ข่าว

เตือนภัยอาการแพ้ "ไอบูโพรเฟน" แบบไหนควรรีบพบแพทย์ด่วน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

เตือนภัยอาการแพ้ "ไอบูโพรเฟน" แบบไหนควรรีบพบแพทย์ด่วน หลังผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งปวดฟันคุดแล้วไปซื้อยาไอบูโพรเฟนมารับประทานเองจนต้องเข้าไอซียู

กลายเป็นเรื่องราวที่ต้องออกมาเตือนภัย สำหรับใครที่ซื้อยามารับประทานเอง หลังจากมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งปวดฟันคุดมาก จึงไปซื้อยา "ไอบูโพรเฟน" เพื่อมาบรรเทาอาการปวดฟัน แต่กลับแพ้ยาตัวดังกล่าวต้องเข้าห้องฉุกเฉินนอนไอซียูถึง 7 คืน

อ่านข่าว : อุทาหรณ์ ปวดฟันคุด ไม่ปรึกษาหมอซื้อยากินเองเข้าห้องฉุกเฉินนอนไอซียู 7 คืน

 

สำหรับการรับประทาน "ยาไอบูโพรเฟน" (ยาแก้ปวด) แล้วมีอาการปวดแสบท้อง เรียกอาการนี้ว่าเป็น “ผลข้างเคียง”
เกิดจากฤทธิ์ของยาแก้ปวดที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ชนิดหนึ่งในระบบทางเดินอาหาร แต่หากเกิดอาการผื่นลมพิษ คัน
ความดันโลหิตต่ำ จะเรียกปฏิกิริยาเหล่านี้ว่า “การแพ้ยา” เกิดจากยาไอบูโพรเฟนไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างสารออกมาต่อต้านจนเกิดเป็นอาการแพ้ขึ้น
 
ยาไอบูโพรเฟนเป็นยาที่มีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก จึงควรหยุดใช้และปรึกษาแพทย์หากพบอาการผิดปกติ โดยอาการข้างเคียงที่มักพบจากการใช้ยาดังกล่าวได้แก่
 
1.อาการปวดท้อง แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย 2.มีกรดในกระเพาะอาหาร 3.เรอ มีลมภายในท้องหรือลำไส้ ผายลมบ่อย
4.ท้องอืด ท้องเสีย ท้องผูก 5.มีปัญหาเรื่องปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะน้อยลง 6.แสบร้อนกลางอก
7.คันตามผิวหนัง 8.ปวดหรือรู้สึกไม่สบายบริเวณหน้าอก ท้องส่วนบน หรือลำคอ 9.ผิวซีดลง
10.คลื่นไส้ 11.หายใจเร็ว หายใจเสียงดัง หายใจถี่ หายใจลำบาก 12.มีผื่นเป็นปื้น ๆ บริเวณผิวหนัง
13.มีอาการบวมบริเวณใบหน้า นิ้วมือ มือ เท้า เข่า และขาส่วนล่าง 14.เลือดออกผิดปกติ15.เหนื่อยง่าย
16.อาเจียน 17.น้ำหนักขึ้นผิดปกติ
 
ในกรณีที่อาการเกิดจากผลข้างเคียงของยา การปรับลดขนาดยา หรือรักษาอาการข้างเคียงนั้นคู่กันไป ก็มักจะสามารถใช้ยานั้นต่อไป โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา
อาการแพ้ยา สามารถเกิดได้ในหลายระบบ ได้แก่
1. ระบบผิวหนัง เช่น ผื่นคัน ลมพิษ ตัวแดง ตุ่มน้ำพองเป็นต้น
2. ระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจเหนื่อย หอบ หลอดลมตีบ ปอดอักเสบ เป็นต้น
3. ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น หน้ามืด เวียนศีรษะ ความดันตก หมดสติ เป็นต้น
4. ระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง อาเจียน ตับอักเสบ เป็นต้น
 
หากมีอาการหลายระบบ และเกิดภายในเวลาอันรวดเร็ว ไม่เกิน 1 ชั่วโมงหลังได้รับยา เรียกว่า การแพ้ยารุนแรง (drug anaphylaxis) ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ยังมีการแพ้ยาแบบเกิดขึ้นช้า มักเกิดหลังได้รับยาไปแล้วมากกว่า 1 ชั่วโมง โดยมากมักเกิดอาการทางผิวหนัง มักไม่เป็นอันตรายมาก แต่หากมีอาการตุ่มน้ำพอง ผิวหนังลอก เยื่อบุตา ปากหรืออวัยวะเพศเป็นแผล มีตุ่มหนอง หน้าบวมแดง มีไข้ อ่อนเพลีย จะถือว่าเป็นสัญญาณอันตรายของการเกิดผื่นแพ้ยารุนแรง (severe cutaneous adverse drug reaction) ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
 
วิธีการรักษาเบื้องต้นเมื่อสงสัยว่าแพ้ยา 
1. หยุดยาที่สงสัยทันที
2. หากอาการสงสัยการแพ้รุนแรง หรือผื่นแพ้ยารุนแรง ให้รีบไปโรงพยาบาลทันที พร้อมกับนำยาทั้งหมดที่รับประทานไปด้วย
3. ถ่ายรูปผื่นที่เกิดขึ้น เพื่อให้แพทย์วินิจฉัย เนื่องจากผื่นบางชนิด เช่น ลมพิษ มักหายไปเองได้อย่างรวดเร็ว
 
logoline
แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ