศธ. ขอแยกงานบุคคลออกจาก กศจ. และยกเลิกคำสั่ง คสช. ต่อสมาชิกวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว  โดยยึดประโยชน์ของเด็กเป็นหลัก เชื่อการศึกษาแนวทางนำพาประเทศ โดยให้เด็กเป็นศูนย์กลาง

 

 

          เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม เวลา 08.30 น. บริเวณหน้ารัฐสภา กลุ่มบุคลากรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศ กว่า 1,000 คน ได้เดินทางมายื่นหนังสือต่อสมาชิกวุฒิสภา(สว.) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) โดยมี ปรีชา บัววิรัตน์เลิศ สมาชิกวุฒิสภา เป็นตัวแทนรับหนังสือ

 

 

ยึดประโยชน์เด็กขอคืนใบประกอบวิชาชีพ-ไม่ปรับโครงสร้างศธ.

 


          ธนชน มุทาพร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ชัยภูมิ เขต 1 ในฐานะประธานชมรมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การมาในครั้งนี้ เพื่อเรียกร้องใน 3 ประเด็นสำคัญ คือ 1.ข้อเสนอการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่ผ่านการประชาพิจารณ์จากองค์กรครูทั่วประเทศ ซึ่งได้เสนอสิ่งที่ต้องการ มี 4 หลักใหญ่ๆ คือ 1.ต้องการขอคืนใบประกอบวิชาชีพครู กลับมาให้คุณครู ไม่เอาใบรับรองความเป็นครู เพราะมีการหมกเม็ดหลายอย่าง 


          พร้อมกันนี้ได้ขอตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษากลับมาคืนมา ไม่เอาตำแหน่งครูใหญ่ ขอพื้นที่ให้บุคลากรทางการศึกษาอื่นๆ ตามการให้โอนบุคลากรการศึกษาอื่นๆ ตามมาตรา 38 ค (2) ซึ่งเขาไม่มีที่ยืนใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ปรากฏว่าไม่มีชื่ออยู่ ขอให้ได้รับความก้าวหน้าเหมือนตำแหน่งอื่นๆ และขอให้การปรับโครงสร้างของศธ. จะไม่เป็น ซิงเกิล คอมมานด์ ให้ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้สั่งการเพียงผู้เดียว

 

 

 

 

ยึดประโยชน์เด็กขอคืนใบประกอบวิชาชีพ-ไม่ปรับโครงสร้างศธ.

 


          2.ขอแยกงานบุคคลออกจากคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.). เพราะ กศจ.แม้เป็นสิ่งที่ดี และบริหารจัดการหลายอย่างได้ แต่ติดหล่มงานบุคคล ความล้มเหลวของการศึกษาในภูมิภาคเกิดจาก กศจ. เนื่องจากเขาไม่ได้ทำงานแผนงานยุทธศาสตร์ จึงต้องมายื่นร่าง พ.ร.บ.ระเบียบครูและบุคลากรทางการศึกษา อีกหนึ่งฉบับ เพื่อแยกงานบุคคลออกจาก กศจ. และจากการสำรวจความคิดครูทั่วประเทศ ประมาณ 63,277 คน พบว่า 96% ไม่ต้องการอยู่กับ กศจ. ขอมาอยู่กับเขตพื้นที่ หรือหน่วยงานอื่นๆ และ 3.ขอให้รัฐสภา และนายกรัฐมนตรี ออก พ.ร.บ.ยกเลิกคำสั่งที่ 19/2560 และที่ 12560 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ความซ้ำซ้อนจะหายไป


          “เรามาด้วยใจ มาด้วยแรงกดดันหลายปี เพราะที่ผ่านมาพี่น้องเพื่อนครูเรามายื่นหนังสือตลอดเวลา แต่ก็ไม่ได้รับการแก้ไข ครั้งนี้เป็นการแสดงเจตนารมณ์ต่อ ส.ส. ซึ่ง ส.ส.ท่านใด ให้ความใส่ใจ องค์กรครูเราจะสนับสนุนท่านตลอดไป” ธนชน กล่าว


          ปรีชา กล่าวว่า เบื้องต้นจะรับข้อเสนอทั้งหมดและไปศึกษาเพื่อหาแนวทางว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เพราะ ส.ว.มีหน้าที่ในการศึกษาและขับเคลื่อนการปฏิรูปต่างๆ ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาดูว่า พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ โดยในส่วนของข้อเรียกร้อง หรือการนำไปสู่การพัฒนาครูนั้นจะต้องดูทั้งระบบและหลักการทำงาน เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งฝ่ายนโยบายของผู้กำกับ ผู้ปฎิบัติ และผู้สนับสนุนต้องขับเคลื่อนไปด้วยกัน ทั้งในส่วนของการกระจายอำนาจ และความรับผิดชอบ เพราะการกระจายอำนาจต้องมีส่วนร่วมด้วย ทุกคนต้องเข้ามาร่วมคิดร่วมทำ ร่วมพิจารณาว่าจะเป็นอย่างไร

 

 

ยึดประโยชน์เด็กขอคืนใบประกอบวิชาชีพ-ไม่ปรับโครงสร้างศธ.

 

 


          “ประเด็นของทุกคนจะไม่ถูกทิ้ง จะต้องหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา เพื่อนำพาประเทศชาติ โดยให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใบรับรองความเป็นครู ว่าจะเอาหรือไม่เอา ต้องคำนึงว่าไม่ใช่เอาใครก็ได้มาเป็นครู โดยอาจจะมีหลักสูตรที่รับรองความเป็นครู อาจจะเป็นใบแรก ส่วนเด็กที่เรียนครูจบมา 5 ปี ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับใบรับรองความเป็นครู แต่ต้องมีกระบวนการที่เหมาะสม และในส่วนผู้อำนวยการ ทุกท่านมองว่าดีอยู่แล้ว ดีอย่างไร ต้องมีการพิจารณาถึงการเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนจะส่งผลกระทบต่อนักเรียนหรือไม่ รวมถึงต้องมองโลกข้างหน้าว่าไปถึงไหนกันแล้ว อะไรที่ดีเราก็จะรักษาไว้ แต่ต้องดูองค์ประกอบในภาพรวม การจะนำพาประเทศไปสู่การปฏิรูปโดยใช้การศึกษาในการสร้างคนได้นั้น ต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน และดูองค์ประกอบอื่นๆ ร่วมด้วย โดยยึดหลักการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของทุกคน ซึ่ง ส.ว.พร้อมรับฟังปัญหาของทุกคน” ปรีชา กล่าว


          ด้าน มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยศรีวิไลย์ กล่าวว่า วันนี้จะมี 5 พรรคการเมือง ได้แก่ พรรคพลังท้องถิ่นไท พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย พรรคประชาธรรมไทย พรรคไทยศรีวิไลย์ และพรรคครูไทยเพื่อประชาชน รวมถึงพรรคฝ่ายค้านอิสระก็จะมาร่วมรับข้อเสนอของกลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษา เพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการแก้ไข พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ และแต่ละพรรคก็ได้ติดตามเรื่องนี้มาตลอด และเห็นด้วยกับข้อเสนอของบุคลากรครูทางการศึกษา ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการ ควรทำเรื่องอื่น ที่ไม่ใช่ทำเรื่องการปรับโครงสร้าง การบริหารโรงเรียน เขตการศึกษาที่ดีต้องกระจายอำนาจไม่ใช่อำนาจเบ็ดเสร็จ 

 

 

 

ยึดประโยชน์เด็กขอคืนใบประกอบวิชาชีพ-ไม่ปรับโครงสร้างศธ.

 


          ดังนั้น การรับหรือไม่รับร่างหลักการดังกล่าวเป็นหน้าที่ของ ส.ส. ซึ่งถ้าร่างกฎหมายดังกล่าวเสนอโดยรัฐบาลทั้งที่เป็นสิ่งที่บุคลากรทางการศึกษาไม่พอใจ และกลุ่ม 5 พรรคก็เห็นต้องกันว่าจะไม่รับหลักการดังกล่าว เมื่อเกิดการรวมตัวของ 5 พรรค ซึ่งมีทั้งหมด 8 เสียงที่จะไม่รับหลักการดังกล่าว หากรัฐบาลยังเสนอย่อมส่งผลกระทบต่อรัฐบาลอย่างแน่นอน เพราะรัฐบาลมีเสียง 250 เสียง ถ้าตัดไปอีก 8 เสียง รัฐบาลก็แพ้ และถ้ารัฐบาลเสนอและแพ้ตั้งแต่รับหลักการของร่าง พ.ร.บ.ที่สำคัญ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทั้งหมดต้องลาออก คาดว่ารัฐบาลไม่กล้าเสี่ยงเสนอในสิ่งที่บุคลากรทางการศึกษาไม่พอใจ ไม่เห็นด้วย

 

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ