Lifestyle

"กฎหมายกัญชา" พืชยาควบคุมสร้างความมั่นคงทางการแพทย์ไทย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"กฎหมายกัญชา" พืชยาควบคุมสร้างความมั่นคงทางการแพทย์ไทย : รายงาน  โดย...  ชุลีพร อร่ามเนตร [email protected] 

 

          “ควรแยกกัญชา กระท่อม ออกจากพ.ร.บ.ยาเสพติด ปลดล็อกไม่ใช่อิสระจากการควบคุม ยังคงควบคุมโดยผู้รู้จริง” ผศ.ดร.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม

          แม้งานวิจัยหลายชิ้นและหลายประเทศให้การยอมรับว่า “กัญชา กระท่อม” เป็นพืชที่สามารถใช้ในการรักษาโรคได้ แต่สำหรับประเทศไทยยังไร้ซึ่งข้อสรุปในเรื่องดังกล่าว ด้วยอดีตกัญชา กระท่อม พืชควบคุมเหล่านี้ถูกขนานนามว่าเป็นยาเสพติดที่มีโทษต่อร่างกาย

 

 

"กฎหมายกัญชา" พืชยาควบคุมสร้างความมั่นคงทางการแพทย์ไทย

 

        ยื่นนายกฯ ดันแก้ก.ม.ยาเสพติด

          ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) กล่าวในการประชุมทำความเข้าใจสถานการณ์ของพืชยากัญชาและกระท่อมสู่สังคม จัดโดยกพย.ภาคีเครือข่ายวิชาการศึกษาพืชกระท่อม-กัญชา และมูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา (มสพ.) ว่ากพย.จึงสนับสนุนการใช้กัญชาและกระท่อมในทางการแพทย์ โดยได้จัดทำหนังสือเพื่อยื่นเสนอต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้ออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กรณีกัญชาและพืชกระท่อม ดังนี้ 1.ขอให้ยกเลิกความในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2530 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน มาตรา 7 ยาเสพติดให้โทษแบ่งเป็น 5 ประเภท โดยประเภทที่ 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น มอร์ฟีน โคคาอีน ฝิ่นยา สารสำคัญจากกัญชาและพืชกระท่อม และประเภทที่ 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นตำรับยา และมียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 กัญชาหรือพืชกระท่อมผสมอยู่ด้วย อีกทั้งอยากให้ยกเลิกการกำหนดกัญชาเป็นยาเสพติดในประเภทที่ 5

 

 

"กฎหมายกัญชา" พืชยาควบคุมสร้างความมั่นคงทางการแพทย์ไทย

 

 

          2.ให้ยกเลิกความในมาตรา 57 เช่น ห้ามมิให้ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 หรือประเภทที่ 5 เว้นแต่เป็นการเสพยาเสพติด ประเภท 1 กัญชา พืชกระท่อมหรือประเภท 5 ตามประกาศของรมว.สธ.เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยหรือเพื่อรักษาผู้ป่วย 3.ให้เพิ่มเติมมาตรา 57/1 เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิชัย เช่น ทดลอง เพาะปลูกกัญชาและพืชกระท่อม ผลิต กำหนดวิธีการ ขั้นตอนในการเสพหรือครอบครอง และ 4.เพิ่มเติมมาตรา 57/2 รมว.สธ.เห็นชอบของคณะกรรมการประกาศให้วิธีเสพ การเพาะปลูก โดยไม่ถือเป็นความผิด และมาตรา 57/3 ประกาศให้การครอบครองกัญชายาหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกัญชาของผู้ป่วย

 

"กฎหมายกัญชา" พืชยาควบคุมสร้างความมั่นคงทางการแพทย์ไทย

 

          “สิ่งที่เป็นห่วงตอนนี้คือกังวลเรื่องปัญหาสิทธิบัตรกระท่อมและกัญชา เนื่องจากขณะนี้มีการจดสิทธิบัตรกระท่อมและกัญชาในต่างประเทศ ซึ่งถ้าประเทศไทยดำเนินการช้าในการเรื่องนี้ กัญชา กระท่อมซึ่งเป็นพืชไม้ถิ่นของไทยจะถูกยึดครองด้วยประเทศอื่นๆ รัฐบาลจึงควรเร่งผลักดันกฎหมายในเรื่องนี้ ”ภญ.นิยดา กล่าว

 

"กฎหมายกัญชา" พืชยาควบคุมสร้างความมั่นคงทางการแพทย์ไทย

 

 

          งานวิจัยชี้ชัดกัญชารักษาโรคหลายชนิด
          ภญ.วีรยา ถาอุปชิต เภสัชกรรม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ปัจจุบันหลายประเทศเปิดกว้างใช้กัญชามารักษาหรือบรรเทาโรคหลายชนิด ทั้งกิน สูดควัน สูดไอระเหย การนำมาผสมในอาหารหรือทำชา และประเทศไทย จากข้อมูลตำรับยาไทยที่เข้ากัญชาระบุในตำรายาแพทย์แผนไทย พบว่ามีทั้งสิ้น 14 ตำรับยาที่เข้ากัญชา โดยในตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ มีตำรับยาไทยที่เข้ากัญชา 11 ตำรับ มาจากพระคัมภีร์ต่างๆ เช่น พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์พระคัมภีร์สรรพคุณ (แลมหาพิกัด) และในตำราพระโอสถพระนารายณ์มีตำรับยาไทยที่เข้ากัญชา 3 ตำรับ โดยพบตำรับยาที่เข้ากัญชาโดยมีกัญชาเป็นส่วนประกอบหลัก ได้แก่ ตำรับยาที่ชื่อว่ายาทิพกาศ ซึ่งมีส่วนประกอบหลักเป็นใบกัญชาถึง 16 ส่วน และข้อบ่งใช้ของการแพทย์ในปัจจุบัน กัญชาใช้รักษาอาการปวดเรื้อรัง โดยเฉพาะอาการปวดจากปลายประสาท หรือปวดจากโรคมะเร็ง ภาวะกล้ามเนื้อเกร็งเนื่องจากภาวะปลอกประสาทอักเสบ  เป็นต้น ดังนั้นกัญชาเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ซึ่งมีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนทั้งในแผนไทยและแผนปัจจุบัน 

 

"กฎหมายกัญชา" พืชยาควบคุมสร้างความมั่นคงทางการแพทย์ไทย

 

 

          ฝากรัฐเข้าใจวิถีชาวบ้านใช้กระท่อม
          รศ.ดร.จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า กัญชา และกระท่อม เป็นพืชที่มีมาก่อนที่กฎหมายจะกำหนดว่าห้ามปลูก ห้ามเสพ โดยเฉพาะในส่วนกระท่อมที่ในพื้นที่ต่างๆ อย่างพื้นที่ภาคใต้ ถือเป็นพืชประจำบ้านที่ชาวบ้านนิยมปลูกเอาไว้เพื่อการรักษา เพราะบ้านต่างจังหวัดจะปลูกสมุนไพรที่ใช้เป็นประจำ และเป็นการแจกจ่ายเมื่อมีการมาขอมากกว่าการขาย ดังนั้นสิ่งที่เห็นมาตั้งแต่เด็ก คือฤดูทำนา ชาวนาจะมาขอเก็บใบกระท่อมไปกินเพื่อให้ทำนาได้ทนแดด ซึ่งถ้าไม่ใช่ฤดูทำนาเขาก็ไม่ได้มาขอ แสดงว่าชาวบ้านน่าจะรู้วิธีใช้ที่ถูกต้องและเขากินเฉพาะเมื่อจำเป็น ไม่เกิน 2-3 ใบต่อวัน ไม่ได้กินจนติด เพราะฉะนั้นการกินใบกระท่อมอาจเป็นวิถีวัฒนธรรมและตามข้อมูลวิชาการ สามารถรักษาได้หลายโรคและอยู่ในตำรับแพทย์โบราณในการรักษาโรคเบาหวานอยากกระตุ้นให้นักวิชาการวิจัยศึกษาสารในกระท่อมและอยากให้รัฐบาลมองเห็นวิถีของชาวบ้านที่ใช้ต้นใบกระท่อม

 

 

"กฎหมายกัญชา" พืชยาควบคุมสร้างความมั่นคงทางการแพทย์ไทย

 

          สธ.ควรเป็นเจ้าภาพกฎหมายกัญชา
          ผศ.ดร.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หากมองกัญชาตามทฤษฎีขนานนาม มองได้ว่าผู้มีอำนาจในสังคมสร้างวาทกรรม ขนามนามว่ากัญชามีสารบางอย่างที่เป็นพิษ เป็นเรื่องเลวร้าย ทั้งที่ตอนนี้มิติของกัญชามีประโยชน์ทางการแพทย์  ซึ่งถ้าไม่ปลดล็อกนิยามคำเก่าของกัญชาให้สอดคล้องกับงานวิจัยที่ค้นพบใหม่ เห็นด้วยต้องแก้พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ และควรแยกกัญชา กระท่อม ออกจากพ.ร.บ.ยาเสพติด โดยการปลดล็อกไม่ใช่อิสระจากการควบคุม แต่ยังควบคุมอยู่และต้องควบคุมโดยผู้รู้จริง กระทรวงสาธารณสุขควรเป็นเจ้าภาพงานนี้  เพื่อได้มีกระบวนการผลิตยาที่รองรับได้ เริ่มต้นตั้งแต่ปลูก สกัด ก็ต้องถูกควบคุม จะเอาไปวิจัย พัฒนาและใช้ต้องควบคุม

 

"กฎหมายกัญชา" พืชยาควบคุมสร้างความมั่นคงทางการแพทย์ไทย

 

          ปลดล็อกใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ 
          นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า งานวิจัยหลายชิ้น ระบุว่า กัญชาไม่ได้เป็นยาเสพติด และมีความรุนแรงน้อยกว่าแอลกฮอล์ และบุหรี่  ซึ่งตอนนี้แอลกฮอล์และบุหรี่ยังสามารถขายได้ ทำไมจึงไม่มีวิธีการใช้กัญชาที่เหมาะสม กัญชาออกฤทธิ์ทางยาเช่นเดียวกับกระท่อม และภูมิปัญญาไทยรู้จักใช้กัญชาและกระท่อมมานาน ดังนั้นหากไม่มีการแก้กฎหมายให้กัญชาเป็นกฎหมายเฉพาะ พืชยาควบคุมจะเสียโอกาสในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจดสิทธิบัตร ขณะเดียวกันต้องให้มีการวิจัย ศึกษาเพื่อนำไปสู่ประโยชน์ต่อผู้ป่วย มีการกำหนดวิธีการใช้ทั้งในแผนแพทย์ปัจจุบันและแพทย์แผนไทย เป็นจุดยืนที่ควรนำเสนอให้รัฐบาลแก้ไข ปลดล็อกกัญชามาใช้ในทางการแพทย์มากที่สุด

 

"กฎหมายกัญชา" พืชยาควบคุมสร้างความมั่นคงทางการแพทย์ไทย

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ