ข่าว

 ผนึก5สถาบันการเงินช่วย"เอสเอ็มอี"เข้าถึงเทคโนฯ"หุ่นยนต์"

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

 ผนึก5สถาบันการเงินช่วย"เอสเอ็มอี"เข้าถึงเทคโนฯ"หุ่นยนต์"สู่อุตสาหกรรม4.0

 

              ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในโลกอยู่ใยุค 4.0 ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความจำเป็นที่ต้องใช้หุ่นยนต์มาแทนแรงงานคนมากขึ้น จากข้อมูลที่สถาบันวิจัยแมคคินซีย์ โกลบอล ชี้ว่าคนทำงานประมาณ 400-800 ล้านคนบนโลกใบนี้จะต้องเปลี่ยนอาชีพภายในปี 2573 เพราะจะถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีสมองกล(AI)

 ผนึก5สถาบันการเงินช่วย"เอสเอ็มอี"เข้าถึงเทคโนฯ"หุ่นยนต์"

                ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลสมาพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติ (IFR) ที่ระบุว่า เมื่อปี 2559 มียอดจำหน่ายหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18  ปี 2560 ที่ผ่านมามีการขายหุ่นยนต์ทั่วโลกได้กว่า 3 แสนตัว ซึ่ง 3 ใน 4 ของจำนวนนี้จำหน่ายใน 5 ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี ส่วนประเทศกำลังพัฒนาก็ทุ่มเงินมหาศาลเพื่อซื้อหุ่นยนต์มาใช้ในอุตสาหกรรมภาคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ไต้หวัน ไทย อินเดีย หรือเม็กซิโก 

 

 ผนึก5สถาบันการเงินช่วย"เอสเอ็มอี"เข้าถึงเทคโนฯ"หุ่นยนต์"

                   สอดรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลที่พยายามพัฒนาภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่เอสเอ็มอีไปจนถึงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หันมาใช้ระบบหุ่นยนต์แทนคนมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะอุบัติเหตุ ต้นทุนการผลิต ตลอดจนการควบคุมการผลิตสินค้าได้ตามต้องการ จึงไม่แปลกที่ “ยูนิ อาร์ค” (UNI ARC) ผู้นำและตัวแทนจำหน่ายหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ผนึกพันธมิตร 5 สถาบันการเงิน จัดสินเชื่อหุ่นยนต์แขนกล-ระบบอัตโนมัติ ดอกเบี้ยต่ำ หวังช่วยเอสเอ็มอีเข้าถึงเทคโนโลยียุค 4.0 เสริมศักยภาพภาคอุตสาหกรรม พร้อมลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

               “ปัจจุบันกลุ่มสมาร์ทแฟคตอรี่มีอยู่ประมาณ 1.4 แสนราย และกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอีอีก 5 แสนราย เป้าหมายหลักของเราให้สองกลุ่มนี้เข้าถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่มีคุณภาพ ต้องการกระจายให้แพร่หลายไปสู่ทุกอุตสาหกรรม โดยผู้เข้าร่วมโครงการสามารถลงมือได้โดยที่ไม่กระทบสภาพคล่อง”

               ธิติ วงศ์ธนาศักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูนิ อาร์ค จำกัด กล่าวระหว่างเปิดแถลงข่าวเปิดตัวแคมเปญ “5 YEARS UNI ARC 5 YEARS ROBOTPAYLITE FOR SMART FACTORIES & SMEs” ที่โรงแรมเรเนซองส์ สีลม โดยแบ่งแอพพลิเคชั่นหลักออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วยเทคโนโลยีการเชื่อมและตัด ซึ่งมีอุตสหากรรมที่เกี่ยวข้องในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปเหล็ก อุตสาหกรรมยานยนต์ การผลิตเครื่องจักรกลต่างๆ เทคโนโลยีการหยิบจับและการจัดเรียง  ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหาร ที่ใช้แรงงานคนทำแบบซ้ำๆ เดิมๆ และสุดท้ายเทคโนโลยีการเคลื่อนย้าย โดยแอพพลิเคชั่นเหล่านี้มีให้ผู้ประกอบการเลือกใช้มากกว่า 79 รูปแบบการผลิต

                  "บริษัทเล็งเห็นถึงความสำคัญของผู้ประกอบการขนาดกลางและรายย่อย หรือเอสเอ็มอี ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ผนึกกำลัง 5 สถาบันทางการเงินออกสินเชื่อพิเศษดอกเบี้ยต่ำ ภายใต้ชื่อโครงการ “5 YEARS UNI ARC 5 YEARS ROBOTPAYLITE FOR SMART FACTORIES & SMEs” เพื่อช่วยเหลือทุกภาคการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ให้มีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อ ที่เน้นดอกเบี้ยต่ำ ระยะเวลาการผ่อนชำระยาว เพื่อเพิ่มโอกาสในการพัฒนาสายการผลิต ผ่านการทำงานด้วย ระบบ [Application] และหุ่นยนต์อัตโนมัติ [Robot] เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพในไลน์การผลิต"

                  สำหรับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการได้แก่ บริษัท บีโอที ลีส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท บีเอสแอล ลีสซิ่ง จำกัด บริษัท กรุงเทพแกรนด์แปซิฟิคลีส จำกัด(มหาชน) บริษัท ไทยโอริกซ์ ลีสซิ่ง จำกัด และบริษัท เอสเอ็มเอฟแอล ลีสซิ่ง(ประเทศไทย) จำกัด ทั้งนี้เพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน สู่การลดต้นทุนในระยะยาว เป็นการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้นโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ล้ำสมัย มาเป็นตัวช่วยหลักในการเดินหน้าไลน์การผลิต 

 

 ผนึก5สถาบันการเงินช่วย"เอสเอ็มอี"เข้าถึงเทคโนฯ"หุ่นยนต์"

                  บอสใหญ่ยูนิ อาร์ค เผยต่อว่า นอกจากปัญหาด้านการแข่งขันในความชำนาญของการผลิตแล้ว ยังมีปัญหาด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนส่งผลให้ไม่สามารถพัฒนาศักยภาพการผลิตได้เต็มที่ โดยยูนิ อาร์ค มีความพร้อมที่จะให้การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ที่มอบสินเชื่อระยะยาวเพื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะได้มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ล้ำสมัย ลดปัญหาการผลิตต่างๆ ทั้งด้านขาดแคลนแรงงาน การจ้างงานต่อยอดการผลิต ลดต้นทุนในระยะยาวได้ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้มอบระยะเวลาในการผ่อนชำระสูงสุด 5 ปี ในอัตราดอกเบี้ยระหว่าง 2-4% ซึ่งต่ำกว่าอัตราโดยทั่วไป

                 อย่างไรก็ตามโครงการ “5 YEARS UNI ARC 5 YEARS ROBOTPAYLITE FOR SMART FACTORIES & SMEs” นั้น พร้อมที่จะให้การสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและรายย่อย หรือเอสเอ็มอี เข้าถึงแหล่งทุนในการซื้อหุ่นยนต์แขนกลและระบบอัตโนมัติเพื่อเป็นการติดอาวุธให้มีศักยภาพการแข่งขันที่ดีขึ้น ทั้งยังช่วยยกระดับผู้ประกอบการไทย ไปสู่การผลิตสินค้าที่มีความแม่นยำสูง ซึ่งยูนิ อาร์ค และสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ มองเห็นโอกาสในการจัดโครงการนี้จะสามารถส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและรายย่อย หรือเอสเอ็มอี ได้ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตของไทยในภาพรวมให้เพิ่มขีดการแข่งขันและช่วยส่งเสริมยอดขายของบริษัทให้เติบโตตามไปด้วย

                  ธิติ ย้ำด้วยว่า โครงการดังกล่าวนอกจากจะเป็นประโยชน์ด้านการลงทุนแล้ว ช่วยลดปัญหาด้านแรงงาน และเป็นการเสริมศักยภาพการผลิตในระยะยาว เช่น หุ่นยนต์แขนกล 1 ระบบ ทดแทนแรงงานได้ 5 คน หากต้องจ่ายค่าจ้างแรงงานรวม 5 หมื่นบาทต่อเดือน ดังนั้นการผ่อนจ่ายจะต้องไม่เกิน 5 หมื่นบาทต่อเดือน ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำแรงงาน 5 คนนี้ไปใช้ในส่วนอื่นที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าการผลิตได้มากขึ้น ส่วนระยะการผ่อนจ่ายยาวถึง 5 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากอายุการใช้งานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะมีอายุใช้งานประมาณ 10-12 ปี หากผ่อนหมดภายใน 5 ปี เวลาที่เหลืออีก 5-7 ปี ก็จะใช้ฟรีไม่มีต้นทุนแรงงานในส่วนนี้ มีเพียงค่าบำรุงรักษาตามระยะเวลาเท่านั้น 

 

 ผนึก5สถาบันการเงินช่วย"เอสเอ็มอี"เข้าถึงเทคโนฯ"หุ่นยนต์"

                    อย่างไรก็ตาม ยูนิ อาร์ค คาดว่าจะมีผู้ประกอบการขนาดกลางและรายย่อยเข้าร่วมในโครงการไม่น้อยกว่า 300 ราย และคาดว่าจะสามารถสร้างยอดขายได้ไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการสามารถเข้ามาร่วมในโครงการได้ตั้งแต่วันอังคารที่ 4 กันยายน 2561 เป็นต้นไป โดยเยี่ยมชมโครงการและแจ้งความจำนงได้ที่ www.robotpaylite.com หรือ Facebook: uniarc.ROBOTPAYLETE Line: @robotpaylite หรือ ติดต่อผ่านสายด่วน 091-159-8966 หรือ 02-349-5115, 02-762-0289 (5 สายอัตโนมัติ) โดยทีมวิศวกรของยูนิ อาร์ค จะดำเนินการนัดหมายเข้าหน้างาน เพื่อรับทราบความต้องการและประเมินว่ามีความจำเป็นจะต้องใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้าไปใช้ในจุดใดบ้าง โดยจะยึดตามความจำเป็นและคุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุด

                โดยคุณสมบัติของผู้ประกอบการขนาดกลางและรายย่อยที่เข้าร่วมโครงการ 1.ต้องเป็นนิติบุคคลดำเนินกิจการมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี 2.ผลประกอบการปีล่าสุดมีกำไร 3.มียอดขายปีละ 10 ล้านบาทขึ้นไป โดยมีเงินดาวน์ขั้นต่ำ 10% ส่วนอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับ 2-4% อยู่ที่การพิจารณาของสถาบันการเงินซึ่งต่ำกว่าสถาบันการเงินทั่วไป 

                  สำหรับบริษัท ยูนิ อาร์ค จำกัด ดำเนินกิจการในธุรกิจหุ่นยนต์มานานกว่า 15 ปี เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นสำหรับ Industry 4.0 Platform เป็นผู้นำและตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์หุ่นยนต์อุตสาหกรรม อะไหล่และอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์อัตโนมัติสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์เครื่องเชื่อม เครื่องตัด จากแบรนด์ผู้ผลิตชั้นนำระดับโลก อาทิ OTC Daihen / NACHI / OMRON / TRUMPF / NSSWT / ATLANTIC เป็นต้น  

 

 

  เปิดจุดเด่นสองผู้ผลิตหุ่นยนต์แขนกล

               ฟูมิโยชิ คาวาฮาร่า ประธานบริษัท โอทีซี ไดเฮ็น เอเชีย(OTC Daihen Asia) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายหุ่นยนต์แขนกลมากว่า 20 ปี ในฐานะผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จแห่งวงการอุตสาหกรรมทั้งหลาย ดำเนินธุรกิจด้าน Welding & Mechatronic โดยมีฐานการผลิตอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร สินค้าคุณภาพจาก โอทีซี ไดเฮ็น เอเชีย ถูกส่งออกขายทั่วโลก เช่น อเมริกา ยุโรป และเอเชีย

               “สำหรับโอทีซี  จุดเด่นของเราคือสามารถใช้ได้ในทุกระบบและสำหรับผู้ที่ใช้หุ่นยนต์ครั้งแรกก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็วด้วย” ประธานโอทีซี ไดเฮ็น กล่าว

               ในขณะที่ อากิระ ทาการาจิมะ ผู้จัดการทั่วไปสายงานหุ่นยนต์ บริษัท นาชิเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายหุ่นยนต์อันทรงประสิทธิภาพในหลากหลายประเภท มีความเชี่ยวชาญหุ่นยนต์ด้านการจัดการ ปัจจุบันในประเทศไทยมีหุ่นยนต์นาชิอยู่ประมาณ 3,000 ตัว โดยรุ่นที่ขายดีที่สุดในขณะนี้คือ รุ่นเอ็มแซท มีความโดดเด่นเรื่องความรวดเร็วในการผลิต         

              “เอ็มแซท เป็นหุ่นยนต์แขนกลรุ่นใหม่ล่าสุด จุดเด่นคือเคลื่อนที่เร็ว มีสายเคเบิลซ่อนอยู่ในแขนกล เพราะปกติสายเคเบิลจะอยู่ข้างนอก เมื่อมันถูกซ่อนไว้ข้างในจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นการป้องกันสายเคเบิลจากสิ่งกีดขวางรอบข้างด้วย” อากิระ ทาการาจิมะ กล่าวย้ำ

 

logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ