ข่าว

สมศักดิ์ ย้ำ กระท่อมยังเป็นยาเสพติด ขายติดคุก

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

"สมศักดิ์" ย้ำ ชัดครม.แค่อนุมัติหลักการปลด "กระท่อม" วันนี้สถานะยังเป็นยาเสพติดผิดกฎหมาย ขายติดคุก สั่ง ป.ป.ส.เร่งวางมาตรการป้องกันไม่ให้เด็ก-เยาวชน ยุ่งเกี่ยวพืชกระท่อม -ให้อย.คุมการแปรรูปทำอาหารเสริม มั่นใจพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจ


 

           กระทรวงยุติธรรม – 11 มี.ค.63 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงความคืบหน้าหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้พืชกระท่อมพ้นจากบัญชียาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 5 ว่า ครม.ได้อนุมัติในหลักการร่างพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฉบับ....เท่านั้น ขั้นตอนต่อไปจะต้องส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาความเห็นเพิ่มเติมใน 3 ประเด็นหลัก ที่รับฟังความเห็นจากทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นๆ

 

อ่านข่าว - ครม.ไฟเขียวปลด'กระท่อม'จากยาฯ
 

 

 

 

 

 

สมศักดิ์ ย้ำ กระท่อมยังเป็นยาเสพติด ขายติดคุก

 

 

 

                คือ 1.มาตรการควบคุมเพื่อไม่ให้เด็กและเยาวชนเข้าไปเกี่ยวข้องว่าจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์อย่างไร อาจมีการจำกัดอายุเยาวชน โดยอาจเปรียบเทียบกับสินค้าประเภทเหล้าและบุหรี่เพื่อนำมาออกระเบียบในการควบคุม ซึ่งประเด็นนี้ทางสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส) จะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทาง ระเบียบปฎิบัติให้ชัดเจน 2. การใช้ประโยชน์พืชกระท่อมในการทำผลิตภัณฑ์ยาและอาหารเสริมแปรรูปจะต้องขออนุญาตจากองค์การอาหารและยา(อ.ย.)ตามกฎหมายได้ระบุไว้ชัดเจนว่านำไปใช้เพื่อการใด และ 3.ข้อกังวลในเรื่องผลกระทบต่อผู้ขับขี่ยานพาหนะ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านคดีความผิดที่เกี่ยวกับการเสพกระท่อมจะเห็นได้ว่า ผู้เสพไม่เคยมีปัญหาก่อเหตุทะเลาะวิวาทหรือรุนแรง มีแต่ขยันทำงาน

 

 

 

สมศักดิ์ ย้ำ กระท่อมยังเป็นยาเสพติด ขายติดคุก

 

 

                นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในระหว่างที่ยังรอให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาความเห็นเพิ่มเติม พืชกระท่อมยังเป็นยาเสพติดประเภท 5 ยังไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในทันที การเสพและการจำหน่ายยังมีความผิดตามกฎหมาย จนกว่าร่างพ.ร.บ.พืชกระท่อมจะถูกเสนอกลับไปให้สภาฯพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งยังไม่สามารถระบุระยะเวลาได้ว่าจะแล้วเสร็จเมื่อใด แต่ถ้าเสร็จเร็วก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านของเราได้ปลูกพืชกระท่อมให้เป็นอุตสาหกรรมส่งออกเดือนละ 2,000-3,000 ตัว ดังนั้นดำเนินการล่าช้าออกไปจะไม่เป็นผลดีต่อประเทศ 
 

 

              “ชาวบ้านในพื้นที่ภาคใต้ใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อม นำมาเคี้ยว ชงชา ดื่มในกลุ่มชาวไร่ ชาวสวน และผู้ใช้แรงงาน และถ้าเรายังควบคุมให้พืชกระท่อม เป็นยาเสพติดก็จะส่งผลกระทบต่อการส่งเสริมทางเศรษฐกิจ ดูจากต่างประเทศ มีเพียงเวียดนาม เกาหลีใต้ อินเดีย เท่านั้นที่ควบคุมพืชกระท่อมเป็นยาเสพติด “ รมว.ยุติธรรมกล่าว



 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ