Lifestyle

เปิดผลวิจัย..การกระตุ้นการวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้งโดยไม่ตัดตา

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เผยผลวิจัย การกระตุ้นการวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้ง โดยไม่ตัดตา รางวัลพระราชทาน ระบุ สามารถพัฒนารังไข่เพิ่มจำนวนรอบวางไข่สูงขึ้น เพิ่มปริมาณและคุณภาพลูกกุ้งที่ได้


            ผลงานวิจัยเรื่อง “สารชีวโมเลกุลสำหรับการกระตุ้นการวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้ง โดยไม่ตัดตา” ของ ดร.สุพัตรา ตรีรัตน์ตระกูล ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ อุดมกิจ และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สกล พันธุ์ยิ้ม จากสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

 

             ที่ได้รับคัดเลือกพระราชทานรางวัลจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2561 สาขาการประดิษฐ์และนวัตกรรม ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร 2 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ หอประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

 

 

เปิดผลวิจัย..การกระตุ้นการวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้งโดยไม่ตัดตา

 

เปิดผลวิจัย..การกระตุ้นการวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้งโดยไม่ตัดตา

            สำหรับผลงานเรื่อง “สารชีวโมเลกุลสำหรับการกระตุ้นการวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้ง โดยไม่ตัดตา”  เป็นผลงานด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้กรรมวิธีที่สามารถกระตุ้นการวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้งขาวและกุ้งกุลาดำ โดยไม่ต้องตัดตา

 

             ทั้งนี้กระบวนการผลิตลูกกุ้งนั้น มีความจำเป็นต้อง ตัดตาแม่พันธุ์กุ้ง เพื่อที่จะกำจัดฮอร์โมนยับยั้งการพัฒนารังไข่ที่ถูกสร้างและสะสมอยู่ที่ปมประสาทตาของกุ้ง ส่งผลให้แม่พันธุ์กุ้งสามารถพัฒนารังไข่และมีจำนวนรอบวางไข่สูงขึ้น อย่างไรก็ดี วิธีการตัดตาจะทำให้ แม่พันธุ์กุ้งมีสุขภาพทรุดโทรม ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของลูกกุ้งที่ได้ในระยะเวลาต่อมา อีกทั้ง วิธีการตัดตา อาจเข้าข่ายเป็นการทารุณสัตว์ที่สามารถนำมาเป็นประเด็นกีดกันทางการค้าได้ในอนาคต 

 

          ดังนั้น ประเทศไทยในฐานะประเทศผู้ผลิตกุ้งรายใหญ่ของโลก จึงควรมีกรรมวิธีผลิตลูกกุ้งที่คำนึงถึงจริยธรรม สามารถผลิตลูกกุ้งที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับทุนวิจัยสนับสนุนจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) - มหาวิทยาลัยมหิดลภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยแห่งชาติประจำปี 2559 


       

 

          นอกเหนือจากทุนวิจัยแล้ว ในส่วนของการทดสอบการกระตุ้นการวางไข่นั้นได้รับการสนับสนุนจากภาคเกษตรกร ได้แก่ คุณวิชัย บุญสาย คุณบรรจง นิสภวาณิชย์ จากศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธ์กุ้ง (ศวพก.) และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด

 

เปิดผลวิจัย..การกระตุ้นการวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้งโดยไม่ตัดตา

 

 

เปิดผลวิจัย..การกระตุ้นการวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้งโดยไม่ตัดตา

 

          ดร.สุพัตรา  ตรีรัตน์ตระกูล อธิบายข้อมูลเพิ่มเติมว่า ทีมวิจัยได้ใช้สารโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่คิดค้นขึ้น ซึ่งมีความจำเพาะต่อฮอร์โมนยับยั้งการพัฒนารังไข่หรือฮอร์โมนจีไอเอซ (GIH) เพื่อกระตุ้นให้ แม่พันธุ์กุ้งวางไข่ได้โดยไม่ต้องตัดตา ซึ่งผลการทดสอบพบว่าแม่พันธุ์กุ้งที่ได้รับการฉีดสารดังกล่าว จะมีการพัฒนารังไข่และวางไข่ต่อเนื่องโดยที่ยังมีสุขภาพที่แข็งแรงกว่าแม่พันธุ์กุ้งตัดตา ส่งผลดีต่อปริมาณและคุณภาพลูกกุ้งที่ได้

 

 

เปิดผลวิจัย..การกระตุ้นการวางไข่ในแม่พันธุ์กุ้งโดยไม่ตัดตา

                                  ดร.สุพัตรา  ตรีรัตน์ตระกูล

           ดร.สุพัตรา ฝากถึงนักวิจัยรุ่นใหม่และนักศึกษาที่กำลังจะจบว่า “การมองหาโจทย์วิจัยนั้น ไม่ควรจำกัดแค่เพียงว่าต้องเป็นโจทย์ใหม่เพียงอย่างเดียว แต่สามารถประยุกต์โจทย์วิจัยที่มีอยู่แล้ว นำมาตั้งปัญหาการวิจัยและค้นหาให้ได้ว่า ผลงานวิจัยจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร รูปแบบใด ใครคือผู้ที่จะใช้ประโยชน์ และความต้องการของผู้ใช้เป็นอย่างไร ซึ่งจะทำให้ได้ผลงานวิจัยที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดและนำใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่ว่าจะในระดับสังคม ระดับชุมชน ระดับประเทศ หรือระดับนานาชาติต่อไป”

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ