ข่าว

ผนึกไทยฟื้นศก.-ท่องเที่ยว"ศรีลังกา"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

ผนึกไทยฟื้นศก.-ท่องเที่ยว"ศรีลังกา" เจาะกลุ่มทัวร์บุญมุ่งเป้า"คนรุ่นใหม่"  

              ผลพวงจากเหตุระเบิดโรงแรมหรูและโบสถ์คริสต์ย่านใจกลางกรุงโคลัมโบ เมืองหลวงของศรีลังกา และอีก 2 เมือง เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2562 จนสร้างความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินที่ไม่อาจประเมินค่าได้ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200 คนและบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของศรีลังกาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

ผนึกไทยฟื้นศก.-ท่องเที่ยว"ศรีลังกา"

      ผนึกไทยฟื้นศก.-ท่องเที่ยว"ศรีลังกา"

                    นาย Hon. John Amaratunga รัฐมนตรีการท่องเที่ยว ศรีลังกา 

        ด้วยเหตุนี้รัฐบาลโดยสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา จึงร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู) ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของศรีลังกาที่กำลังไปได้ดีให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง

              “นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่การท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศได้มาเจอกันโดยตรง มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความแข็งแกร่ง เพราะเราผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก ผ่านวิกฤติมาทุกรูปแบบ เชื่อว่าสามารถนำประสบการณ์มาช่วยการท่องเที่ยวศรีลังกาได้”

ผนึกไทยฟื้นศก.-ท่องเที่ยว"ศรีลังกา"

               จุฬามณี ชาติสุวรรณ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา กล่าวกับ "คณะสื่อมวลชนไทย" ภายหลังร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กับสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา  ณ โรงแรมฮิลตัน โคลัมโบ โดยมี ฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้ ททท. และ Mr.Kishu Gomes ประธานสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ร่วมลงนาม

ผนึกไทยฟื้นศก.-ท่องเที่ยว"ศรีลังกา"

             จุฬามณี ชาติสุวรรณ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงโคลัมโบ    

               จุฬามณี กล่าวต่อว่า หากมองโดยลักษณะทางภูมิศาสตร์แล้ว ศรีลังกาถือเป็นฮับทางการค้าและการท่องเที่ยว เพราะเป็นเส้นทางการค้าระหว่างตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ขณะเดียวกันคนศรีลังกามีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติและศาสนา หลังมีปัญหาภายในประเทศและสิ้นสุดสงครามกลางเมืองเมื่อปี 2552 รัฐบาลศรีลังกาจึงได้เริ่มการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศกันขนานใหญ่ มีการเร่งพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค ตลอดจนมีนโยบายส่งเสริมการท่องเทีี่ยวและการลงทุน  ด้วยการออกมาตรการต่างๆ เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาลงทุน 

ผนึกไทยฟื้นศก.-ท่องเที่ยว"ศรีลังกา"

                  “หลังจากปัญหาภายในประเทศสงบในปี 2552 เขาคิดว่าจะกลับมาแล้วล่ะ วันนี้จะเห็นว่าศรีลังกามีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน มีการก่อสร้างอาคารตึกสูงๆ ใหม่ๆ ขึ้นเต็มไปหมด การท่าเรือก็ขยาย มีถนนใหม่ๆ ดีๆ มีทางด่วนเกิดขึ้น นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นที่เขากำลังพยายามเร่งฟื้นฟูและพัฒนาจากโอกาสที่เขาเสียไปเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา” เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงโคลัมโบ เผย

                   ขณะที่  ฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชีย และแปซิฟิกใต้ ททท. เผยภายหลังการลงนาม โดยระบุว่าการลงนามข้อตกลงครั้งนี้จะเป็นการทำงานแบบบูรณาการซึ่งกันและกัน โดยจะมุ่งเน้นความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของทั้งสองฝ่ายให้มีประสิทธิภาพ มีความชัดเจนมากขึ้น และตระหนักถึงประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ รวมทั้งเป็นการกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้น ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการจัดการท่องเที่ยวในภาวะวิกฤติ เพื่อทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ มีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ 

ผนึกไทยฟื้นศก.-ท่องเที่ยว"ศรีลังกา"

       ฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชีย และแปซิฟิกใต้ ททท.      

                 รองผู้ว่าการ ททท. เผยต่อว่า สำหรัับการลงนามครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยวอีกระดับหนึ่งระหว่างประเทศไทยกับศรีลังกา โดยมีกรอบการทำงานประกอบด้วยการร่วมมือด้านข้อมูลข่าวสาร การให้คำปรึกษาแนะนำ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติหรือมีวิกฤติเกิดขึ้น ควรจะทำอย่างไรในธุรกิจท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีด้านอื่นๆ ในเรื่องการท่องเที่ยวที่สามารถเอื้อกันได้ พร้อมทั้งให้มีการพบปะระหว่างกันระดับเจ้าหน้าที่ให้บ่อยมากขึ้น เพราะฉะนั้นกรอบความร่วมมือถือเป็นเอกสารสำคัญที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างกัน

                   “ทุกวิกฤติต้องใช้เวลาในการเยียวยา แต่เราก็บอกเขาว่าประเทศไทยพร้อมที่จะยื่นมือเข้ามาช่วยศรีลังกา ประเทศไทยในอดีตก็เคยผ่านวิกฤติของเรามาเช่นกัน เราพอมีประสบการณ์ มีองค์ความรู้ที่จะให้คำปรึกษาแนะนำศรีลังกาได้ อย่างไรก็ตามผมก็เชื่อว่าศรีลังกาด้วยศักยภาพของเขาที่มีอะไรดีๆ มากอยู่แล้ว เพียงแค่การสื่อสารให้ตลาดทราบ ให้นักท่องเที่ยวทราบว่าศรีลังกาปลอดภัยแล้ว พร้อมที่จะรับนักท่องเที่ยวเหมือนเดิมแล้วเท่านั้นเอง”

                   ส่วนตัวเลขนักท่องเที่ยวศรีลังกาที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยนั้น รองผู้ว่าการ ททท.ระบุว่า ในปี 2561 ที่ผ่านมา มีชาวศรีลังกาเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยประมาณ 5 หมื่นคน ในขณะที่คนไทยเดินทางไปศรีลังกาเพียงแค่ 9,000 กว่าคน เพราะฉะนั้นตัวเลขนักท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ จึงมีความแตกต่างกันอยู่พอสมควร อย่างไรก็ตามถ้ามีการเดินทางมากขึ้นไม่ว่าไทยมาศรีลังกาหรือศรีลังกาไปไทยก็จะสามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศได้

                “เราได้รับการร้องขอจากรัฐบาลศรีลังกาให้ส่งเสริมคนไทยมาที่นี่มากขึ้น ซึ่งเราก็ไม่มีปัญหา เรายินดี ยิ่งมีการเดินทาง ธุรกิจอย่างอื่นก็จะตามมาด้วย” ฉัททันต์กล่าว พร้อมย้ำว่า สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของศรีลังกาเบื้องต้นศาสนาก็ยังเป็นเรื่องสำคัญที่ทั้งสองประเทศจะส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพราะไทยกับศรีลังกามีความสัมพันธ์ทางด้านนี้มาอย่างยาวนาน  ขณะเดียวกันศรีลังกาก็ได้พัฒนาสินค้าการท่องเที่ยวอย่างอื่นมากมาย ไม่ว่าหาดทราย ชายทะเล หรือสถานที่สำคัญในทางประวัติศาสตร์ต่างๆ คงจะทำให้คนไทยมาท่องเที่ยวศรีลังกามากขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่น่ใหม่ที่อยากรู้อยากเห็นนอกเหนือจากสถานที่เก่าๆ ที่เขาเคยไปมา"

             ด้าน ชลดา สิทธิวรรณ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเมืองมุมไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่เอเชียใต้ ประกอบด้วย อินเดีย ศรีลังกา และมัลดีฟส์ กล่าวยืนยันว่า การท่องเที่ยวศรีลังกาวันนี้ได้กลับคืนสู่สภาวะปกติแล้ว ตามที่

ยืนยัน จากเดิมหลังเกิดเหตุระเบิดนักท่องเที่ยวหายไปเหลือวันละ 1,000 คน แต่ตอนนี้เพิ่มขึ้นมาเป็นวันละ 2,000 คน และนับวันจะยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ 

                “หน้าตาคล้ายกับคนอินเดีย แต่คนศรีลังกาจะซอฟต์กว่าคนอินเดีย นุ่มนวลน่ารักกว่า เราอาจคิดว่าเขานิสัยไม่ดี ไม่เรียบร้อย กินข้าวด้วยมือ ใส่รองเท้าแตะ แต่จริงๆ แล้วเป็นวัฒนธรรมของเขา รวยแค่ไหนเขาก็ใส่รองเท้าแตะคีบ แล้วที่สำคัญคนศรีลังกาชอบคนไทย ชอบอาหารไทย และชอบประเทศไทย แม้คนที่ยังไม่เคยมาท่องเที่ยวประเทศไทย ถ้าเขาถามเราว่ามาจากประเทศไหน เราตอบว่ามาจากประเทศไทย เขาจะสวัสดีครับ สวัสดีค่ะเราทันที” ผอ.ททท.เมืองมุมไบให้มุมมองทิ้งท้าย

  

 

  เปิดตัวเลขท่องเที่ยวระหว่าง“ไทย-ศรีลังกา”

               “ศรีลังกา” หรือชื่อทางการว่า “สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา” เป็นเกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรอินเดีย ห่างจากตอนใต้ของอินเดียประมาณ 80 กิโลเมตร  มีรูปร่างคล้ายลูกขนุน บ้างก็ว่าเหมือนไข่มุก บ้างก็ว่าคล้ายหยดน้ำ มีพื้นที่รวมประมาณ 63,610 ตารางกิโลเมตร หรือเล็กกว่าประเทศไทยประมาณ 8 เท่า มีประชากรประมาณ 21 ล้านคน ชาวศรีลังกาส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา นิกายหินยานร้อยละ 70 ฮินดูร้อยละ 15 ท่ี่เหลือเป็นคริสต์และอิสลาม ภาษาที่ใช้ในการสื่่อสารเป็นภาษาสิงหลและทมิฬ ส่วนอังกฤษจะใช้เป็นภาษาราชการ สำหรับสกุลเงินที่ใช้เป็นรูปี (100 รูปีเท่ากับ 35 บาท)

               สภาพภูมิอากาศศรีลังกาเป็นแบบเมืองร้อน ฝนตกชุกในช่วงหน้ามรสุม เนื่องจากประเทศตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรประมาณ 500 ไมล์ ทำให้มีสภาพอากาศชุ่มชื้น อุณหภูมิไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนักตลอดทั้งปี มีพืชเศรษฐกิจส่งออกที่สำคัญได้แก่ ชา หรือที่รู้จักในนาม “ชาซีลอน” ที่ว่ากันว่าเป็นชาที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก รองลงมารายได้จากการท่องเที่ยว โดยมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่วัดวาอารามต่างๆ พระเขี้ยวแก้วที่เมืองแคนดี้ นอกจากนี้ยังมีแหล่งที่พักตากอากาศชายทะเลตามเมืองต่างๆ สวยงามจำนวนมาก

              สำหรับสถิติการท่องเที่ยวศรีลังกาที่เดินทางมายังประเทศไทย จากตัวเลขข้อมูลงานวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ ททท. ล่าสุดระบุในปี 2561 มีชาวศรีลังกาเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยประมาณ 67,000 คน และในปีนี้(2562) คาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 73,000 คน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 12 โดยช่วงเวลาที่นักท่องเที่ยวศรีลังกาเดินทางเข้ามาสูงสุดคือ เมษายน ประมาณ 8,000 คน รองลงมา สิงหาคมและธันวาคมประมาณ 7,500 คน 

               ส่วนปัญหาอุปสรรคสำคัญที่นักท่องเที่ยวศรีลังกาเปลี่ยนเป้าหมายการเดินทางไปยังประเทศอื่นในภูมิภาค เนื่องจากปัญหาการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศไทยยังมีความเข้มงวดมากสำหรับชาวศรีลังกา หลังมีปัญหาการสู้รบภายในประเทศในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่เหตุระเบิดในกรุงโคลัมโบก็ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดยรวมในระยะสั้นเท่านั้น 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ