ข่าว

เอกชนขอขยายโควต้า ลดภาษีนมผงขาดมันเนย

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"นราพัฒน์"หารือกรรมการบริหาร สภาธุรกิจยุโรป-อาเซียน กระชับความสัมพันธ์ หวังขยายตลาดสินค้าเกษตร เอกชนขอขยายโควต้า ลดภาษีนมผงขาดมันเนย

 

19 กุมภาพันธ์ 2563 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้หารือกับนายคริส ฮัมฟรีย์ (Mr. Christ Humphrey) กรรมการบริหาร สภาธุรกิจยุโรป-อาเซียน (EU-ASEAN Business Council: EU-ABC)  

 

เอกชนขอขยายโควต้า ลดภาษีนมผงขาดมันเนย

 

 

พร้อมด้วยผู้แทนจาก 12 บริษัท (Asia Group Advisors, Bayer, BASF, Friesland Campina, SAP, Japan Tobacco Industries (JTI), Unilever, Bower Group Asia, Danone, Here technology, Michelin และ Vriens & Partners PTE Ltd.)

 

ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้หารือความร่วมมือด้านการเกษตร แลกเปลี่ยนข้อมูลนโยบายด้านการเกษตรระหว่างกันสรุปผลการหารือ โดย EU-ABC เห็นว่าความตกลงการค้าเสรี ไทย-สหภาพยุโรป (FTA Thai-EU) จะช่วยให้การค้าระหว่างทั้งสองฝ่ายขยายตัวเพิ่มขึ้น และจะดึงดูดให้บริษัทเอกชนใน EU เข้ามาลงทุนในภาคการเกษตรในประเทศไทย

 

นายนราพัฒน์ กล่าวว่า คณะธุรกิจของสหภาพยุโรปสนใจที่จะทำงานร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมมาใช้ในการเพาะปลูก เกษตรอัจฉริยะ เกษตรแม่นยำ การบริหารจัดการข้อมูลทางการเกษตร ซึ่งคณะ EU-ABC ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ดังนี้ 1) บริษัท Bayer ได้เข้ามาลงทุนจัดตั้งศูนย์วิจัยและการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้ โดยเฉพาะ ข้าว ข้าวโพด ผัก

 

 

  เอกชนขอขยายโควต้า ลดภาษีนมผงขาดมันเนย

 

 

2) บริษัท SAP ซึ่งมีแอพลิเคชั่น AI, Big data และ Digital workforce ยินดีสนับสนุนความร่วมมือในเรื่องการบริหารจัดการฐานข้อมูล 3) BASF แจ้งว่าบริษัทได้จัดทำโครงการ smart-farmer เพื่อเพิ่มผลิตภาพ (productivity) สินค้าเกษตรและมีแอพลิเคชั่นสำหรับสมาร์ทโฟน ที่สามารถวิเคราะห์เชื้อโรคได้

 

โดยไทยได้ให้ข้อมูลว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agri-technology and innovation center: AIC) ใน 77 จังหวัด และได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจกับ 14 มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ จัดทำโครงการ Young Smart Farmer เพื่อพัฒนา Young Smart Farmer ของไทยให้สามารถปรับตัวสู่เกษตรกรยุคใหม่ได้ โดยการพัฒนาการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต และนำระบบตลาดนำการผลิตมาใช้ ตลอดจนสนับสนุนการส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับ Young Smart Farmer 

 

นายนราพัฒน์ แจ้งให้คณะทราบว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ (one application) เพื่อจัดทำข้อมูล Big data และจะเชื่อมโยงไปยังกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายตลาดนำการผลิต โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้เริ่มเก็บข้อมูลการเพาะปลูก การกู้เงิน การลงทุนของเกษตรกร เพื่อนำมาวิเคราะห์และใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าว

 

 

เอกชนขอขยายโควต้า ลดภาษีนมผงขาดมันเนย

 

 

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ยังได้ร่วมกับลาซาด้าจัดทำ แพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital platform) เพื่อเปิดตลาดออนไลน์ให้กับเกษตรกร และมีแผนจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรในการนำผลิตภัณฑ์มาขายบนเว็บไซด์ลาซาด้า ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงตลาดได้เพิ่มมากขึ้น

 

ทาง คณะ EU-ABC เห็นว่าการความปลอดภัยอาหาร ความมั่นคงทางอาหาร และสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่สหภาพยุโรป (EU) ให้ความสำคัญ จึงอยากที่จะดำเนินการร่วมกับเกษตรกรไทย โดยนายนราพัฒน์  กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบายสนับสนุนให้เกษตรกรทำการเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น เพิ่มจำนวนเกษตรกร GAP และผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตรที่จะส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งมีมาตรฐานสูง นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้ลงทุนด้านน้ำเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ (yield) สูงขึ้น  

 

นอกจากนี้ยังได้รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะประเด็นการขอเพิ่มโควต้าและลดภาษีของผลิตภัณฑ์จากบริษัท Friesland Campina และบริษัท Unilever ซึ่งนำเข้าผลิตภัณฑ์นมผงขาดมันเนย (Skimmed Milk Powder) จากสหภาพยุโรป โดยขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขยายโควต้าและลดภาษีของนมผงขาดมันเนย เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบมาการผลิตของบริษัทฯ ซึ่งเราได้แจ้งว่า ประเด็นดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องของหลายหน่วยงาน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะนำไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

 

เอกชนขอขยายโควต้า ลดภาษีนมผงขาดมันเนย

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ