ข่าว

เลขาศาลแถลงฯ กรณีจับบรรยิน ยันศาลต้องมีอิสระในการพิพากษาคดี

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม และนายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ร่วมแถลงกรณีการหายตัวไปของพี่ชาย น.ส.พนิดา ศกุนตะประเสริฐ ผู้พิพากษา ศาลอาญากรุงเทพใต้

นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม และนายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ร่วมแถลงกรณีการหายตัวไปของพี่ชาย น.ส.พนิดา ศกุนตะประเสริฐ ผู้พิพากษา ศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้  

 

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และตำรวจทุกท่านที่ได้เสียสละตลอด 20 วันที่ผ่านมา ในการสืบสวน ติดตาม และดูแลความปลอดภัย ของผู้พิพากษาที่ได้รับการข่มขู่ คุกคาม สิ่งที่สำคัญที่ต้องขอบคุณคือ ท่าน 'พนิดา' ที่มีความรับผิดชอบ กล้าหาญ และเสียสละในการทำหน้าที่ โดยไม่หวั่นเกรงต่ออิทธิพลใดๆ และต้องขอแสดงความเสียใจ ต่อการสูญเสียในครั้งนี้ที่พี่ชายที่ถูกจับตัวไป ได้เสียชีวิตในระหว่างที่ถูกจับตัวไปเป็นตัวประกัน 

 

ในช่วง 20 วันที่ผ่านมา ทางสำนักงานศาลยุติธรรมไม่ได้เผยแพร่ข้อมูลเนื่องจากเป็นห่วงความปลอดภัย และชีวิตของตัวประกัน ได้มีการประสานกับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผบ.ตร. ได้รายงานเรื่องนี้กับทางประธานศาลฎีกา นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ มาโดยตลอด ซึ่งทานประธานศาลฎีกาได้ให้ความสำคัญ โดยได้แจ้งที่ประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม หรือ ก.ต.คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม หรือ ก.บ.ศ. ได้ทราบเป็นระยะ แต่ขอความร่วมมือให้เรื่องนี้เป็นความลับ เพราะเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยในชีวิต ของตัวประกัน 

 

เหตุการณ์ครั้งนี้ มีความสำคัญ และเป็นเรื่องที่กระทบต่อความเป็นอิสระของผู้พิพากษา โดยหลักปฏิญญาสากลสิทธิมนุษยชน พ.ศ.2948  ในข้อ 10 ระบุ เกี่ยวกับความเป็นอิสระ ความเป็นกลางของผู้พิพากษา ซึ่งมีความสำคัญต่อการพิจารณาคดี เนื่องจากว่าประชาชนจะได้รับความยุติธรรมหรือไม่ ผู้พิพากาษาต้องมีความเป็นกลาง และ เป็นอิสระ ซึ่งในสหประชาชาติ ก็มีหลักการพื้นฐานในปี พ.ศ.2528 กำหนด หลักการนี้ไว้เช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยการเมืองและสิทธิของพลเมืองและการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งได้กำหนดไว้ในข้อ 14 ของกติการระหว่างประเทศ และอีกข้อคือหลักบังกะลอร์ว่าด้วยการปฏิบัติของฝ่ายตุลาการ ระบุไว้ว่าผู้พิพากษาต้องมีอิสระ ในการพิจารณา พิพากาคดี โดยปราศจากการกดดัน ข่มขู่ แทรกแซง ไม่ว่าทางตรง หรือทางอ้อม ไม่ว่าบุคคลใดๆ หรือ วัตถุประสงค์ใดๆ  สำหรับไทย รัฐธรรมนูญมาตรา 188 วรรค 2 กำหนดไว้ว่า ผู้พิพากษา มีอิสระ ในการพิจารณาพิพากษา อรรถคดีตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย โดยรวดเร็ว เป็นธรรม ปราศจากอคติ 

 

การทำหน้าที่ของผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี เป็นไปตามมาตรา 62 ของ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 ซึ่งได้กำหนดว่า ผู้พิพากษา ทุกคนต้องปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม ที่กำหนดไว้

 

ซึ่งในกำหนดการข้อแรก ที่กำหนดไว้เกี่ยวกับอุดมการณ์ของผู้พิพากาษา ต้องยึดมั่น ในความเป็นอิสระ ของตนในการพิจารณา พิพากษา ซึ่งจากหลักการทั้งหมดที่ว่ามานี้ ต้องเรียนว่า ท่านพนิดา ทำหน้าที่ของท่านได้สมบูรณ์แบบ ในอดีต ที่ผ่านมีคดี ผู้พิพากาษาถูกยิงเสียชีวิตที่ จ.ปัตตานี เมื่อเร็วๆนี้ เกิดเหตุที่ศาลจังหวัดพัทยา ศาลจังหวัดจันทบุรี ซึ่งกระทบต่อความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่มาศาลด้วย 

 

เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 63 ที่ผ่านมา ขณะที่ ท่านพนิดา กำลังเดินทางกลับบ้านโดยพี่ชายเดินทางมารับด้วย รถแท็กซี่  ปรากฎว่ามีคนร้าย 3-4 คน  ใช้รถสปอร์ตไรเดอร์ สีดำ มานำตัว พี่ชายของท่านพนิดาไป ในเวลา 17.30 น. จากนั้น ท่านพนิดา ได้ไปพบพนักงานสอบสวน สน. พลับพลาไชย 1 ในระหว่างที่รอพบพนักงานสอบสวน มีการใช้มือถือของพี่ชาย โทรเข้ามาที่เครื่องของท่านพนิดา มีการข่มขู่ ให้ท่านพนิดา ตัดสินคดี ตามที่ต้องการ ตำรวจมีการบันทึกข้อมูลไว้ ในขณะเดียวกัน ได้ประสานกับทางกองปราบ ตำรวจแนะนำว่าไม่ให้มีข่าวแพร่งพราย เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการทำงานของตำรวจ และตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. ทางตำรวจจัดหน่วยดูแลความปลอดภัยให้กับท่านพนิดา ส่วนรายละเอียดพยานหลักฐานต้องให้ ผบ.ตร.เป็นผู้ชี้แจง 

 

ในส่วนของสำนักงานศาลเอง ในอนาคต เกี่ยวกับการวางมาตรการ รักษาความปลอดภัย จะวางระบบ และปรับปรุง ในส่วนของตำรวจศาลให้ดีขึ้น และมีหน่วยการข่าวภายในมากขึ้น เพื่อทำในเชิงป้องกัน ไม่ให้เกิดเหตุร้ายขึ้น โดยในช่วงเมษายน 2563 นี้ สำนักงานศาลได้ขอเพิ่มกำลังตำรวจศาลเป็น 309 นาย และในอนาคตจะขยายกำลังเพิ่มประมาณ 1200 อัตรา เพื่อกระจายกำลังไปยังศาลที่มีความเสี่ยง และมีความจำเป็นเร่งด่วน ยืนยันจะดูแลความปลอดภัยอย่างเต็มที

 

 

 

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ